35ทินวัฒน์

นักพูดที่ข้าพเจ้าประทับใจ

                การพูดเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะคนเราต้องเข้าสังคม  ติดต่อ  ประสานงาน  ประชาสัมพันธ์  ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการใด  โรงพยาบาล  หน่วยงานต่าง ๆ ของเอกชน  รวมทั้งสังคมในหมู่คณะ  หมู่บ้าน  และครอบครัว  ฉะนั้นการพูดจาก็ต้องมีการเรียนรู้  ฝึกฝนให้เกิดทักษะและความชำนาญ   ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียงหรือแม้แต่กริยาท่าทาง  สังเกตได้ง่าย ๆ คือถ้าเราพูดจาได้ไพเราะ น้ำเสียงชวนฟังใคร ๆ ก็อยากจะเข้าใกล้  แต่ถ้าบุคคลใดที่พูดจาไม่ไพเราะหู  ใช้วาจาไม่สุภาพ  กริยาไม่ดี เราก็ไม่อยากจะเข้าใกล้ ไม่อยากจะคบหาสมาคมด้วย   ฉะนั้นปัจจุบันจึงมีการเปิดสอนหลักสูตรการพูดในโรงเรียนสายอาชีพหรืออาชีวะและในโรงเรียนฝึกพูดของเอกชนโดยทั่วไป จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้เริ่มมีคนเห็นความสำคัญต่อการพูดกันมากขึ้น  ถึงแม้การพูดนั้นจะเป็นสิ่งที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันก็ตาม หลาย ๆ คนอาจคิดว่ามันเป็นสิ่งไม่ยากนัก  แต่การพูดที่ดีนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องฝึกฝนอยู่เสมอเพราะหากเราพูดไม่ดีแล้ว นอกจากคนจะไม่ชอบแล้ว  บางครั้งอาจเกิดภัยมาถึงตัวก็ได้  ฉะนั้นเราจึงควรจะขวนขวายหาความรู้ใส่ตัวไว้ให้มาก ๆ เมื่อเวลาไปพูดกับใคร เราก็จะมีความเชื่อมั่นในตนเองและรู้จริงในสิ่งที่เราพูดด้วย
                ข้าพเจ้าได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งได้กล่าวถึงหลักการพูดไว้เป็นอย่างดี  หนังสือเล่มนี้มีชื่อเรื่องว่า  ลูกเล่นลูกฮา  มุมที่คนไม่มอง  ซึ่ง คุณทินวัฒน์   มฤคพิทักษ์ ซึ่งสาเหตุที่ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจในตัวของคุณทินวัฒน์นั้นเนื่องจากเขาเป็นคนที่มีความสามารถหลายด้านมากไม่ว่าจะเป็นนักพูด  นักบรรยาย  นักฝึกอบรมที่มีลูกศิษย์  ลูกหาทั่วประเทศหลายหมื่นคน  เขาบุกเบิกการพูดในที่ชุมชน  จนกลายเป็นต้นตำหรับ  “ศิลปะการพูดในที่สาธารณะ” ของเมืองไทย  และยังเป็นนักปาฐกถาที่มีชื่อเสียงโดดเด่นมากที่สุดคนหนึ่งแห่งยุคมีคนเคยฟังปาฐกถาของเขาทั้งจากตัวจริง  จากเทป และจากวีดีโอเทป  หลายล้านคนทั่วประเทศ และที่สำคัญเขายังสามารถยืนพูดอยู่คนเดียว 3 ชั่วโมงเต็ม ซึ่งมีคนซื้อตั๋วไปนั่งฟังเขาครั้งละ 2000 คนในรายการที่เรียกว่า “ ไลฟ์ทอล์คโชว์”  ที่เขาเริ่มจัดขึ้นเองเป็นคนแรก   นอกจากนี้คุณทินวัฒน์ยังมาเป็นนักการเมืองสมัยแรก (2531)จนกลายเป็น “ดาวสภา”  ที่แจ้งเกิดในการอภิปรายกรณี  “ ถนนควายเดิน “  และครั้งล่าสุดนี้เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร  เขต 3  สมัยที่ 3 ด้วยคะแนนอันดับหนึ่ง  สังกัดพรรคพลังธรรมอีกด้วย     เนื่องจากความสามารถของคุณทินวัฒน์ที่มีมากมายหลายด้านนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่ได้เริ่มต้นด้วยการพูดที่ดี ไม่ว่าจะใช้คำพูดโน้มน้าวใจผู้ฟังในการหาเสียง หรือแม้แต่การพูดในที่สาธารณะในสถานที่ต่าง ๆ   ข้าพเจ้าจึงขอหยิบยกเอาประเด็นของการพูดที่คุณทินวัฒน์สามารถนำมาใช้ในการเป็นนักพูด  นักเขียน หรือแม้แต่นักการเมืองที่ดีได้มากล่าวถึงดังต่อไปนี้
                คุณทิวัฒน์ได้กล่าวไว้ว่าก่อนที่เขาจะสามารถมาเป็นนักพูดที่ดีได้นั้นต้องเริ่มจากการฝึกฝนและการที่เขาจะสามารถเป็นนักพูดที่ดี  ผู้ฟังไม่รูสึกเบื่อ  และประสบผลสำเร็จอยู่ได้เสมอนั้นต้องอาศัยหลักการที่ใช้ประกอบในการพูดอยู่เสมอซึ่งเขามีอยู่ 2 หลักการใหญ่ ๆ คือ  ประการแรกการพูดของเขาทุกครั้งจะต้องเป็นการพูดที่เป็นสาระและประโยชน์แก่ผู้ฟังในทุกแง่ทุกมุม
แต่นั่นก็ไม่ได้ให้พูดถึงเนื้อหาตลอดเวลา เขาใช้อารมณ์ขันซึ่งเป็นความสามารถที่เขามีอยู่มาใช้ในการพูดด้วยเพื่อไม่ให้คนฟังเกิดความรู้สึกเบื่อ หลักการเบื้องต้นนี้ส่งผลให้นักบรรยายธรรมดาคนหนึ่งนำมาใช้ในการพูดปาฐกถาของตนเอง  จนเป็นที่ประทับใจคนนับหมื่นนับแสนคน  เขาก้าวมายืนอยู่หัวแถวของนักการพูดเมืองไทย มิใช่เพราะเขาพูดเก่ง พูดคล่อง แต่เพราะเขาพูดดี  พูดน่าฟัง  พูดได้สาระประโยชน์ฟังเมื่อไรก็ยังใช้ได้อยู่  ไม่ได้ล้าสมัยไปตามกาลเวลา   นอกเหนือไปกว่านั้น  ความสามารถในการถ่ายทอดของคุณทินวัฒน์เป็นความสามารถเฉพาะตัว  มีความเฉียบขาดแหลมคม  และเพราะแฝงด้วยอารมณ์ขัน มีลูกเล่น ลูกฮา  ที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร  ซึ่งเป็นอารมณ์ขันที่ผสมผสานกับวิชาการ  มิใช่เรื่องโปกฮาที่ใคร ๆ ทำได้ทั่วไป   ข้าพเจ้าจะขอยกตัวอย่างการพูดของคุณทินวัฒน์ที่ใช้หลักการนี้ในการพูดต่อที่สาธารณะชนและประสบผลสำเร็จมาแล้วสักหนึ่งเรื่องเพื่อจะได้เห็นภาพพจน์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น   ในตอนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้คุณทินวัฒน์ได้พูดถึง “ ถนนสู่ความสำเร็จ “  คุณทินวัฒน์กล่าวว่า  ความสำเร็จของคนเราเป็นเรื่องของการ          ” เสาะหา ไม่ใช่เกิดมาเป็น “ 
เป็นเรื่องของ  การฟันฝ่า  ไม่ใช่เรื่อง  ฟลุค  ฟลุค
                                    เป็นเรื่องของ  การต่อสู้  ไม่ใช่  นั่งดูดาวอยู่เฉย ๆ
                เป็นเรื่องของ  ความเชี่ยวชาญ  ไม่ใช่  อาศัยโชคช่วย
                                    เป็นเรื่องของ  การฝึกฝน  ไม่ใช่  บุญหล่นทับ
                                    เป็นเรื่องของ  ความสามารถ  ไม่ใช่  วาสนา
                                    เป็นเรื่องของ  พรแสวง  ไม่ใช่  พรสวรรค์

ที่แท้จริงความสำเร็จของเราไม่ได้มาจากไหนเลย  มาจากตัวเราเองทั้งนั้นต้องไปเสาะหามา  จะอยู่ ๆ แล้วมีเองไม่ได้  ต้องต่อสู้  ต้องฟันฝ่า  จะมาเผื่อโชค  เผื่อฟลุค  เผื่อราชรถมาเกยไม่ได้  ความสำเร็จเป็นเรื่องของฝีมือ และความสามารถ ไม่ใช่วาสนา ซึ่งสิ่งที่คุณทินวัฒน์กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังอย่างมาก
               นอกจากหลักการพูดประการแรกที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีหลักการพูดอีกประการหนึ่งที่คุณทินวัฒน์มักเลือกมาใช้ในการพูดเสมอเพื่อให้ผู้ฟังมีความเชื่อถือมากขึ้นคือ   คุณทินวัฒน์ยังสามารถยกตัวอย่างสำนวน  ภาษา  คำคม และคติสอนใจได้ดีอีกด้วยเพื่อเป็นการให้ผู้ฟังจะได้มีส่วนร่วมในการคิดตาม มองเห็นสิ่งที่เขาพูดได้ชัดเจนขึ้น และไม่รู้สึกเบื่อเมื่อได้ฟังเป็นระยะเวลานาน ๆ  ซึ่งหลักการนี้สามารถใช้ได้และประสบผลสำเร็จในการพูดแทบจะทุกครั้ง และสำนวนที่เขายกมาแต่ละครั้งมักเป็นสำนวนที่ฟังไม่ยาก และง่ายต่อการจดจำ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
“มีเพื่อนห้าร้อยคนก็ยังน้อยไป  มีศัตรูคนเดียว ก็รับมือไม่ไหว “   คือ มีศัตรูแค่คนเดียวก็ถือว่ามากไปแล้ว แต่ถึงจะมีเพื่อนถึงห้าร้อยคนก็ยังถือว่าน้อยไปอยู่  ฉะนั้นคนเราจึงจำเป็นในการผูกมิตรกับคนให้มาก ๆ ไว้ เพื่อจะได้ไม่มีศัตรูและยังมีเพื่อนเพิ่มขึ้นอีกด้วย      กับอีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ
“ คนไม่มีขน  คนไม่มีเพื่อน ขึ้นสู่เบื้องสูงไม่ได้ “ ซึ่งหมายถึงคนที่จะเป็นผู้นำ  เป็นนักบริหาร  เป็นผู้นำชุมชน  ต้องศึกษาเรื่องคนให้มากเพื่อจะได้เป็นแนวทางในการบริหารงาน เพราะการที่จะบริหารงานให้ได้ดีนั้น จำเป็นจะต้องบริหารคนด้วย เป็นต้น   หลักการพูดของคุณทินวัฒน์ ยังให้ข้อคิดเตือนใจได้ดีอีกเช่นกัน  เช่นได้พูดถึงบางคนรับราชการจนเกษียณอายุ ได้เงินบำเหน็จมา 2-3 แสนบาท โดนลูกยุสมัคร ส.ส ปรากฏว่าสอบตก หมดไปล้านห้า ขายบ้านใช้หนี้แล้วยังค้างอีกล้านสอง ซึ่งคนอายุ 60 กว่า เป็นหนี้เขาล้านสองนี่ ลูกหลานก็จะหนีหมด ไม่มีใครอยากจะนับญาติด้วยหรอก   นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่คุณทินวัฒน์ นำมาพูดเตือนผู้ที่กำลังจะเกษียณ  หรือเกษียณไปแล้วให้ใช้จ่ายอย่างพอเพียง  ไม่ควรฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ  ทะเยอทะยานควรจะอยู่แบบสงบมากกว่า และไม่ควรนำความเดือดร้อนมาสู่ลูกหลานอีก
               นอกจากคุณทินวัฒน์จะเป็นนักพูดแล้ว  คุณทินวัฒน์ก็ยังกลายเป็นนักเขียน  เป็นนักการเมืองเต็มตัวไปแล้ว จากการที่ได้เป็นส.ส ถึง 2 สมัย จนทำให้เวลาที่จะมาคิดมาเขียนอะไรให้เป็นเรื่องสนุกให้ฟังนั้นมีน้อยลง  แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจที่ผู้ฟังหรือผู้อ่านก็ยังรู้สึกประทับใจในการพูดและการเขียนของเขาอยู่เรื่อยมา    คุณทินวัฒน์ได้ให้ข้อคิดว่า การพูดไม่เหมือนกับการเขียน  การพูดซึ่งเราเห็นกันอยู่ต่อหน้าว่าใครบ้างนั่งฟังเราพูด พูดไม่ถูกใจเราก็ค่อย ๆ ดัดแปลง โดยอ่านปฏิกิริยาท่าที  อากัปกิริยาของผู้ฟัง พักเดียวเราก็เข้ากับเขาได้  ถ้าเราพูดให้ฟังคราวละ 400-500 คนหรือ1000-2000คน ในที่ที่จำกัดนั้น  ถ้าเราสามารถควบคุมบรรยากาศได้  กำหัวใจของผู้ฟังได้ตั้งแต่ต้น หากมีความผิดก็ยังถือเป็นเรื่องเล็กน้อยให้อภัยได้เพราะเราพูดในกลุ่มเล็ก ๆ ไม่ได้พูดกับคนทั้งประเทศ   คุณทินวัฒน์ยังได้สารภาพต่อไปอีกว่าการพูดนั้นยากกว่าการเขียน  เพราะถ้าเขียนผิดแล้วยังสามารถลบแล้วแก้ไขใหม่ได้  แต่ถ้าพูดผิดแล้วแก้ไขอะไรไม่ได้  นอกจากนั้นการเขียนยังสามารถหยุดได้เป็นระยะ ๆ ไม่ชอบก็พักไว้ก่อน  แต่การพูดนั้นต้องพูดต่อเนื่องกันไปจนจบ เพราะฉะนั้นการพูดจึงยากมากในทัศนะของเขา
               อย่างไรก็ดีถึงแม้คุณทินวัฒน์จะกล่าวว่าการพูดเป็นสิ่งที่ยากนั้น  แต่เขาก็ยังสามารถพูดต่อที่สาธารณะชนได้อย่างประสบผลสำเร็จเสมอเนื่องจากเขาได้นำหลักการที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้มาประยุกต์ใช้ในการพูดในโอกาสต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี  และยังรู้จักการพูดที่สามารถทำให็ผู้ฟังนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตที่ดีได้อีกด้วย 


                 ดิฉันได้มีโอกาศอ่านหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งได้กล่าวถึงหลักการพูดไว้เป็นอย่างดี ซึ่งหนังสือเล่มนั้นมีชื่อว่า “ลูกเล่นลูกฮา มุมที่คนไม่มอง “ ซึ่งคุณทินวัฒน์  มฤคพิทักษ์ เป็นผู้เขียนไว้  สาเหตุที่ดิฉันประทับใจในตัวคุณทินวัฒน์ก็คือ เขาเป็นคนที่มีความสามารถหลายด้านมาก เพราะนอกจากเขาจะเป็นนักพูด นักบรรยาย นักบุกเบิกการพูดในที่ชุมชน นักฝึกอบรมที่มีลูกศิทษย์หลายหมื่นคนทั่วประเทศแล้วเขาก็ยังได้เป็นนักปาฐกถาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งด้วย  นอกจากนี้เพราะความสามารถในกรพูดของเขายังผลักดันให้เขาเป็นนักการเมืองจนกลายเป็น “ดาวสภา” ที่แจ้งเกิดในการอภิปรายกรณี “ ถนนควายเดิน “ และครั้งล่าสุดยังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรมอีกด้วย   และเนื่องจากความสามารถของคุณทินวัฒน์ที่มีมากมายหลายด้านนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่ได้เริ่มต้นจากการพูดที่ดี  ในหนังสือเล่มนี้คุณทินวัฒน์ก็ได้กล่าวถึงหลักการพูดไว้ว่า การเป็นนักพูดที่ดีได้นั้นจะต้องเริ่มจากการฝึกฝนและการที่เขาจะสามารถเป็นนักพูดที่ดี ผู้ฟังไม่รู้สึกเบื่อ และประสบผลสำเร็จได้อยู่เสมอนั้น เขาต้องอาศัยหลักการที่ใช้ประกอบในการพูดอยู่เสมอ  ซึ่งมีอยู่  2  หลักการใหญ่ ๆ  คือ  ประการแรก  การพูดของเขาทุกครั้งจะต้องเป็นการพูดที่เป็นสาระและประโยชน์แก่ผู้ฟังในทุกแง่ทุกมุม   เพื่อผู้พูดจะได้รู้สึกว่าการมาฟังเขาพุดนั้นไม่ได้เสียเปล่า แต่กลับได้แง่คิดและได้นำมุมมองใหม่ ๆ มาใช้ และปรับปรุงในชีวิตประจำวันได้ด้วย ดิฉันจะขอยกตัวอย่างมาหนึ่งเรื่องเพื่อให้เพื่อน ๆ ได้เห็นภาพพจน์ชัดเจนขึ้นนะคะ ในตอนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้คุณทินวัฒน์ได้พูดถึง  “ ถนนสู่ความสำเร็จ “  และเขาก็ได้กล่าวถึงความสำเร็จของเรานั้น
                                        เป็นเรื่องของการ เสาะหา  ไม่ใช่เกิดมาเป็น
                                        เป็นเรื่องของการฟันฝ่า  ไม่ใช่ ฟลุค ฟลุค
                                        เป็นเรื่องของการต่อสู้  ไม่ใช่นั่งดูดาวอยู่เฉย ๆ
                                        เป็นเรื่องของความเชี่ยวชาญ  ไม่ใช่อาศัยโชคช่วย
                                        เป็นเรื่องของการฝึกฝน  ไม่ใช่บุญหล่นทับ
                                        เป็นเรื่องของความสามารถ  ไม่ใช่วาสนา
                                        เป็นเรื่องของพรแสวง  ไม่ใช่พรสวรรค์
ซึ่งสิ่งที่เขากล่าวมานี้ล้วนแต่เป็นแง่คิดให้ผู้ฟังได้ทั้งสิ้น แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องพูดถึงเนื้อหาตลอดเวลา  คุณทินวัฒน์ยังใช้อารมณ์ขันซึ่งเป็นความสามารถที่เขามีอยู่มาใช้ด้วยเพื่อไม่ให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อ  ซึ่งถือว่าเป็นความสามารถเฉพาะตัวจริง ๆ นะคะ เพราะเขาเป็นนักพุดที่มีอารมณ์ขันที่ผสมกับวิชาการ มิใช่เรื่องโปกฮาที่ใคร ๆ ทำได้ทั่วไป นอกจากการพูดประการแรกแล้วยังมีหลักการพูดอีกอย่างหนึ่งที่คุณทินวัฒน์เลือกมาใช้ในการพูดเสมอเพื่อให้ผู้ฟังมีความเชื่อถือมากขึ้น  คือ  คุณทินวัฒน์ยังเห็นความสำคัญของการใช้คำถามและสามารถยกตัวอย่าง สำนวน ภาษา และคติสอนใจได้ดี  อีกด้วย เพื่อให้ผู้ฟังจะได้มีส่วนร่วมในการคิดถาม  มองเห็นสื่งที่เขาพูดได้ชัดเจนขึ้นและไม่รูสึกเบื่อเมื่อได้ฟังเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งหลักการนี้สามารถใช้ได้และประสบผลสำเร็จในการพูดแทบจะทุกครั้งเพราะสำนวนที่เขายกมาแต่ละครั้งมักเป็นสำนวนที่ฟังไม่ยากและง่ายต่อการจดจำ  เช่น  “ คนไม่มีขน  คนไม่มีเพื่อน  ขึ้นสู่เบ้องสูงไม่ได้ “  นั่นก็หมายถึงคนที่จะเป็นผู้นำหรือนักบริหารงานได้ดีนั้น  จำเป็นต้องบริหารคนด้วย เป็นต้น  นอกจากนี้หลักการพูดของคุณทินวัฒน์ยังให้ข้อคิดเตือนใจได้ดีอีกด้วย  เช่น  ได้พูดถึงบางคนที่รับราชการจนเกษียณอายุ ได้นำเงินบำเหน็จมาลงสมัคร ส.ส. เพราะโดนคนยุ  ปรากฏว่าสอบตก และยังเป็นหนี้อีก จนทำให้ลูดหลานเดือดร้อน นี่ก็เป็นตัวอย่างที่คุณทินวัฒน์นำมาใช้สอนคนที่กำลังจะเกษียณอายุว่า ไม่ควรฟุ่มเฟือย  ทะเยอทะยาน  ควรอยู่แบบสงบมากกว่า
               จากการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า คุณ ทินวัฒน์ ได้ใช้หลักการพูดให้ประสบผลสำเร็จ  โดยใช้หลักการพูดที่ให้แง่คิดแก่ผู้ฟัง  เพื่อจะได้ให้ผู้ฟังไม่รู้สึกเบื่อ และยังได้นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนได้  ซึ่งดิฉันถือว่าเป็นหลักการที่ดีมากทีเดียวเลยนะคะ  เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ฟังได้รับความเพลิดเพลินแล้ว ยังได้รับประโยชน์อีกด้วย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘