วิชาการพูด 47

การเตรียมเสนอวาทะต่อชุมชนและการจัดการความประหม่าเวที
ในการสื่อสาร  สิ่งแรกที่ผู้พูดต้องการก็คือ  ให้ผู้อื่นเข้าใจในตัวผู้พูด  เพราะเมื่อเขาเข้าใจในตัวผู้พูดแล้ว  ผู้พูดสามารถที่จะสร้างความประทับใจ  โน้มน้าวใจ  หรืออื่น ๆ  แก่ผู้ฟังได้อีกหลายอย่าง  ซึ่งปัจจัย สำคัญที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจนั้นมี 3 ประการด้วยกัน คือ
1.  มีข้อเท็จจริงและความคิดที่จะถ่ายทอด ถ้าปราศจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ผู้พูดก็ย่อมไม่มีเนื้อหาที่จะนำมาพูด
2. มีความสามารถที่จะเรียบเรียงเนื้อหาและข้อสนับสนุนในการพุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ฟัง  เข้าใจเนื้อหาที่จะพูด
3.  สามารถถ่ายทอดเป็นวาทะสู่ผู้ฟังได้ เพราะถ้าผู้พูดเตรียมวาทะมาดี แต่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ ก็เท่ากับว่าการพูดในครั้งนั้นล้มเหลว
เมื่อผ่านขั้นตอนของการเตรียมแล้ว  ขั้นต่อมาก็คือ  การนำเสนอ  แต่ปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในช่วงนี้ก็คือ ความประหม่าของผู้พูด  อาการประหม่าบนเวที คือความกลัวชนิดหนึ่ง ซึ่งจะลดประสิทธิภาพของระบบ การทำงานของสมองและจิตใจ  กลัวว่าสังคมจะไม่เห็นด้วยกับการพูดหรือคำพูดของตน  คาดไม่ถูกว่าจะ ได้รับปฏิกิริยาตอบโต้จากผู้ฟังอย่างไร  ทำให้ผู้พูดเกิดอาการขาดความมั่นใจ
มีผู้แบ่งอาการประหม่าหรือตื่นเวทีนี้ไว้ 3 ระดับด้วยกัน คือ
1.ความเครียด  เป็นความกลัวเพียงเล็กน้อยที่ผู้พูดยังสามารถควบคุมตัวเองได้  อาการในระดับนี้มีผลในทางบวก เพราะทำให้ผู้พูดมีความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉงยิ่งขึ้น
2. ความกลัว   ในระดับนี้ ผู้พูดจะเริ่มแสดงอาการอย่างเห็นได้ชัด เช่น  พูดตะกุกตะกัก  เสียงสั่น  หน้าซีด  เหงื่อออกมากกว่าปกติ  ลืมเรื่องที่จะพูด  หรือพูดวกไปวนมา  เป็นต้น  ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้มากขึ้น
3.  ความกลัวสุดขีด   เป็นความกลัวที่รุนแรงมากจนทำให้ผู้พูดไม่สามารถควบคุมตนเองได้  อาจถึงขั้น เป็นลมหมดสติได้  ทั้งนี้เป็นเพราะในขณะที่เราตกใจ  ร่างกายจะมีการหลั่งสาร  Adrenalin  ทำให้หัวใจ เต้นเร็ว ระบบย่อยอาหารหยุดทำงาน  การหายใจถี่หนักขึ้นเพราะร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น
ดังนั้นในการสร้างความมั่นใจในการพูดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้พูดควรปฏิบัติดังนี้
1.  การสร้างลำดับขั้นตอน  นั่นคือ  ให้พยายามแตกเป้าหมายใหญ่ออกเป็นส่วนย่อย ๆ   วิธีนี้เป็นการ ทำให้ผู้พูดรู้สึกว่าเรื่องที่จะพูดนั้นเป็นสิ่งที่ง่ายมากยิ่งขึ้น  นอกจากวิธีนี้  ยังอาจใช้วิธีการแบ่งขั้นตอน ตามกลุ่มบุคคล หรือแบ่งตามหัวข้อที่จะพูดโดยอาจพูดในเรื่องที่ง่ายไปสู่เรื่องยากก็ได้
2.  ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  เป็นวิธีผ่อนคลายความตึงเครียดของร่างกาย แบ่งได้เป็น 4ส่วนด้วยกันคือ
         1. กล้ามเนื้อส่วนมือแขนและโคนแขน
         2. กล้ามเนื้อส่วนหน้าและลำคอ
         3. กล้ามเนื้อส่วนอกหลังไหล่ และท้อง
         4. กล้ามเนื้อส่วนขาน่องและเท้า
โดยการเกร็งกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ  แล้วคลายออกให้เร็วที่สุด  เป็นวิธีการผ่อนคลายความตึงเครียด ของร่างกายได้ดีที่สุดในช่วงเวลาสั้น ๆ
3.  การใช้โสตทัศนูปกรณ์ขณะที่พูด  จะช่วยลดความประหม่าบนเวทีได้มาก ทำให้ผู้ฟังมีความเข้าใจมากขึ้น และสนใจการพูดมากยิ่งขึ้นเช่นกัน  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้พูดมีความมั่นใจมากขึ้นจนค่อย ๆ ผ่อนคลายความ เครียดหรือความกลัว นอกจากนี้  ยังมีวิธีปฏิบัติตนง่าย ๆ  เพื่อลดความประหม่า เช่น
       -  พยายามมองตัวเองในแง่อื่นบ้าง  เช่น  ตนเองสำคัญมากแค่ไหน  จนถึงกับต้องตกเป็นเป้าสายตา
       -  พยายามใช้ภาษาที่เรียบง่าย  สั้น ๆ  และใช้น้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติ เพื่อให้มีความมั่นใจในตนเอง ขณะที่พูด
แต่หากเมื่อเริ่มการพูดไปแล้ว  ผู้พูดยังคงรู้สึกประหม่าอยู่ให้ตั้งใจพูดช้า ๆ  สักครู่ จากนั้นค่อยเพิ่มจังหวะ การพูดให้เร็วขึ้นจนเข้าสู่ภาวะปกติ  และหากผู้พูดเกิดอาการสะดุดอย่างฉับพลัน  ผู้พูดจะต้องแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าโดยพยายามมิให้เสียบุคลิก เช่น อาจยกแก้วน้ำขึ้นมาดื่ม เป็นต้น
นอกจากนี้  ผู้พูดต้องระลึกไว้เสมอว่า  เราไม่สามารถทำให้ถูกใจผู้ฟังทุกคนได้   ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ถูกต้อง สมเหตุสมผลตามเกณฑ์ที่วางไว้ก็เพียงพอแล้ว  และหากว่าผู้พูดรู้สึกว่า การพูดครั้งนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ เท่าที่ควร  ขอให้ระลึกว่าความล้ามเหลวในบางโอกาสเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต  สักวันหนึ่งเขาจะต้องทำ ได้สำเร็จ
เราต้องเข้าใจว่าความประหม่านั้นเกิดขึ้นกับทุกคน  มิใช่เฉพาะผู้ที่ฝึกพูดใหม่ ๆ เท่านั้น  แม้แต่นักพูดที่เจน เวทีก็มีอาการเช่นกันและเขาพอใจที่จะเกิดอาการเช่นนั้น  เพื่อให้เกิดพลังในการพูด การที่ผู้พูดมีความ ชินชา หรือเจนเวทีมากเกินไป  จะทำให้ผู้พูดเกิดความมั่นใจในตนเองมากเกินไป  จนขาดความกระตือ รือร้นในการทำงาน ขาดพลังที่จะจุดความมีชีวิตชีวาให้แก่ตนเอง และที่สำคัญกว่านั้นก็คือให้แก่ผู้ฟังนั่นเอง.
เก็บความจาก"การเตรียมเสนอวาทะต่อชุมชนและการขจัดความประหม่าบนเวที"   ใน  การพูดเพื่อธุรกิจ  ของ รศ.ดร.อรวรรณ  ปิลันธน์โอวาท, หน้า  281 -317.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘