วิชาการพูด 43

ศิลปะการพูด
เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆที่น่ารักทุกคน
หลังจากที่เพื่อน ๆ แต่ละคนได้อ่านหนังสือการพูดที่ตนเองเลือกมาจบแล้ว  เพื่อน ๆ เกิดความรู้สึก เช่นเดียวกันกับดิฉันบ้างไหมคะความรู้สึกที่ว่านี้ก็คือ  เมื่ออ่านจบแล้วดิฉันรู้สึกว่าอยากจะมาเล่า มาบอกให้เพื่อน ๆ ฟัง  ถึงสาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้  ที่ได้ให้คำแนะนำที่จำเป็นสำหรับการฝึกพูดของดิฉันอย่างมากมาย  หนังสือการพูด เล่มที่ว่านี้ก็คือ  "ศิลปการพูด" ของ สนุก รัฐถาวร ค่ะ
ศิลปะการพูดเล่มนี้ถ้าเพื่อน ๆ  ลองอ่านดูจะรู้ว่า  เราตัดสินใจไม่ผิดเลยที่เลือกอ่าน  อ่านแล้วรู้สึกปิ๊งเลย  เพราะผู้เขียนได้รวบรวมเนื้อหาสาระเกี่ยวกับหลักและกระบวนการพูดได้น่าอ่าน  ด้วยสำนวนภาษาที่ดีอ่านง่าย และที่สำคัญเราก็สามารถนำความรู้ที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
เพื่อเป็นการตอบสนองความปรารถนาของพวกเราทุกคน ที่ต้องการจะปรับปรุงวิธีการพูดของตัวเรา ให้ได้ดีที่สุด  เพื่อเดินก้าวไปสู่เส้นทางแห่งการเป็นนักพูดที่ดี   ดิฉันจึงอยากนำเสนอสาระสำคัญที่เป็นแก่นแท้ที่ดิฉันรวบรวมได้จากหนัสือเล่มนี้เป็นเรื่องๆดังนี้ค่ะ
ก่อนอื่นนะคะ   การที่เราจะเป็นนักพูดที่ดีได้  เราต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นของนักพูดที่ดีเสียก่อน  เพื่อน ๆ อยากรู้ไหมคะว่า  การเป็นนักพูดที่ดีเขาต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง   ดิฉันมีคำตอบให้เพื่อนๆค่ะ
นักพูดที่ดี  จำเป็นต้องปรับปรุงพื้นฐานของตนให้มี คุณสมบัติเบื้องต้นของนักพูดที่ดี มี ๕ ข้อ  ดังนี้ คือ
๑.  เป็นนักพูดที่ดีและฟังเป็น  คือ  ไม่ใช่ฝึกพูดอย่างเดียวนะคะ  ต้องฝึกฟังด้วยต้องรู้ว่าเมื่อไรควรพูด เมื่อไรควรฟัง  การฟังผู้อื่นพูดทำให้เราได้รับความรู้เพิ่มขึ้น  หรือเป็นการทบทวนความรู้เดิมที่เรามีอยู่
๒.  ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอไม่หยุดยั้ง   นอกจากจะได้จากการฟังการสนทนากับผู้รู้ต่าง ๆ  การฟังข่าววิทยุ โทรทัศน์แล้ว  ความรู้ที่ได้จากการอ่านสำคัญที่สุด  เพราะเสนอวิธีตักตวงความรู้ที่รวดเร็วและรวบรัดที่สุด  นักพูดต้องรักการอ่าน  มิฉะนั้น  การพูดจะวนเวียนอยู่ที่เดิมจะไม่ไปไหน
๓.  ยอมรับฟังคำวิจารณ์  นักพูดต้องยอมรับฟังคำวิจารณ์จากผู้อื่น  ต้องต้อนรับทั้งคำติและชม  ไม่ใช่หลงใหลอยู่กับคำชมคำสรรเสริญเยินยอแต่ฝ่ายเดียว  ที่ไม่ให้อะไรมากไปกว่ายาหอมชะโลม  มีความสุขชั่วครู่ ชั่วยามเดี๋ยวก็ลืม  แต่คำติให้ข้อคิดกับเราไม่ว่าจะเป็นคำติเพื่อก่อ หรือทำลาย  เพื่อตั้งสติให้มั่นคง  นำมาพิจารณหา ข้อเท็จจริง  ให้รีบนำมาปรับปรุงแก้ไขตัวเองใหม่ ถ้าเขาไม่ติเรา แล้วเราจะรู้สึกถึงสัญญาภัยเหล่านี้ได้อย่างไร
๔.  เป็นตัวของตัวเอง  นักพูดต้องเป็นตัวของตัวเองอย่าเลียนแบบใคร  เพราะไม่สร้างสรรค์  ไม่ทำความเจริญให้แก่โลก  และไม่ทำความความภาคภูมิใจให้แก่ตัวเอง  เราจะเป็นยอดในสิ่งนั้นไม่ได้  เพราะในที่สุดของที่สุดเราจะพ่ายแพ้  คน ๆ หนึ่ง  คือ คนที่เราเลียนแบบเขานั่นเอง  ให้จับเอาตัวอย่างที่ดี  คำพูด  ข้อคิดที่ดีมาใช้  และต้องเอ่ยนามเขาด้วย  เพราะถือว่าเป็นมารยาทอันงดงาม  และยังสามารถถ่ายทอดสิ่งต่าง ๆ  เหล่านั้นได้อย่างเต็มปากเต็มคำ ไม่เคอะเขินอีกด้วย
๕.  มีความสุขในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น  คนที่หลงความรู้นอกจากทำให้โลกไม่เจริญแล้ว  ตัวเองก็ยังทำให้เจริญไม่ได้ด้วยเพราะถ้าเราปิดบังไม่ยอมถ่ายทอดหรือถ่ายทอดไม่หมด  เก็บไว้หากินวันหลังบ้างทำนองนี้  เราก็จะไม่ขวยขวายค้นคว้าหาความรู้ใหม่ในที่สุดความรู้ก็เท่าเดิมไม่พัฒนาขึ้น แต่ให้ถือว่าการพูดทุกครั้งเป็นโอกาสดี ที่เราจะได้ทำประโยชน์  เป็นเกียรติยศที่ผู้ฟังหยิบยื่นให้แก่เรา  ความคิดเช่นนี้เป็นความสุขที่มองไม่เห็น เป็นความภาคภูมิใจที่ซ่อนเร้น  ซึ่งจะบันดาลให้การพูดเป็นประกอยเฉิดฉาย  มีพลังมีศรัทธและมีหัวใจที่ทุ่มเทให้กับการพูดทุกครั้ง
ห็นไหมคะว่า  คุณสมบัติของนักพูดที่ดีทั้ง ๕ ข้อ   ไ ม่ยากเลย พวกเราทุกคนเองก็สามารถที่จะปรับปรุงและสร้างคุณสมบัติเหล่านี้ให้เกิดขึ้นกับตัวของเราเองได้
หลังจากที่เพื่อน ๆ  รู้ถึงคุณสมบัติของนักพูดที่ดีแล้ว  เรื่องต่อไปที่ดิฉันจะพูดถึงก็คือ ปัจจัยแห่งความสนใจ ถ้าถามเพื่อน ๆ ว่าในการพูดของเราแต่ละครั้ง  ถ้าจะทำให้ผู้ฟังเขาสนใจฟังการพูดของเรานั้น มีองค์ประกอบหรือปัจจัยอะไรที่จะทำให้การพูดของเราน่าสนใจ
        อแลน เอช. มอนโร  ได้แกยแยะปัจจัยแห่งความสนใจในการพูดไว้อย่างนี้
๑.  เนื้อหาสาระในการพูด  มีประโยชน์ น่าสนใจ มีคุณค่าแก่การฟัง  มีความสำคัญร้อยละ ๕๐
๒. บุคลิกภาพทั่วไป  รูปร่างหน้าตา  การแต่งเนื้อแต่งตัว   การปรากฏกาย   การใช้ท่าทาง มือไม้ ตลอดจนสุ้มเสียงของผู้พูดร้อยระ๑๐
๓. ศิลปการแสดงออกหรือศิลปในการถ่ายทอด  ซึ่งมีความสำคัญร้อยละ ๒๐ เน้นการเรียงลำดับเนื้อหา  การยกตัวอย่าง  อุปมาอุปมัยการแทรกอารมณ์ขัน  การเน้นเสียง เน้นจังหวะจะโคนตลอดจนการสร้างความเป็นกันเอง กับผู้ฟัง  คือ  ผู้ฟังได้มีส่วนร่วม  สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมาก
๔. คำนำหรือการสรุปจบ  มีความสำคัญถึงร้อยละ ๒๐ ทีเดียว  ทุกอย่างดีหมดแต่เปิดฉากไม่เข้าท่า  ก็ฟังตั้งแต่ต้น หรือพูดดีมาตั้งแต่ต้นจนใกล้จบ แต่ไปพลาดตอนจบ ก็จัดว่าแย่เหมือนกัน โดยสรุปผู้พูดจะต้องเริ่มต้น ให้ตื่นเต้น  ตอนกลางให้ผสมผสานกลมกลืน สรุปจบให้จับใจนั่นเอง
เป็นอย่างไรบ้างคะ  มาถึงตรงนี้แล้ว  เมื่อเราค้นหาและพัฒนาความสามารถที่เรามีอยู่  เราก็จะเป็น ผู้พูดที่มีคุณสมบัติที่ดีของนักพูดแล้วและเราก็ได้ทราบแล้วว่าการที่จะทำให้การพูดของเราทุกครั้งประสบความสำเร็จ พูดแล้วมีคนฟังสนใจในสิ่งที่เราพูดนั้นมีปัจจัยใดบ้าง  การพูดนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับ พวกเราทุกคนนะคะ  การพูดนั้นง่ายมากเพียงแค่เราเปล่งวาจาออกมา  แต่การจะเป็นนักพูดที่ดีได้ไม่ใช่เพียงแค่นี้  เพราะการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  ในขณะเดียวกัน  คำพูดของเราอาจจะทำให้คนฟังเกลียดหรือรักเราก็ได้นะคะ
การที่เราจะพูดให้คนฟังชื่นชอบ หรือพูดถูกใจคนฟังนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากและในหนังสือเล่มนี้  เขาก็ได้เขียนถึง  เทคนิค การพูดให้ถูกใจคนเอาไว้ด้วย  ซึ่งดิฉันเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีและน่าสนใจมากทีเดียว จึงอดที่จะมาบอกกล่าวให้เพื่อนๆฟังไม่ได้
มีนักปราชญ์ชาวจีนได้กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า   "การรบให้ชนะ  แม่ทัพจะต้องรู้กำลังเราและกำลังเขา (ข้าศึก)  และรู้วิธีการรบที่สมบูรณ์รบร้อยครั้งย่อมชนะทั้งร้อยครั้ง"  เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการพูดแล้วใช้ได้เป็นอย่างดี  คือ  เมื่อต้องพูด ต้องรู้เรา  (ตัวผู้พูดเอง)  เปรียบได้คือตัวแม่ทัพและกำลังกองทัพต้องรู้เขา  (ตัวผู้ฟัง)  เปรียบได้คือ  ข้าศึก  และต้องรู้วิธีพูด  เปรียบได้กับวิธีรบทั้ง ๓ หลัก  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง  ดังนั้นในเรื่องการพูดจะต้อง...
          ข้อหนึ่ง   ต้องรู้เรา  คือ  ต้องรู้ฐานะ  สิทธิ  และหน้าที่อย่างไรในแต่ละสถานการณ์  รู้จักกาลเทศะ  และต้องฝึกตนเอง  เช่น  ในการปรับปรุงบุคลิกภาพ   การแต่งกาย  การแสดงพฤติกรรมต่อสังคมของเรา  ฝึกฝน การใช้น้ำเสียง-ท่าทาง-ภาษาพูด  ให้มีน้ำเสียงที่ดังพอประมาณ  เป็นธรรมชาติ  มีท่าทางรวมทั้งการแต่งกายเหมาะสม  สายตามองสบตาผู้ฟัง  ใช้มือเน้นความหมายหรือใช้ประกอบการพูดให้เหมาะสม  ภาษาพูดฝึกพูดให้ชัดเจนถูกต้องตามอักขรวิธีและสำเนียงภาษา
            ข้อสอง  ต้องคู้เขา (ผู้ฟัง)  ต้องรู้ว่าเขาเป็นใคร  วัยไหน  เพศไหน ต้องรู้ว่าเขาสนใจอะไรในเรื่องใดที่เขาสนใจ มากที่สุด  และเราจะต้องรู้ด้วยนะคะว่าเขาต้องการฟังอะไร  เช่น อยากฟังเรื่องที่มีประโยชน์ สาระหรือเรื่องแปลกประหลาด,  เรื่องตลก  เป็นต้น
            และข้อสุดท้ายที่สำคัญ  คือ  ข้อสาม  ต้องรู้วิธีพูด  วิธีพูดเป็นวิธีที่จะปรับตัวเราและเขาเข้าด้วยกัน เมื่อต้องพูด ต้องคำนึงถึงโอกาส  เวลา  สถานที่  บุคคลว่าเหมาะสมอย่างไร  ก่อนพูดต้องคิดให้ดีเสียก่อนว่า  "ผู้ที่เราจะพูดด้วยหรือผู้คน ที่ได้ยินได้ฟังการพูดคุยของเรานั้น  เขาคือผู้จะนำความก้าวหน้ามาสู่ชีวิตเรา  เขามีประโยชน์  เขามีค่าสำหรับเราทุกวินาที  วันนี้อาจยังไม่ได้ประโยชน์แต่วันข้างหน้ามีแน่"  ไม่พูดในสิ่งที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกอึดอัดใจ  เสียความรู้สึก  เสียหน้า  เสียหาย  และเสียใจ  ต้องคิดก่อนพูดพูดแล้วทำให้ผู้ฟัง สนใจ สนุก และสบายใจ
            นี่ก็คือเทคนิคการพูดให้ถูกใจคนที่ยึด ๓ อย่างคือ  ต้องรู้เรา  รู้เขา  และรู้วิธีพูดนะคะ  ไหน ๆ ดิฉันก็นำหลัก และกระบวนการพูดที่เขียนไว้หนังสือเล่มนี้  ให้เพื่อน ๆ ทราบกันไปแล้ว  ครั้นจะไม่พูดถึงเคล็ดลับที่อาจถือได้ว่าเป็น จุดสุดยอดของการพูดที่เขียนไว้หนังสือเล่มนี้  ให้เพื่อน ๆ ทราบ  ก็ดูเหมือนกับว่ายังขาดอะไรไปอยู่ไม่สมบูรณ์เต็มที่  ดังนั้นดิฉันก็จะขอพูดถึง  เคล็ดลับการพูดจากหัวใจทั้ง ๔ ห้อง  เป็นเรื่องสุดท้ายที่ดิฉันจะขอนำเสนอก่อนจะจบ การพูดนะคะ เพื่อเป็นของฝากของแถมให้กับเพื่อนๆไงคะ
            ร.อ.ดร. จิตรจำนงค์  สุภาพ  เสนอแนะว่า  ต้องพูดจากหัวใจทั้ง ๔ ห้องได้แก่  พูดจากใจที่ขึ้นใจ ด้วยความตั้งใจ และจนสุดหัวใจ
- พูดจาใจ    คือ  แสดงออกมาจากความจริงใจ ไม่เสแสร้ง มีความมั่นใจ  แน่ใจต่อผู้ฟัง
-  ที่ขึ้นใจ คือ เข้าใจในเรื่องที่พูดอย่างกระจ่างแจ้ง ถูกต้องไม่โมเม ยกเมฆ  หรือเดา
       -  ด้วยความตั้งใจ  คือ  กระหายอยากพูด  กระตือรือร้น  กระฉับกระเฉง  ไม่เฉื่อย หรือเนือยๆ มีลักษณะอาการเบื่อเซ็ง
-  จนสุดหัวใจ   คือ  เปรียบเหมือนการสวมวิญญาณลงไปในคำแต่ละคำอย่างมีชีวิต ชีวา มีความรู้สึกเหมือนตัวเองอยู่ในสถานการณ์นั้นจริงๆ
สิ่งที่ดิฉันพูดมานี้ทั้งเรื่องของ  คุณสมบัติเบื้องต้นของนักพูดทีดี  ทั้ง ๕ ข้อคือ  เป็นนักพูดที่ดีและฟังเป็น,  ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ, ยอมรับฟังคำวิจารณ์,     เป็นตัวของตัวเอง     และมีความสุขในการถ่ายทอดความรู้ เรื่อง      ปัจจัยแห่งความสนใจ   ได้แก่     เนื้อหาสาระในการพูด, บุคลิกภาพ,  ศิลปการแสดงออก-ศิลปการถ่ายทอด, คำนำหรือการสรุปจบ  และเรื่องของ เทคนิคการพูดให้ถูกใจคน  คือ ต้องรู้เรา  รู้เขา และรู้วิธีพูด   เพื่อน ๆ อย่าลืมนะคะ กับ เคล็ดลับการพูดจากหัวใจทั้ง ๔ ห้อง  คือ  พูดจากใจ  ที่ขึ้น  ด้วยความตั้งใจ  และจนสุดหัวใจ     ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นของการพูดที่มีอยู่ในหนังสือศิลปะการพูดเล่มนี้ที่ดิฉันเห็นว่าน่าสนใจ และจะมีประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ  จึงรวบรวมมานำเสนอให้กับเพื่อนๆ ทุกคนค่ะ
                ท้ายนี้ดิฉันมีโคลงในพระราชนิพนธ์   "ดุสิตสมิต"   ที่กล่าวไว้ว่า
อันพูดนั้นไม่ยาก     ปานใด  เพื่อนเอย
ใครที่มีลิ้นอาจ               พูดได้
สำคัญแต่ในคำ      ที่พูด    นั่นเอง
อาจจะทำให้ชอบ             และชัง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘