วิชาการพูด 45

ศิลปะการพูด
จงคิดเสียให้ดีแล้วจึงพูด              หัดหูรูดปากไว้ให้จงหนัก
อย่าพูดพล่อยจะอายคนจนใจนัก    เขาจะทักว่าเรานี้หมดดีเอย
วิชาการพูดเป็นศิลปะอันสำคัญอันหนึ่งและผู้ที่เป็นนักพูดก็ต้องนับว่าเป็นผู้มีศิลปะอันประเสริฐการพูดที่ดีนั้นย่อมจะทำให้ ผู้พูดติดต่อเกิดความเข้าใจกับผู้อื่นได้สะดวกสามารถแสดงความประสงค์ของผู้พูดไปสู่ผู้อื่นให้เกิดความเข้าใจความร่วมมือ เกิดความรู้หากพูดไม่ดีก็เหลวตั้งแต่แรกแล้วค่ะ
“วิจิตรวาทการ”ซึ่งหมายถึง เป็นคนช่างพูดและพูดได้ไพเราะหน้าฟังเป็นอย่างยิ่ง  หลวงวิจิตรฯ เป็นนักพูดที่มีเสน่ห์สามารถ ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ แต่เต็มไปด้วยพลัง ลีลา วิธีการพูดลำดับขั้นตอนไม่สับสน ตรึงความสนใจผู้ฟังได้ตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะท่านรู้ว่ามีความสุขใจในการพูด แต่รู้ไหมคะว่า ท่านเคยเป็นคนติดอ่างมาก่อน ท่านเองก็ท้อใจบ้าง แต่ท่านก็พยายาม เอาบทเรียนของนักพูดก้องโลกหลาย ๆ ท่านมาศึกษา มั่นฝึกหัด มั่นฝึกพูดตลอดเวลาจนกระทั่งอ่างไม่ยอมติดท่าน หรือท่านไม่ยอมติดอ่างอีกเลยค่ะ  เห็นไหมคะว่าการเป็นนักพูดที่ดีมิใช่เกิดมาพร้อมตัวเราตั้งแต่เกิดพรแสวงเท่านั้นค่ะ ก่อให้เกิดพรสวรรค์ขอเพียงมีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความพยายามอยากพูด และนึกไว้เสมอว่า เราต้องเป็นนักพูดที่ดีให้ได้แค่นี้ เราก็ประสบชัยชนะไปกว่าครึ่งแล้ว
เรามาดูกันซิคะว่า ว่าจะต้องทำอะไรบ้างที่จะเป็นนักพูดที่ดีได้
1. ทำตัวของเราให้รู้เหตุการณ์ทันสมัยอยู่เสมอ
อ่านหนังสือพิมพ์รายวันฉบับดี อย่างน้อยวันละฉบับจะทำให้เราพ้นจากความเป็นผู้หูป่าตาเถื่อน และทำให้เรามีเรื่องสนทนา อยู่เสมอหัดเป็นนักสนทนาที่ดีและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการสนทนาให้ได้มากที่สุดอย่าลืมว่าคำพูดจะออกมามาก เพราะสมองของเราสั่ง และสมองของเราจะสั่งได้ดีก็ต่อเมื่อมันมีความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ สะสมไว้มากมายเท่านั้น ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นรวบรวมความรู้และประสบการณ์ไว้ให้มากที่สุดจนเรียกได้ว่า เป็นรอบตัว หรือว่าจะรอบโต๊ะ ล้วนก็ต้อง ฝึกให้ตัวเองมีไหวพริบ และปฏิภาณคล่องแคล่วสามารถแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ทันควันอีกด้วย
2. พยายามจำสุภาษิต คำพังเพย
สุภาษิตคือประโยคสั้น ๆ ที่ดึงออกมาจากประสบการณ์ที่ฉลาดและยืดยาวเหล่านี้ ล้วนเป็นที่รวมของข้อความที่กว้างขวาง ที่สุดไว้ เป็นประโยคที่ถ้อยคำ น้อยที่สุดผู้จำสุภาษิตได้มากย่อมจะมีคำพูดสละสลวยดี และมีหลักความคิดอยู่ในใจมากพอ ที่จะยกมาใช้จ่ายเป็นคำพูดได้เสมอเช่น “รู้อะไรให้กระจ่างเพียงอย่างเดียวแต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล”
เวลาอ่านหนังสือเจอข้อความ ถ้อยคำที่คมคายก็ควรจะจำไว้ ใช่ว่าเราจะเอาคำพูดตามอย่างเขาไปเรื่อยเปื่อย ที่จริงการจำ คำพูดคมคายย่อมทำให้เราเกิดมีความคิดหาคำพูดที่คมคายของเราใหม่บางทีเราอาจหาได้ดียิ่งกว่าเดิม ขอยกตัวอย่าง คำคมของพลตรีหลวงวิจิตวาทการ
ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยากำลัง
เห็นข้าวท่านบ่ใคร่กิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด
ตัวเราคือมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเหตุการณ์รอบตัวเราเป็นอาจารย์สอนที่ดีที่สุด
หรืออาจให้แง่คิดในมุมกลับ เช่น ดังคำพูดของขงจู้ที่ว่า “เรียนโดยไม่คิดเสียแรงคิดโดยไม่เรียนเป็นอันตราย”
 
3. สมาธิ
สมาธิคือความคิดแน่วแน่อยู่ในถ้อยคำที่เราพูด และให้เรารู้สึกเป็นนายตัวเองเสมออย่าปล่อยให้มีอะไรมากวนใจ ข้อนี้เป็น ข้อสำคัญยิ่งสำหรับนักพูดรู้จักเน้นคำพูดชัดถ้อยชัดคำเน้นคำตรงที่ควรเน้นเสียงไม่เป็นของสำคัญ เพราะคนที่เสียงไม่ดีเลย แต่เป็นนักพูดที่ดีก็มีถมไปที่สำคัญคือต้องพูดให้กระจ่าง และควรพูดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
4. ท่าทาง
จริง ๆ แล้วการออกท่าทางมาก ๆ นั้นจะทำให้คำพูดเสียไป  นักพูดที่เก่งที่สุดนั้นเขามีท่าทางน้อยที่สุดระวังตัวไม่ให้โยกโคลง แต่อันนี้ก็แล้วแต่ลีลาแต่ละคนค่ะ  แต่ก็ไม่ควรลืมทอดสายตาไปยังผู้ฟังทั่ว ๆ กันอาจดึงดูดความสนใจผู้ฟังโดยใช้อุปกรณ์ หรือการใช้บุคคลช่วยสาธิต  บางคนเมื่อยังไม่ได้เอ่ยคำพูดใด ๆ ออกมานั้น ท่าทางของเขาดูสง่าน่ายำเกรง น่าเคารพ แต่พอเอ่ยคำพูดออกมาเท่านั้นความน่าเคารพยำเกรงดังกล่าวก็หายเป็นปลิดทิ้ง  พูดด้วยความจริงใจทั้งสีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียงผู้ฟังก็จะพลอยมีอารมณ์ตามคำพูดของท่านไปด้วย
5. พูดอย่างง่าย ๆ ตรงไปตรงมา
คนที่พูดไปเรื่อย ๆ โดยไม่สนใจว่าผู้ฟังเขาจะชอบใจหรือไม่นั้นมันก็เหมือนกับวิทยุซึ่งคลื่นออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งผู้ฟังพากัน หลับนอนหมดแล้ว ก็ยังส่งอยู่นั้นแหละ  เช่น ควรรู้จักให้เกียรติแก่คนอื่น อย่าดูถูกดูหมิ่นกันในเรื่องฐานะและความสามารถ เราอาจบอกว่า “คนเราไม่ว่าผู้ใหญ่ผู้น้อย ไม่ว่านายจ้าง ลูกจ้าง มันก็มีดีด้วยกันทั้งนั้น แล้วก็ดีคนละด้าน จำเป็นไปคนละ อย่างจะบอกว่าใครไม่จำเป็นก็ไม่ได้ เพราะต่างคนต่างดี เหมือนตากับลิ้น ตาดีในทางดู ลิ้นดีในทางชิมรส แค่เพียงตากับลิ้น อยู่ห่างกันไม่ถึงคืบยังทำงานแทนกันไม่ได้  ใครไม่เชื่อก็ลองเอาตาชิมแดงดูซักมื้อสิ”
6. วิธีอุปมาอุปไมย
การอุปมาอุปไมยจะช่วยให้คนฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้นมาก  นอกจากเข้าใจง่ายแล้วยังจำได้ติดใจไปด้วย แต่มีข้อระวังว่า ถ้าผู้พูด หาคำอุปมาเหมาะ ๆ ไม่ได้ก็อย่าใช้ดีกว่า เช่น เปรียบว่า คนเสียดสีคนอื่นเหมือนตะไบ เราก็บอกว่า บางคนหยิ่งจองหอง ไม่อยากฟังความคิดเห็น  คนรุ่นก่อนแม้แต่คำสอนหรือหลักธรรมก็นึกขี้เกียจฟัง ดูถูกผู้อื่นที่ด้อยกว่า ก็นับว่าคิดผิด หินทุกก้อนจะลับมีดให้คมได้ มันจะต้องเกิดมาเป็นเวลานาน ๆ ทั้งนั้นไม่มีหินก้อนใดเกิดมาพร้อมมีด คนที่รังเกียจคำสอน โบราณ ก็ไม่ผิดอะไรกับมีดที่รังเกียจหิน ซึ่งจะต้อง “ทื่อ”จนวันตาย
ท้ายสุดขอยกพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า
ปากเป็นเอกเลขเป็นโทโบราณว่า
หนังสือเป็นตรีมีปัญญาไม่เสียหาย
ถึงรู้มากไม่มีปากลำบากกาย
มีอุบายพูดไม่เป็นเห็นป่วยการ
ถึงเป็นครูรู้วิชาปัญญามาก
ไม่รู้จักใช้ปากให้จัดจ้าน
เหมือนเต่าฝังนั่งซื่อฮื้อรำคาญ
วิชาชาญมากเปล่าไม่เข้าที
สวัสดีค่ะ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘