วิชาการพูด 42

ทางลัดสู่ความเป็นนักพูดที่ดี

 “ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดซั่วตัวตายทำลายมิตรจะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา”
ครับขึ้นชื่อว่าการพูดนั้น สามารถทำให้คนรักคนชอบ ก็ได้ และตรงกันข้าม สามารถทำลายความสัมพันธ์ของมิตรสหายแตกแยกก็ได้ก็เพราะเขาเหล่านั้นเป็นเพียงผู้ที่พูดได้ซึ่งใคร ๆ ก็เป็นได้แม้แต่เด็กเพียงเกิดมาสัก ขวบ 2 ขวบก็ขึ้นชื่อว่าเด็กคนนั้นเป็นผู้ที่พูดได้แล้ว แต่การพูดเป็นสิมีน้อยคนนักที่จะเป็นได้ซึ่งการพูดเป็นนี้ ก็คือการพูดที่เราพูดออกจากปากไปแล้วทำให้คนฟังชื่นชอบ คนฟังเชื่อถือคล้อยตามนำไปปฏิบัติตามเป็นคนที่ทำเรื่องที่ยาก ๆ คลายความสงสัย กลับให้เป็นเรื่องง่าย
แต่ไม่ยากเกินไปเกินความสามารถของคนที่มีความพยายามอยากที่จะเป็นผู้ที่พูดเป็นและก็เป็นนักพูดที่ดี อาจารย์ ทินวัฒน์มฤคพิทักษ์ก็ได้นำเสนอทางรวบรัดสู่ความเป็นนักพูดที่ดี ซึ่งมี 10 ประการดังนี้
      1. จงพูดเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด
2. จงเตรียมตัวมาให้พร้อม
3. จงสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
4. จงแต่งกายให้สะอาดเหมาะสมและเรียบร้อย
5. จงปรากฏกายอย่างกระตือรือร้น
6. จงใช้กิริยาท่าทางประกอบการพูด
7. จงสบสายตากับผู้ฟัง
8. จงใช้น้ำเลี้ยงให้เป็นธรรมชาติ
9. จงใช้ภาษาของผู้ฟัง
10. จงยกตัวอย่าง หรือแทรกอารมณ์ขัน
เพื่อน ๆคงที่จะหนักใจนะครับว่า ทำไมมันมากเหลือเกิน จะทำได้หรือเปล่ามีตั้ง 10 ข้อก่อนแต่ให้ง่ายต่อการนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ ผมก็ขอแบ่งเป็นระยะ ๆ ดังนี้
ระยะที่ 1ระยะของการเตรียมซ้อมรบ
เราก็มองดูสิว่าเราต้องเตรียมอะไรบ้างก่อนที่จะออกไปพูดและให้การพูดของเรานั้นประสบความสำเร็จซึ่งเราสามารถแบ่งได้เป็น
1. การเตรียมเรื่องที่เราจะพูด ต้องเป็นเรื่องที่เรารู้ดีที่สุดเป็นเรื่องที่เราถนัด เราจะพูดได้ดีกว่าเรื่องที่เราไม่ถนัด และเราจะพูดได้ดีกว่าพรั่งพรูกว่าเช่นจะพูดเรื่องชีวิตในมหาวิทยาลัยผู้ที่จะสามารถพูดได้ดีและได้มากก็จะเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นอาจารย์นักศึกษา หรือบัณฑิตที่จบออกไปแล้วแต่ถ้าให้เด็กมัธยมมาพูด ก็คงจะไม่รู้เรื่องได้จากสักเท่าใดนัก
2. การเตรียมใจก็คือการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองเราก็ต้องบอกกับตัวเองเสมอว่า “เราเป็นผู้ชนะ”เรื่องที่เราจะพูดนี้เป็นเรื่องที่ฉันรู้ดีที่สุดคงไม่มีใครจะเทียบความสามารถของเราได้ต้องตั้งเป้าหมายกับต่างเอาเสมอก่อนที่เราจะพูดและเราก็ต้องพยายามปลุกเอาความกระตือรือร้นในตัวเราออกมาเพื่อมากำจัดความกว้างความประหม่าที่จะเกิดขึ้นและก็ก่อนที่เราจะขึ้นพูดนั้นจะสูดหายใจลึก ๆ สัก 2-3 ครั้ง แล้วรวบรวมสติและกำลังใจออกมา
3. การเตรียมตัวและเตรียมกายโดยจะต้องมีการแต่งตัวเราให้เหมาะสม สะอาด และเรียบร้อยก่อนที่เราจะขึ้นพูดนักพูดที่ดีนั้นก็ควรที่จะแต่งกายกลมกลืนกับผู้ฟังทำให้ผู้ฟังมีความเข้าใจว่าเราเป็นพวกเดียวกันกับผู้ฟังไม่ควรหรูหรา หรือซ่อมซ่อจนเกินไปอาจจะทำให้เป็นที่รังเกียจ และเป็นการทำตัวออกห่างจากผู้ฟังก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ฟังเกิดอคติก่อนที่จะฟังเราพูด
4. การเตรียมตัวก็คือการฝึกซ้อมบทพูดให้คล่องฝึกหัดฝึกหัดและก็ฝึกหัดจนแน่ใจได้ว่า ความร้อยของเราเต็มร้อยแล้ว
ระยะที่ 2เป็นระยะแห่งการรบ
เป็นระยะที่ขุนศึกษาต้องออกสนามศึกแล้วแน่นอนมันเป็นช่วงเวลาที่สั้นกว่าเวลาแห่งการซ้อมแน่เปรียบเหมือนนักวิ่งโอลิมปิกเขาต้องซ้อมวิ่งแล้วซ้อมเล่าเพื่อจะให้ถึงวันแห่งการชิงชัยในวันเดียวซึ่งระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นเองการพูดก็เช่นเดียวกันหลังจากที่เราได้เตรียมเรื่องเตรียมตัวเตรียมใจและเตรียมกายมาอย่างเดียวก็ถึงคราวที่จะนำสิ่งที่เราฝึกปรือมาอย่างดีมาเสนอต่อผู้ฟังของเราซึ่งโดยระยะนี้จะเป็นเทคนิคเป็นส่วนใหญ่ที่จะช่วยให้การพูดมีสีสรรค์เป็นธรรมชาติสะกดผู้ฟังจะขอขยายความดังนี้
1. การปรากฏกายครั้งแรกเหมือนกับการออกศึกต้องมีเสียงโห่ร้องนำหน้าเพื่อเรียกขวัญและกำลังใจของนักรบการพูดก็เช่นเดียวกันการปรากฏกายต้องปรากฏอย่างกระตือรือร้นไม่ได้หมายความว่าต้องวิ่งออกไปพูดอย่างนั้นมันตื่นเต้นจนเกินไปเพียงขอให้เรามีความสดชื่นแจ่มใส ใบหน้ายิ้มแย้มจะเห็นตัวอย่างที่ชัดเจน เช่น พี่โน๊ตอุดมแต้พานิชจะปรากฏกายโดยหน้าตาที่ยิ้มแย้มและทักทายผู้ฟังทำความสนิทสนมกับผู้ฟังโดยการให้ผู้ฟังมีส่วนในการร้องเพลง“หากว่าเรากำลังสบายจงปรบมือพลัน”ในข้อนี้จะสร้างความเป็นกันเองระหว่างผู้พูดและผู้ฟังทำให้ความกลัวความเกร็งความประหม่าของเราลดลงไปด้วย
2. จงใช้กิริยาท่าทางประกอบการพูดได้ด้วยไม่ใช่จะยืนท่อเหมือนต้นไม้ไปได้ต้องมีการออกไม้ออกมือประกอบด้วยเช่นการอธิบายขนาดของสิ่งที่เราพูดถึงว่าเล็กใหญ่ขนาดไหนจะช่วยให้ผู้ฟังนึกเห็นภาพได้ง่ายและการใช้มือไม้ประกอบนั้นจะต้องให้พอดีและต้องตรงกับเรื่องที่พูดถ้าหากเกินไปจะทำให้การทำไม้ทำมือของเรานั้นเด่นเกินไป
3. การใช้สายตาผู้พูดจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสบตาผู้ฟังขณะพูดก็เพราะว่าสายตาเป็นเครื่องมือสื่อสารความคิดที่สำคัญที่สุดของมนุษย์เมื่อโตก็ตามที่ผู้พูดหลบสายตาไปจากผู้ฟังก็เท่ากับว่าเราได้โยนเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญที่สุดทิ้งไปเสียแล้วซึ่งวิธีการนั้นทำง่าย ๆ ก็คือว่าตอนแรกเราก็มองผู้ฟังโดยรวมก่อนโดยตำแหน่งที่ดีที่สุดก็จะเป็นจุดกึ่งกลางของแถวหลังสุดจะเสมือนเป็นจุดที่เรามองผู้ฟังทั้งห้องหวังจากนั้นแล้วเราก็มองเป็นจุด ๆ เป็นกลุ่ม ๆ เหมือนกับว่าเรากำลังพูดกับคนฟังคนนั้นเป็นส่วนตัวและการสบสายตากับผู้ฟังนี้เองจะเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังอีกด้วย
4. การใช้น้ำเสียงซึ่งมีหลัการของการใช้เสียงว่า“น้ำเสียงที่ดีที่สุดในการพูดต่อที่ชุมนุมชนก็คือท่วงทำนองสนทนาตามธรรมชาติผิดกันแต่เพียงว่าจะเปล่งเสียงของท่านให้ดังกว่าเดิมเท่านั้น”อย่าไปพยายามไปเรียนเสียงใครเลยเพราะไม่มีเสียงไหนเท่ากับเสียงของเราเองหรอกครับ เพราะว่าธรรมชาติของเสียงเรานั้นปรับปรุงไม่ได้แต่บุคลิกของน้ำเสียงเราสามารถปรับปรุงได้โดย
1.พูดให้เสียงดังฟังชัดคือดังพอที่ทำให้คนทั่วห้องนี้ได้ยินเสียงของเราอย่างทั่วถึงก็เพียงพอแล้ว
2.พูดให้มีจังหวะไม่ช้หรือเร็วเกินไปถ้าพูดช้าไป ก็จะทำให้ผู้ฟังเบื่อไวบางทีก็อาจจะเกิดอาการง่วงเหงาหาวนอนและถ้าเราพูดเร็วเกินไปทำให้ผู้ฟังนั้น ฟังไม่ทันและเสี่ยงที่จะผิดพลาดได้ง่ายควรที่จะพูดให้ชัดถ้อยชัดคำเว้นวรรคตอนให้ถูก
3.อย่าพูดเอ้อ - อ้าจะทำให้ผู้ฟังเกิดความรำคาญขึ้นได้ไม่พูดรักสักทีมัวแต่ เอ้อ - อ้า
4. อย่าพูดเหมือนอ่านหนังสือ หรือท่องจำเป็นการพูดที่ไม่มีชีวิตชีวา น่าเบื่อได้ง่าย
5. การใช้ภาษาซึ่งผู้พูดต้องดูผู้ฟังเป็นเกณฑ์ มีการศึกษาดีมากน้อยแค่ไหน เช่น คำพูดกับชาวบ้านศัพท์หรือคำที่พูดไม่ควรที่จะเป็นศัพท์วิชาการ หรือ technical termมากนักเดี๋ยวจะสื่อสารกันไม่รู้เรื่องแต่ถ้าพูดนักวิชาการก็ต้องศึกษาศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะทางของด้านนั้น ๆ ด้วยและยังรวมไปกับการรู้จักใช้ถ้อยคำของกลุ่มผู้ฟังด้วยเช่นเราได้พูดกับนักธุรกิจนักลงทุนก็จะพูดถึงเรื่องการลงทุนทิศทางของธุรกิจในปัจจุบันพูดกับนักเรียนนักศึกษาก็ควรที่จะพูดเรื่องการใช้ชีวิตในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จในชีวิตการเสียสละเพื่อสังคมและข้อนี้ยังรวมไปถึงการใช้ถ้อยคำให้ถูกอักขระควบกล้ำ, ช.ฉ. ส. ซต้องออกเสียงให้ชัดด้วย
6. การยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจง่าย และมองเห็นภาพได้ชัดหรือก็อาจหาเรื่องตลกเรื่องขำขันสร้างอารมณ์ขันให้เกิดขึ้นซึ่งอารมณ์ขันนี้คล้ายจะเป็นผงชูรสของการพูด เป็นเครื่องปรุงรสให้อาหารของเราอร่อยซึ่งทำให้ผู้ฟังไม่น่าเบื่อแต่ก็มีมากเกินไปก็จะเหมือนตลกคาเฟ่ไปทำให้ขาดเนื้อหาไปซึ่งการทำให้เกิดอารมณ์ขันนั้นไม่ยากเกินความสามารถของทุกคนหรอกครับคือต้องเป็นคนที่พยายามเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีเป็นคนที่มองในมุมกลับมุมที่ใครไม่มองกันอ่านหนังสือหรือศึกษาวิธีการพูดของนักพูดที่มีอารมณ์ขันเช่นพี่โน๊ตอุดมแต้พานิชเป็นต้นแล้วก็หักสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กับคนอื่นพยายามหาเรื่องแปลก ๆ ใหม่ ๆ มาเล่าสู่กันฟังและก็พยายามสร้างจิตใจให้เป็นกันเองกับผู้ฟังและคนทุกคนซึ่งเมื่อถ้าเรามีความเป็นกันเองแล้วเราก็จะปล่อยมุขขำขันออกมาได้ทุกเมื่อที่ต้องการให้ออก และก็คงจะได้รับเสียงตอบสนองมาเป็นเสียงหัวเราะของผู้ฟังตอบกลับมา
สรุปแล้วการเป็นนักพูดที่ดีนั้นไม่อยากทันความสามารถของพวกเราไปได้หรอกครับซึ่งขอสรุปให้จำกันง่ายอีกทีดังนี้
1. ระยะในการเตรียมรบเตรียมเรื่องเตรียมตัวเตรียมใจและเตรียมกาย
2. การรบจริงต้องขึ้นต้นดีท่าทางดีน้ำเสียงดีสายตาดีภาษาดีและลูกเล่นดี
จงเชื่อในความสามารถของตนเองเถอะครับว่าเราทำได้ และทำได้ดีด้วยครับ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘