วิชาการพูด 49

พูดจาให้เข้าหู
ชั่วชีวิตของความเป็นคน ถ้าเรามองกันให้ดี ๆ จะเห็นได้ว่าแม้เราจะยุ่งกับงานง่วนอยู่กับการดำเนินชีวิตก็จริง แต่เพื่อน ๆ ทุกคนเคยคิดและเคยถามตัวเองบ้างไหมคะว่า สิ่งหนึ่งที่นับได้ว่าเป็นความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสื่อ เชื่อมการทำงานการดำเนินชีวิตให้ดำเนินไปได้และมีผลโดยตรงกับตัวเราตลอดเวลานั้นคืออะไร? ค่ะ คำตอบคือ “การพูด” ยังไงคะ
ทราบกันดีใช่ไหมคะว่า การกระทำของคนเราแทบทุกอย่าง จะต้องใช้คำพูดเป็นสื่อแทนทั้งสิ้น แน่นอนค่ะถ้าเราใช้คำพูดดี พูดเข้าหูเราก็จะสามารถดำเนินชีวิตและการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากว่าเราใช้คำพูดไม่ดี ไม่เข้าหู เช่นเดียวกัน ค่ะ สิ่งที่ตามมาก็ย่อมเป็นผลเสียกับตัวเราเองค่ะ
ดังที่คุณเพชรบูรณ์ โรจนธรรมกุล ได้กล่าวไว้ในเรื่อง “การพูดจาให้เข้าหู” ว่า คำพูดนั้นเป็นสิ่งที่เรามีมาตั้งแต่เกิด เป็นสิ่งที่เรา ใช้แล้วไม่รู้จักหมด เราไม่ต้องไปซื้อหา และรัฐบาลก็ไม่เก็บภาษีเรา เราสามารถแจกให้ใคร ๆ ก็ได้รวดเร็วทันท่วงที เมื่อเราพึง พอใจเรียกได้ว่าง่ายกว่าการควักเงินออกจากกระเป๋าเสียอีก
มีหลายคนคิดว่าคำพูดเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ จึงไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจกับคำพูดของตัวเอง คิดเพียงว่าคำพูดเป็นเพียงลม ปาก ไม่สำคัญอะไร แต่เราคิดผิดอย่างมากค่ะ ถึงแม้ว่าคำพูดจะเป็นเพียงแค่ลมปาก ที่ต่างจากลมชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าเป็นลมบก ลมทะเล ลมบ้าหมู ลมพายุ แต่ลมเหล่านี้ก็ไม่มีฤทธิ์เท่าลมปากของเราหรอกค่ะ
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นเหรอคะ ก็เพราะว่าลมปากที่ออกมาเป็นคำพูดนั้นเราก็ถือว่าสำคัญกว่าอย่างอื่นทั้งนั้น อาจเป็นเพราะ ว่ามันถูกปรุงแต่ขึ้นด้วยความคิดของเราเอง อย่างนั้นน่ะหรือคะ คือ ถ้าเรามีลมปากที่พูดให้เข้าหูคนแล้ว เชื่อได้แน่ค่ะว่า จะมีแต่คนรักใคร่เรา แต่ถ้าหากเรามีลมปากที่พูดไม่เข้าหูใครแล้ว สิ่งที่จะได้รับมาก็คือ จะมีแต่คนไม่ชอบเราค่ะ
เมื่อเป็นเช่นนี้คุณเพชรบูรณ์  โรจนธรรมกุล จึงได้แบ่งการพูดไว้ ๒ อย่าง คือ
๑. การพูดจาให้เข้าหู
๒. การพูดจาไม่เข้าหู
ซึ่งจะรวมอยู่ในหนังสือเรื่อง “พูดจาให้เข้าหู” เมื่อดิฉันอ่านแล้วรู้สึกประทับใจมาก ทำให้ได้เข้าใจวิธีการพูดให้ถูกต้องมาก ยิ่งขึ้น ว่าการพูดย่างไรถึงจะทำให้คนรักและพูดอย่างไรคนถึงได้เกลียดเรา ซึ่งจริง ๆ แล้วมันเป็นวิธีที่ง่ายมากเลยค่ะ ถ้าเราไม่อยากที่จะให้ใคร ๆ เมื่อได้ยินได้ฟังเราพูดแล้วต้องเบือนหน้าหนีเรา หรือลุกขึ้นไปเลยขณะที่ยังสนทนากับเราไม่จบ นั้นก็คือเราอย่าพูดคำหยาบ, อย่าพูดคำเสียดสี, อย่าพูดคำประชดประชัน เป็นต้น
ดิฉันมีตัวอย่างหนึ่งที้เคยเจอกับตัวเอง คือดิฉันบังเอิญได้ยินคนซื้อของข้าง ๆ ดิฉันเขาทักเพื่อนเขาว่า
ผู้พูด: หวัดดียายนิ่ม ไม่เจอกันตั้งนาน สบายดีเหรอ ว่าแต่มีผัวหรือยังล่ะ
ผู้ฟัง : ???
ทุกคนเชื่อไหมคะว่าเพื่อนเขานิ่งไปเลย ไม่รู้จะตอบอย่างไรเลยละคะ แม้แต่ดิฉันยังตกใจกับคำถามนั้นเหมือนกัน เห็นไหมล่ะคะว่าคำพูดมีอิทธิพลต่อเราและผู้ฟังมาก จึงทำให้มีคำกล่าวที่ว่า “พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากจะเป็นสี” ก็คงเห็นจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วล่ะค่ะ
อย่างไรก็ตามเพื่อน ๆ ทุกคนรู้อย่างนี้กันแล้ว ก็ควรที่จะคิดก่อนพูดทุดครั้งนะคะ อย่าสักแต่ว่าพูดเท่านั้นคะ แล้วที่นี้ล่ะค่ะ การพูดจาให้เข้าหูคนควรจะทำอย่างไร? แน่นอนค่ะ ถ้าหากว่าเราเป็นคน “พูดเป็น” ก็ย่อมต้องมีแต่คนอยาก พูดด้วย เพราะการพูดเป็นนี้ เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มีเสน่ห์ ไพเราะน่าฟัง ซึ่งการพูดจาให้เข้าหูคนนี้ ก็เปรียบเหมือนกับการรบให้ชนะ แม่ทัพจะต้องรู้กำลังเรา และกำลังเขา และรู้วิธีทำยุทธ์ที่สมบูรณ์ แล้วอย่างนี้รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง ซึ่งท่านซุนวูปราชญ์ชาวจีนได้กล่าวไว้ตามตำราพิชัยสงคราม
คุณเพชรบูรณ์ โรจนธรรมกุล ก็ได้กล่าวไว้ว่า การพูดจาให้เข้าหูคนนั้นมีถึง ๓ วิธี เช่นเดียวกับวิธีการรบของ แม่ทัพ คือ
ประการแรก ต้องรู้ตัวเราเสียก่อน อย่างไรน่ะเหรอค่ะ? ก็คือว่าเราจะต้องรู้ว่าเราอยู่ในฐานะอะไร ควรมีสิทธิและหน้าที่อย่างไร ในการที่จะสนทนากับผู้ฟัง และทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจกับคำพูดเรามากที่สุด จงอย่าพูดในสิ่งที่ตัวเราไม่รู้ และทุกครั้งที่พูดตัวเราเองควรจะมีการควบคุมน้ำเสียงให้สม่ำเสมอด้วย
ประการที่สองต้องรู้ตัวเรา เป็นประเด็นสำคัญเพราะถ้าหากว่าเราซึ่งเป็นผู้พูดขาดข้อมูลของผู้ที่เราจะพูดด้วยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ วัย การศึกษา ความสนใจของผู้ฟัง การพูดของเราก็คงไม่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนค่ะ
ประการที่สาม ต้องรู้วิธีการพูด เมื่อเรารู้ตัวฟังแล้วว่าเป็นใคร ต้องการรับรู้ข้อมูลประเภทไหน ต่อมาผู้พูดคือตัวเรา ต้องรู้ว่า จะพูดอะไร ที่ไหน อย่างไรกับผู้ฟัง และการพูดทุกครั้งจะต้องคิดให้ดีก่อน อย่าสักแต่ว่าได้พูดออกไป นั่นไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดีหรอกค่ะ
นอกจากนี้ที่ลืมไม่ได้ทุกครั้งที่พูด ผู้พูดเองจะต้องไม่ใช้คำหยาบ ในการพูดกับผู้ฟังน่ะค่ะ เพราะเหมือนกับว่าผู้พูดได้บั่นทอน ความน่ารักของตนเองลงไปค่ะ ซึ่งการพูดคำหยาบนั้นก็เปรียบเหมือนสุภาษิตที่ว่า “น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย” คือ พูดดี คนฟังก็รัก แต่ถ้าพูดแต่คำหยาบก็คง จะมีแต่คนไม่ชอบเรา
มาถึงตอนนี้กันแล้ว เพื่อนทุกคนก็คงที่จะรู้แล้วใช่ไหมค่ะว่า การพูดให้เข้าหูใคร ๆ นั้น ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแต่เรา จำไดว้ซักนิดว่า ก่อนพูดนั้นจะต้องให้เกียรติผู้ฟังเสมอ ถึงแม้ผู้ฟังที่เราพูดด้วยนั้น จะมีฐานะ ศักดิ์ศรีด้อยกว่าเราแต่นั้นก็ ไม่ใช่เป็นตัวตัดสินการใช้คำพูดของเราใช่ไหมคะ เพราะการพูดจะประสบความสำเร็จได้ คนฟังจะต้องมีความพอใจมากที่สุด และตัวผู้พูดเองจะไม่แบ่งแยกชนชั้นค่ะ
และที่ลืมไม่ได้ ถ้อยคำที่พูดออกไปนั้นผู้พูดจะต้องใช้ภาษาที่น่าฟัง ไม่ใช้ภาษาไปกระทบจิตใจผู้ฟัง เพราะนั้นไม่ใช่ด้านดี ที่จะทำให้ผู้ฟังมาสนใจคำพูดของเรา จงอย่าใจร้อน อดกลั้นได้ให้อดกลั้น ในสิ่งที่รู้สึกว่าไม่พอใจกับตัวผู้ฟังค่ะ
ส่วนคำพูดที่ผู้พูดพูดออกไปนั้น เป็นอย่างไร? บางคร้งผู้พูดตั้งใจจะถามผู้ฟัง, อกกคำสั่ง, ตอบปฏิเสธ ผู้พูดก็ไม่ควรที่จะ ใช้คำพูดที่ตรบเกินไป ควรจะใช้คำพูดที่อ้อมค้อมสักนิดหนึ่ง เพราะในความเป็นจริง ผู้ฟังย่อมไม่ชอบคำพูดขวานผ่าซากเกิน ไป เช่น อยากจะตำหนิติเตียนใครซักคน ก็อย่าพูดตรง ๆ จนทำให้ผู้ฟังเลิกสนทนากับเรา หรือครั้งต่อไปไม่สนทนากับเรา อีกเลยก็เป็นได้
เ    ห็นไหมล่ะค่ะว่า การพูดจาให้เข้าหูคน ทำให้คนรักคนชอบเรานั้นไม่ใช่เรื่องยาก อะไรเลยถ้าหากว่าเราปฏิบัติตามข้อแนะนำ ที่คุณเพชรบูรณ์ โรจนธรรมกุล ได้แนะนำไว้ทั้ง ๓ ข้อ ดิฉันเชื่อแน่ค่ะว่า เพื่อน ๆ ทุกคนจะต้องประสบความสำเร็จในการพูด ทุก ๆ ครั้ง อย่างเช่นที่คุณเพชรบูรณ์ ได้ยกบทประพันธ์ของสุนทรภู่ กล่าวไว้ตอนท้ายว่า
เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก         จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้พูดดีมีคนเขาเมตตา                 จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ
รู้อย่างนี้กันแล้ว การพูดจาให้เข้าหูใคร ๆ นั้น ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปใช่ไหมคะ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘