วิชาการพูด 33

คิดอย่างไรให้เป็นสุข
ถ้าคิดอยากแต่จะได้ ไม่คิดอยากให้ ใจไม่มีความสุข
ถ้าคิดแต่ข้อเสีย ไม่คิดข้อดี ใจไม่มีความสุข
ถ้าคิดแก้ตัว ไม่คิดยอมรับผิด ใจไม่มีความสุข
ความสุขนั้นถ้าถูกล่ามไว้กับสิ่งโน้นสิ่งนี้ก็ยากที่จะคงอยู่ได้เมื่อเอาความสุขไป ล่ามโซ่จองจำไว้กับสิ่งใด ความสุขก็พร้อมที่จะเคลื่อนตามสิ่งนั้นไป ไม่คงอยู่ในใจของผู้นั้น ผู้ใดปล่อยให้ความทุกข์มาบงการชีวิต ผู้นั้นยากที่จะรู้จักความสุขที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ศฤงคารกี่ร้อยล้านก็ตาม ทั้งนี้เพราะว่าผู้ยอมให้ความทุกข์มาเป็นนายของชีวิตย่อมีใจที่ถูกจองจำไว้กับภาวะแห่งทุกข์ วิธีที่จะปลดพันธนาการให้ใจเป็นอิสระคือ หันไปใช้ความคิดเป็นตัวกำหนดความสุขเพื่อให้ความสุขอยู่ที่ความคิด และในวันนี้ผมมีวิธีที่จะคิด “คิดอย่างไรให้เป็นสุข” มาฝากทุกคนนะครับ
วิธีที่ ๑ คิดด้านประโยชน์ของความทุกข์ จงคิดถึงประสบการณ์ที่ผ่านไปแล้วว่าเป็นเรื่องที่ไม่เลวร้าย เช่น เมื่อคนรักตีจากไป คนส่วนมากมักคิดว่าตนถูกรังเกียจ ถูกทอดทิ้ง ทำให้เกิดความทุกข์ยิ่งนัก ความทุกข์จะบรรเทาลงถ้าคิดด้านประโยชน์ของความทุกข์นั้น เช่น ประการณ์นี้เกิดขึ้นทุกวันทุกหนทุกแห่งในโลก คนส่วนมากผ่านพ้นความทุกข์จากเรื่องนี้ไปด้วยดี สามารถปรับตัวต่อการสูญเสียได้ ปัจจุบันเขาเหล่านั้นมีความสุข ประสบการณ์นี้จะช่วยให้เราเรียนรู้การปรับตัวต่อการสูญเสียได้เช่นกัน
วิธีที่ ๒ คิดหาเหตุผลหลาย ๆ ทาง การคิดหลายทางเป็นการให้โอกาสแก่ตนเองและผู้อื่น ทำให้เป็นคนมีเหตุผล มีความยุติธรรม มองโลกกว้าง และตามความเป็นจริงนะครับ
วิธีที่ ๓ ไม่คิดแก้อดีต การคิดแก้อดีตทำให้เกิดความไม่พอใจในชีวิตปัจจุบัน ทำให้โกรธ เสียใจ ซ้ำซากไม่รู้จบ ถ้าคิดอย่างนี้ตลอดชีวิตก็ยากที่จะมีความสุขได้ เราควรมาพัฒนาความคิดเสียใหม่ เช่น ยอมรับว่าตัวเตี้ยจริง เป็นเรื่องที่แก้ไม่ได้ แต่ก็มีคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น มีความเป็นคนมีอารมณ์ดี เรียนดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีค่ายิ่งกว่าความเป็นคนตัวสูง
วิธีที่ ๔ ไม่คิดอย่างคนพายเรือในอ่าง คือไม่คิดอย่างวนไปวนมาหาข้อยุติไม่ได้ ทำให้แก้ปัญหาไม่ตก ไม่ต้องห้ามคิด ตรงกันข้ามให้คิดต่อไป แต่คิดอย่างใช้สติและปัญญาเพื่อหาทางออกให้ได้
เป็นอย่างไรบ้างครับ วิธีคิดอย่างไรให้เป็นสุขที่ผมได้นำมาฝากวันนี้ คงสามารถจะเปลี่ยนแปลงความคิดของพวกเราได้ไม่มากก็น้อยนะครับ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘