วิชาการพูด 46

เจ็ดวันสู่ผู้ชนะ
คนเราเกิดมาแตกต่างกันไปไม่มีใครที่เหมือนกันทุกอย่างแม้แต่ฝาแฝด แต่สิ่งที่เรามีเหมือนกันและเท่ากันอย่างยุติธรรมคือ เวลา เวลาเป็นเครื่องทดแทนความไม่เท่าเทียมเหลื่อมล่ำต่ำสูงของมนุษย์ แม้ว่าจะมีคำกล่าวที่ว่า “แข่งเรือแข่งได้ แข่งวาสนา แข่งไม่ได้” แต่คนที่รู้จักใช้เวลาให้มีประโยชน์ที่สุดนั้น ย่อมสร้างตัวเองได้อย่างภาคภูมิใจมากกว่าผู้ที่ยืน ด้วยการใช้วาสนา ค้ำตัว
ในเรื่องการพูดก็เช่นกันไม่จำเป็นว่าเราต้องมีสัญชาตญาณ หรือพรสวรรค์ของการพูด เพียงแต่เราใช้เวลาที่มีอยู่อย่างเท่าเทียม กันนั้น ให้มีประโยชน์ต่อการพูดของเราให้ดีที่สุดเราก็จะประสบความสำเร็จในการพูดอย่างแน่นอน
วิธีการพูดให้ประสบผลความสำเร็จได้นั้นมีมากมายหลายวิธี อีกทั้งยังต้องอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น การจำความรู้สึก อยากเป็นนักพูดความยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรเป็นต้นสิ่งเหล่านี้เราได้รับความรู้จากเพื่อน ๆ นักพูดของเรา ซึ่งก็นับเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการพูดของเราให้ดี และวันนี้เพื่อให้พวกเราทุกคนได้มีความมั่นใจในการพูดมากขึ้นไปอีก ดิฉันมีวิธีการเตรียมตัวก่อนขึ้นพูดมามอบให้ทุกคนค่ะ ทุกคนที่อยากเป็นผู้ชนะอยากเป็นผู้ที่ไม่มีใครหัวเราะ เราอยากเป็น ผู้ที่รู้สึกเป็นสุขเมื่อได้พูดไปแล้วอย่างประสบความสำเร็จ
เมื่อเราอยากชนะเราจะทำอย่างไรเคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งบอกพวกเราว่า อยากจะพูดอยากจะทำอะไรให้ดี จงคิดถึงมัน 7 วัน ฝันถึงมัน 7 คืน แล้วพวกเราเคยไหมคะ ที่ทำให้วันเวลา 7 วัน 7 คืนนั้นผ่านไปเปล่า ๆ จนกระทั่งก่อนวันพูด นั่นเพราะอะไร เพราะเรารู้สึกว่า 7 วัน 7 คืนนั้นผ่านไปเปล่า ๆ จนกระทั่งก่อนวันพูด นั่นเพราะอะไรเพราะเรารู้สึกว่า 7 วัน 7 คืนนั้นมันยาว นาน จนไม่รู้จะทำอะไร และยังทำให้รู้สึกเป็นทุกข์ที่ต้องคอยคิดถึงมันอยู่ตลอดเวลา ดิฉันก็เคยเป็นค่ะและรู้สึกว่าแย่จริง ๆ ที่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปอย่างไร้คุณค่าไม่ต่างอะไรกับเวลาของร่างกายเปล่า ๆ ที่อยู่ในโลงศพใต้ดินนั่นเลย เพื่อน ๆ คงจะไม่ อยากที่จะรู้สึกเช่นเดียวกับดิฉันหรอกใช่ไหมคะ
ดังนั้นเราต้องลุกขึ้น ลุกขึ้นใช้เวลาของเราให้มีค่า Malcolm Peelแนะนำวิธีการเตรียมตัวพูด ในช่วง 7 วัน ได้ดีทีเดียว และใช้ เวลาในแต่ละวันไม่มากนัก เหลือพอให้เราได้ไปเที่ยวเล่นอย่างมีความสุขทุกวันได้ เอาล่ะค่ะมาดูกันว่า ในแต่ละวันเราควรจะ ทำอะไร เพื่อเตรียมตัวเป็นผู้ชนะกันบ้าง
วันที่ 1  เตรียมพร้อมเบื้องต้น
อย่าลืมว่ากุญแจที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การพูดของเราประสบความสำเร็จได้ก็คือ การเตรียมพร้อมที่ดีโดยการวิเคราะห์ ให้ทราบเสียก่อนว่าผู้ฟังของเราเป็นกลุ่มใด โอกาสสถานที่เป็นแบบไหน และกำหนดจุดประสงค์เป้าหมายในการนำเสนอ อย่าลืมนะคะว่าการเดินทางไม่มีทางสิ้นสุดถ้าเราไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
วันที่ 2  รวบรวมข้อมูลเนื้อหา
การทำงานในวันนี้สำคัญมาก เพราะจะชี้ว่าเราได้ทำการบ้านของนักพูดได้ดีเพียงใด นักพูดต้องมีความรอบรู้ในเรื่องที่ตนเอง พูด จึงควรรวบรวมและคัดเลือกข้อมูลให้ดีโดยอาศัยการวิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง โอกาส สถานที่และจุดประสงค์ที่เตรียมไว้ใน วันแรก มาประกอบการคัดเลือกข้อมูล เพื่อให้ง่าย และไม่เกิดความสับสน จากนั้นจึงนำมาจัดรูปแบบของการนำเสนอ เช่น ถ้ากลุ่มผู้ฟังเป็นเด็ก รูปแบบเนื้อหาก็ควรมีการสอดแทรกผ่านนิทานหรือเรื่องเล่าสนุก ๆ จึงจะเป็นที่น่าสนใจ และทำให้ผู้ฟัง ได้รับสิ่งที่เราต้องการเสนอได้อย่างมีประสิทธิผล
วันที่ 3 การเตรียมโสตทัศนูปกรณ์
วันนี้หากว่าสิ่งที่เราต้องการนำเสนอมีส่วนที่ยาก อาจทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจ ก็ควรมีอุปกรณ์เข้ามาช่วยเสริม ซึ่งเราต้องจัด เตรียมให้ดี ไม่มากจนเกินไป และเหมาะสมกับสถานที่ อุปกรณ์ที่ใช้ไม่ควรจะดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังออกไปจากเรา มากเกินไปนักแต่ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ เราก็อาจใช้เวลาของวันนี้ในการทบทวนการจัดรูปแบบของการนำเสนอ ให้ถูกต้องสมบูรณ์อีกครั้ง
วันที่ 4 ฝึกซ้อมครั้งสุดท้าย
การฝึกซ้อมครั้งนี้ช่วยลดความประหม่า ตื่นเต้น พัฒนาการแสดงออก ช่วยปรับบทพูดให้เป็นภาษาพูดของเราเอง ทำให้เกิด ความเป็นธรรมชาติ เหมาะสมมากขึ้น อย่าลืมว่าเราต้องจริงจังกับการฝึกนี้ด้วย และอาจหาผู้ฟังจำเป็นอย่างเพื่อนของเรา มาช่วยในการฝึกด้วยก็ได้
วันที่ 5 ทลายความตื่นเต้น
นักพูดแรกเริ่มอย่างพวกเรามักประสบปัญหาเรื่องความตื่นเต้นเสมอมันรักษาไม่หายหรอกค่ะ แต่ละระดับความตื่นเต้นได้ ด้วยการกล้าเผชิญหน้ากับมัน  อย่ากังวัล เพราะใคร ๆ ก็เป็นอย่างเรา จงคิดอยู่เสมอว่าเราเตรียมทุกอย่างมาพร้อมแล้ว กะแค่ใจเต้นไม่เห็นเป็นไร แล้วลองสูดหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ จินตนาการถึงการพูดตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วนึกถึงภาพ ความสำเร็จหลังการพูด มันจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นมาก ๆ เลยค่ะ
วันที่ 6 นำเสนออย่างมั่นใจ
มาถึงวันที่ 6 แล้วเราพร้อมขนาดนี้ ยังมีอะไรต้องกลัวอีก ขอแค่ทบทวนการทำงานตั้งแต่วันแรกมาตรวจสอบทุกอย่างให้ พร้อมปรับปรุงบุคลิกให้ดี ลองไปยืนหน้ากระจกทำท่าเหมือนตอนที่จะพูดจริงแล้วดูว่าถ้าเราเป็นผู้ฟังเราจะรู้สึกศรัทธาเชื่อถือคน ๆ นี้ไหม ปรับบุคลิกตั้งแต่ภายในใจของเราเลยค่ะ จะมีผลต่อร่างกายเราเลยทีเดียว  หลังตั้งตรงมองตาผู้ฟังพูดจาฉะฉาน ถ้าฟอร์มดีเราจะมีชัยไปกว่าครึ่งค่ะ 
วันที่ 7 เตรียมรับมือกับคำถาม
การเตรียมตัวนำเสนอของวันสุดท้ายนี้ เพื่อการพูดในการประชุมสัมมนาที่อาจมีการซักถาม โต้ตอบกัน สำหรับพวกเรา วันสุดท้ายนี้เป็นเหมือน special dayเป็นวันสำหรับคลายความเครียดพักผ่อนและคิดถึงความสำเร็จที่จะได้รับในวันพรุ่งนี้ค่ะ
วิธีการเตรียมตัวใน 7 วันนี้ดิฉันเห็นว่าได้ผลมาก ลองสังเกตดูจะพบว่าเมื่อเราจัดเตรียมตามโปรแกรม เราก็จะมีความพร้อม ตั้งแต่วันที่ 4 เหลือเวลาถึงสามวันที่จะเติมเต็มความมั่นใจ และไม่กังวลเกี่ยวกับสิ่งที่จะพูดอีก เพราะเราสะสมความเคยชิน ต่อการพูดตลอดเวลา 7 วัน เรียกว่า “ช้า ๆ แต่มั่นคงทรงประสิทธิภาพ” ค่ะ แล้วเราก็จะใช้เวลาทุกนาทีได้อย่างมีคุณค่า  เพื่อน ๆ จะประสบความสำเร็จในการพูดและรู้สึกถึงความเป็นผู้ชนะอย่างที่ดิฉันรู้สึกในวันนี้ค่ะ
เตรียมพร้อมเบื้องต้นสืบค้นเนื้อหา
จัดเครื่องทัศนาพูดจามั่นใจ
ทลายความตื่นเต้นซ่อนเร้นมันไว้
นำเสนอมั่นใจชนะแน่นอนสำหรับผู้ชนะทุกคน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘