วิชาการพูด 50

พูดอย่างไรให้ชนะใจ
การพูดในชีวิตประจำวันนั้นดูเหมือนเป็นเรื่องที่ง่าย ๆ นะคะ แต่การพูดให้ดี ให้น่าประทับใจจนสามารถชนะใจผู้อื่นได้นั้น กลับดูเป็นสิ่งที่ยากสำหรับใคร ๆ หลาย ๆ คนเคยประหลาดใจบ้างหรือไม่ว่า ความคิดที่เฉียบแหลมของเรา เมื่อผ่านการ พูดไปสู่ผู้ฟังแล้วเหตุใดพลังของมันจึงอ่อนด้อยลงไปจนเกิดอาการที่เรียกว่า “พูดไม่ได้ดั่งใจขึ้นมาในอกนั้นก็เพราะว่า การพูดนั้นแตกต่างจากการคิดนะคะ ช่องว่างที่เกิดขึ้นกับสิ่งสองสิ่งนี้เราจำเป็นที่จะต้องมีสะพานสำคัญสำหรับทอดข้าม ไปสะพานอันนั้นได้แก่ ตัวเรา และ วิธีการพูดของเราเอง
“ยุทธวิธีการพูด”ก็คือแหล่งวัตถุดิบ สำหรับสร้างสะพานน้อย ๆ  อันนั้นนั่นเอง เราควรมีวิธีการพูดอย่างไรให้ตรงจิตใจ น่าประทับใจในทวงทีลีลาที่มีสไตล์เป็นของเราเอง  จากการที่ดิฉันได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลจากหนังสือยุทธวิธีการพูด  ของ อาร์ช ลัสต์เบริ์กทำให้ตัวดิฉันรู้สึกมั่นใจว่า “เราทำได้”และคิดว่าทุก ๆ คนก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน หลักการพูดที่สำคัญ ๆ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ชนะ เราต้องชนะด้วยหลัก 3 ประการด้วยกันคือ
1.ชนะอย่างมีสไตล์ สไตล์เฉพาะตนเป็นสิ่งที่ทำให้เราไม่เหมือนใคร นักพูดที่ดีต้องมีท่วงทำนองเป็นของตนเอง ซึ่งถ้าหากขาดจุดนี้ตัวเราเองดุจเป็นของโหล การที่เราจะทำอย่างนี้ได้นั้น ก่อนอื่นเราจะต้องให้เวลาและความสนใจในการ เป็นตัวของตัวเองขณะที่พูดจนสามารถพัฒนาให้กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า บุคลิกบนเวที ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องหมายทาง การค้าของเรา เราสามารถใช้สิ่งนี้เป็นเครื่องมือที่มีพลังที่สุดในการก้าวไปสู่จุดหมายอย่างที่เราต้องการได้
2. ชนะด้วยทักษะ  ซึ่งประกอบไปด้วย การใช้สีหน้า,  กิริยาท่าทาง, การใช้เสียง และการใช้ความคิด องค์ประกอบแรกที่จะกล่าวถึงนั้น ก็คือ การใช้สีหน้าสีหน้าที่จะทำให้เรากลายเป็นผู้ชนะได้นั้น ต้องเป็นสีหน้าเปิดเผย ซึ่งจะทำให้การสนทนาเต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวาซึ่งเราสามารถฝึกฝนโดยมองดูตนเองในกระจก แล้วลองแสดงออกทาง สีหน้าที่มีเส้นในแนวนอนบนหน้าผากโดยการเลิกคิ้ว และ เบิกตา ที่สำคัญก็คือ การยิ้มซึ่งเปรียบเสมือนการเปิดประตู ความคิดด้วยความเป็นมิตรนั่นเองโดยเฉพาะการยิ้มในเวลาที่เหมาะสมซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นกันเองระหว่างผู้พูด กับผู้ฟังยิ่งขึ้น
กิริยาท่าทางก็สำคัญเช่นเดียวกันเพราะกิริยาท่าทางจะช่วยให้เราสามารถเน้นย้ำสารที่เราต้องการสื่อได้สิ่งที่ต้องคำนึงถึงนั้น ก็คือ กิริยาท่าทางต้องจริงใจ เหมาะสมกิริยาท่าทางที่จริงใจหมายถึง ดูเป็นธรรมชาติ  ส่วนเหมาะสม หมายถึง เหมาะกับ สิ่งที่เราพูด และเหมาะกับเวลากิริยาที่ถือได้ว่าคลาสิกที่สุด ก็คือ การจับมือ และสวมกอดท่าทางเช่นนี้จะทำให้ผู้ฟังเหมือน ถูกสวมกอดไว้ด้วยความคิด เป็นวิธีการของพูดที่จะปิดช่องว่างทางกายภาพระหว่างตัวผู้พูดเองกับผู้ฟัง  ดิฉันมีแบบฝึกง่าย ๆ ที่จะทำให้ท่านกลายเป็นผู้ชนะด้วยอากัปกิริยาที่เหมาะสม ลองทำสีหน้าเปิดเผย ค่อย ๆ เคลื่อนไหว มือมาข้างหน้า แล้วลองพูดคำว่า “วิเศษ”มันเหมือนกับการเติมพลังให้กับสิ่งที่พูดทำให้รู้สึกว่าเราหมายความอย่างที่พูด และ พูดอย่างมีความหมายทักษะต่อมาก็คือ การใช้เสียงของเราเสียงถือเป็นเครื่องหมายการพูดที่สำคัญ ซึ่งเราจะต้องคำนึงถึง ความดังของเสียง, ระดับเสียง และอัตราเร็วของเสียง เราต้องระวังสิ่งที่เรียกว่า สิ่งที่มากเกินไปและน้อยเกินไป    เมื่อเรามีสีหน้าที่เปิดเผยและร่างกายเปิดเสียงที่เปล่งออกมาจะกลายเป็นเสียงที่ดีสุดของเราเลยทีเดียว ดังนั้นท่วงทำนอง การพูดเกี่ยวข้องกับการใช้สีหน้า ร่างกาย เสียงที่เหมาะสมถูกต้องและสัมพันธ์กันซึ่งล้วนประสานกันเพื่อสื่อ “สาร” ที่เราต้องการสู่ผู้ฟัง เมื่อทำงานร่วมกันอย่างถูกต้องผู้ฟังก็จะเข้าใจสารของเราโดยไม่ต้องพยายามเลย
ทักษะประการสุดท้าย ก็คือ การใช้ความคิดของเราเอง ความคิดก็เปรียบเสมือนเนื้อหา เป็นสิ่งที่เรารู้ และสำคัญอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องคิดก่อนพูดซึ่งก่อนอื่นเราจะต้องมีการเตรียมตัวก่อนพูด ซึ่งก่อนอื่นเราจะต้องมีการเตรียมตัวด้วยการเขียนบทพูด เพื่อให้พูดได้กระชับไม่เยิ่นเย่อสามารถพูดได้อย่างชัดเจนผู้ฟังจับประเด็นได้
จงจำไว้ว่า การสื่อสารก็คือการถ่ายทอด และส่งผ่านความคิดของเราไปสู่ผู้อื่น เมื่อความคิดเหล่านี้ถูกหันเหหรือผู้ฟังง่วง เหงาหาวนอนไปแล้ว การสื่อสารก็ล้มเหลว  จงจำไว้ว่าการสื่อสารควรจะเป็นกิจกรรมที่กอปรด้วยความรักทางปัญญา "ฉันต้องการให้สารของฉันเข้าไปในความคิดของเธอ  ฉันต้องการให้เธอรับสารของฉัน และฉันไม่ต้องการทำอะไรก็ตาม ที่หันเหความเข้าใจของเธอจากสารของฉัน"
3.  ชนะด้วยความมั่นใจ สำคัญอย่างยิ่งที่เราจะต้อง "สื่อ” สารของเราด้วยความมั่นใจ เพราะถ้าหากเราทำไม่ได้ ผู้ฟังก็จะขาดความเชื่อมั่นในตัวเรา  การหายใจที่ถูกต้องเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความมั่นใจเพราะจะทำให้เรารู้สึกผ่อน คลายจนเราสามารถ “ควบคุม” ร่างกายของเราได้มากกว่าร่างกาย“ควบคุม”เรา
ลองเริ่มต้นด้วยการหายใจเข้าช้า ๆนุ่มนวลมีพลังแต่อย่าหายใจลึก ๆ แล้วค่อยผ่อนลมหายใจออก ทีนี้ลองใช้นิ้วกดที่ กะบังลม เมื่อหายใจออกเมื่อหายใจเข้า ค่อย ๆ เคลื่อนนิ้วออก ลองทำ 3 - 4 ครั้ง หลับตาและทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะสังเกต ได้ว่าเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด ไม่กังวล ไม่รู้สึกกลัว  ดังนั้น หากเกิดความรู้สึกไม่พึงประสงค์ อันรบกวนความมั่นใจ ของเรา  ลองใช้วิธีนี้ดูนะคะ
อันพูดนั้นไม่ยากปานใดเพื่อนเอย
ใครที่มีลิ้นอาจพูดได้
สำคัญแต่ในคำที่พูดนั่นเอง
อาจจะทำให้ชอบและชัง
การพูดนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ต้องมีการศึกษา และการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ นักพูดที่ดีไม่ต้องอาศัย  “พรสวรรค์” เสมอไปจงอย่าเอาความเชื่อที่ว่า “เราไม่มีพรสวรรค์เราทำได้ไม่ดีหรอก” เพราะนั่นจะเป็นอุปสรรคต่อ การพัฒนาตนเองเป็นอย่างมาก จงจำไว้ว่า ผู้ก้าวหน้าพึงอาศัย   “พรแสวง” อย่ารอคอย “พรสวรรค์”  เลย
 เรามาฝึกฝนการพูดจากหลักการพูดทั้ง  3  ประการในวันนี้กันดีกว่านะคะ เพื่อที่ว่าวันหนึ่งเราจะกลายเป็นผู้ชนะ อย่างแท้จริง.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘