32พญ.ผาสุข

รศ.พญ.ผาสุก บุญซื่อ

 “ตราบใดที่มีลมหายใจ ชีวิตต้องมีหวัง” นี่คงเป็นประโยคที่ทุกคนฟังแล้วอาจจะดูธรรมดา แต่สำหรับบุคคลซึ่งชีวิตเต็มไปด้วยปัญหา อุปสรรค ความทุกข์ ความขื่นขมนานับประการและโดยเฉพาะคนที่ถูกสังคมตีตราว่าเป็นคนพิการด้วยแล้ว ประโยคนี้จะมีคุณค่าและเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้สู้ชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ดังบุคคลที่จะกล่าวถึงก็คือท่าน รศ.พญ.ผาสุก บุญซื่อ ซึ่งท่านได้ต่อสู้ฟันฝ่ากับอุปสรรคมากมายเพื่อที่จะได้เป็นแพทย์
รศ.พญ.ผาสุก บุญซื่อ เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2508 ที่จังหวัดน่าน เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง
ทั้งหมด 8 คน เมื่อท่านอายุได้ 3 เดือน ก็เริ่มมีอาการไข้สูง ตามมาด้วยขาขวาและแขนซ้าย เริ่มมีอาการลีบและอ่อนแรง และทราบในภายหลังว่าเป็นโปลิโอทำให้เวลาเดินผิดปกติจากคนอื่น แต่ยังโชคดีที่พัฒนาการทางสติปัญญาของท่านยังปกติอยู่ ด้วยความที่ท่านเป็นคนรักการเรียนมาก แม้จะทรมานในการเดินทางไปเรียนสักเท่าใดท่านก็ไม่หวั่น ขอแค่ให้ได้เรียน และผลการเรียนของท่านตั้งแต่เด็กก็ได้อันดับ 1 อยู่เสมอ ท่านบอกว่าสำหรับเรื่องการเรียนแล้วมันไม่ได้ยากนัก แต่เรื่องการดำเนินชีวิตในขณะที่อยู่ในโรงเรียนท่ามกลางเพื่อนฝูงมันสุดแสนจะทรมาน และลำบากมาก ท่านจะต้องทนคำพูดดูถูกเหยียดหยาม เสียดแทงและถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนฝูง แต่ท่านก็พบว่ามันค่อย ๆ เลือนหายไปเมื่อท่านได้เป็นหนึ่งในเรื่องการเรียน
ชีวิตของ รศ.พญ.ผาสุก บุญซื่อ ในวัยเด็กนั้นไม่ได้เรียนหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทีงานบ้านหาลำไพ่พิเศษโดยการสอนหนังสือ เพราะปัญหาเศรษฐกิจทางบ้าน แต่ก็ไม่ทำให้การเรียนของท่านตกต่ำไปเลย จนกระทั่งปีที่ท่านจะต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย ย่อมเป็นธรรมดาที่คนเรียนดีทุกคนใฝ่ฝันอยากเรียนแพทย์ แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อประกาศทางจังหวัดบอกว่าท่านไม่มีสิทธิ์สอบเรียนแพทย์เนื่องจากพิการ ท่านเสียใจมาก แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อและได้ตั้งปณิธานว่า”จะต้องสู้ให้ถึงที่สุด เพื่อประกาศให้ชาวโลกได้รู้ว่าคนพิการก็มีคุณค่า”
ท่านจึงตัดสินใจเดินทางมายังคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้เล่าถึงเหตุการณ์ดังกล่าวให้อาจารย์ฝ่ายวิชาการฟัง จนในที่สุดท่านก็ได้สอบแพทย์ แต่อุปสรรคก็ยังเกิดขึ้นอีกเพราะท่านต้องสอบสัมภาษณ์มากกว่าคนอื่น ๆ อีกหนึ่งวันเนื่องจากสภาพไม่ปกติของร่างกาย และแล้วท่านก็ได้เรียนแพทย์ตามที่ได้ตั้งใจไว้จากนั้นท่านก็ได้รับความกรุณาจาก นพ.สุธี สุทัศน์ ณ อยุธยา ได้ผ่าตัดแก้ไขความพิการให้จนอยู่ในสภาพใกล้เคียงคนปกติได้จนทุกวันนี้ ท่านยังได้บอกว่าการเรียนแพทย์โดยปกติแล้วเป็นเรื่องที่หนักมาก แต่ท่านผู้ที่ซึ่งเป็นคนพิการแล้วยิ่งหนักว่าหลายเท่า ทั้งความเครียด ความกดดันที่เกิดขึ้น อีกทั้งสายตาของคนป่วยที่เฝ้ามองท่านอยู่ว่า ท่านจะสามารถรักษาพวกเขาได้หรือไม่ ช่วงนั้นท่านได้ให้กำลังกับตัวเองว่า “การเป็นแพทย์ที่ดีนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปลักษณ์ภายนอก แต่อยู่ที่จิตใจที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมและเมตตาปราณีต่อคนไข้และความมุ่งมั่นที่จะเป็นแพทย์”
ในที่สุดท่านก็ทำสำเร็จโดยการเรียนจบแพทยศาสตร์บัณฑิตในปี 2531 จากนั้นได้ศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู จากนั้นได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ระดับ 6 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และได้ดำรงตำเหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ระดับ 7 ภาควิชากายภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลผู้พิการดีเด่น รางวัลขับร้องเพลงเพื่อชีวิตที่นครเซี่ยงไฮ้ และได้รับทุนคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศ
อังกฤษ
เพื่อน ๆ เห็นหรือยังคะว่า คุณค่าของคนไม่ได้อยู่ที่รูปร่างหน้าตาภายนอก แต่อยู่ที่การมีความสามารถและการมีคุณธรรม ซึ่งความสามารถนั้นย่อมมีมาได้จากพรสวรรค์และพรแสวงนั่นเอง อีกทั้งเรายังมีความมุ่งมั่น อดทน และพากเพียรพยายามอย่าท่าน รศ.พญ.ผาสุก บุญซื่อ เป็นตัวอย่างแล้วละก็ ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมสำหรับเพื่อนๆหรอกค่ะ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘