31นายแพทย์ ประเวศ

ชีวประวัติของนายแพทย์ประเวศ  วะสี

    เมื่อกล่าวถึงนายแพทย์อาวุโสในวงการแพทย์ของเมืองไทย ซึ่งมีนามว่า  ประเวศ วะสี เพื่อน ๆ หลายคนอาจจะบอกว่า  อ่อ ชื่อนี้คุ้น ๆ  บางคนก็อาจจะรู้จักชื่อเสียงเรียงนามของท่านบ้างแต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าท่านได้ทำหน้าที่ ทำประโยชน์ต่อสังคมอย่างมากมาย  ท่านไม่ได้เป็นเพียงแค่คุณหมอ ที่ทำหน้าที่รักษาคนป่วยเท่านั้น  แต่ท่านยังเป็นผู้นำความคิดในการสร้างความเข้มแข็ง ให้กับสังคม เป็นนักเขียนเผยแพร่ความรู้ดีด้านการแพทย์และสาธารณสุขเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำวิจัยเพื่อประโยชน์ของมวลชนมนุษย์  เป็นครูผู้ให็ความรู้แก่นักศึกษาแพทย์และนอกจากนี้ท่านก็ยังมีตำแหน่งต่างๆ พ่วงท้ายอีกเช่น  ผู้จัดการมูลนิธิเด็กกรรมการมูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล  และเป็นบรรณาธิการนิตยสารหมอชาวบ้าน  เป็นต้นมาและตำแหน่งบรรณาธิการนิตยาสารหมอชาวบ้านนี่ละคะทำให้ดิฉันได้มุมมองในการมองโลก มองสังคมและมองตนเอง  เพราะในการเขียนบทนำนิตยสารหมอชาวบ้าน นั้นท่านจะสอดแทรก เนื้อหาสาระแทรกจริยธรรม คำสอนของศาสนา ลงไปด้วย เสมอ ดิฉันขอยกตัวอย่าง  แนวคิดเกี่ยวกับสังคมท่านกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นโรคคอรัปชั่น มีโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เข้มแข็ง  เป็นสังคมแบบตัวใครตัวมัน เป็นแบบผู้มีอำนาจกับผู้ใต้บังคับบัญชาหรือแบบนายกับบ่าว คนมีเงินมีอำนาจเหนือคนจน ทำให้สังคมไม่มีความสัมพันธ์เหนียวแน่น จึงอ่อนแอ วิธีที่จะทำให้สังคมเข้มแข็งคือ ต้องมีการรวมกลุ่ม  มีความเป็นชุมชน  สังคมจึงจะเข้มแข็ง   แล้วอีกแนวความคิดหนึ่งที่น่าสนใจมากก็คือ การมองสิ่งต่าง ๆ  อย่างเป็นระบบและเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ  ท่านได้กล่าวว่า  คนเราควรมองตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบไม่ใช่ศูนย์กลาง  จะทำให้เกิดจิตสำนึก และเราต้องมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ในระบบ  อย่างถูกต้องนี้ละคือจริยธรรม ท่านได้แสดงความคิดเห็นว่าทุกวันนี้เราเรียนเป็นส่วนหนึ่ง ไม่ดึงกลับมาเชื่อมโยงกับองค์รวม  จึงมีความรู้เป็นเรื่องๆ  แต่ไม่เกิดปัญญาเป็นองค์รวม การศึกษาที่เข้าใจเฉพาะเทคนิค  แต่ไม่เข้าใจระบบ  ทำให้ผลงานติดขัดไปหมดเช่น  เข้าใจเฉพาะเทคนิค  แต่ไม่เข้าใจระบบ  ทำให้ผลงานติดขัดไปหมด   เช่น  เข้าใจเฉพาะเทคนิค  บางอย่างในทางการแพทย์  แต่ไม่เข้าใจระบบบริการสาธารณสุข  ทำให้ไม่สามารถปรับปรุงบริการสาธารณสุขได้จริง  หรืออย่างนักวิชาการคิดเทคโนโลยีทางการเกษตร  ที่ทดลองในห้องทดลองแล้วว่าดี  แต่เมื่อเอาไปใช้จริงในระบบของเกษตรกร  ปรากฎว่า เชื่อมโยงกับองค์ประกอบอื่นๆ  ของระบบไม่ได้  เช่น เอาไปใช้แล้วผลผลิตสูงขึ้นจริง แต่ทำให้ต้นทุนการผลิตของเขาสู้ขึ้น  จนขาดทุน  ทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
เมื่อทราบถึงแนวคิดที่น่าสนใจของท่านบ้างาแล้ว เพื่อนๆ  ก็อยากจะทราบว่า ท่านมีหลักในการดำเนินชีวิตอย่างไรบ้าง
    1.  มีความเพียรพยายาม  จากเดิมท่านเป็นเพียงลูกชาวไร่ชาวนาในจังหวัดกาญจนบุรี  แต่ด้วยความมุ่งมั่นพยายาม ทำให้ท่านสอบเข้ามาเรียนระดับมัธยมปลายที่  ร.ร.  เตรียมอุดมในกรุงเทพ แล้วก็สอบเข้าเตรียมแพทย์ จุฬาลงกรณ์ได้ ขณะที่ท่านเรียนที่จุฬาฯ  ท่านก็มักจะสอบได้คะแนนเป็นหนึ่งเสมอด้วยเหตุที่ท่านเป็นคนขยัน ชอบอ่านหนังสือศึกษาความรู้ด้วยตนเอง จนในที่สุดท่านก็ได้รับทุนส่วนพระองค์และทุนของมูลนิธิอานันทมหิดล.  ไปศึกษาต่อที่ประเทศอเมริกา  และประเทศอังกฤษ ท่านเป็นนักเรียนทุกคนที่สองของในหลวง  แต่ท่านเป็นคนแรกที่เรียนจบ และกลับมาทำงานรับใช้ชาติในหลวงจึงได้ตรัส  กับท่านว่า  เป็นน้องที่คลอดก่อนพี่
    2.  ใช้ชีวิตอย่างสมถะ  การใช้จ่ายเงินของท่านนับว่าประหยัดมากทีเดียว  และไม่นิยมความฟุ่มเฟือยอาจเพราะท่านเป็นคนจนเคยลำบากมาก่อน จึงรู้จักคุณค่าของเงิน  และพยายามใช้เงินให้คุ้มค่าสูงสุดเช่นในการเช่าบ้านพักท่านก็จะเลือกที่ถูกๆ  หรือย่างตอนที่ท่านเรียนจบแล้วกลับมาประเทศไทยก็ได้ไปซื้อเสื้อราคาถูก่ที่สุดที่บางลำภูมา  2  ตัว  เพื่อใส่ทำงาน เป็นแบบเดียวกับที่นักเรียนได้ไปโรงเรียนเมื่อท่านไปรายงานตัวเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ หัวหน้าแผนกนึกว่าท่านเป็นนักศึกษามาติดต่อเพราะท่าทางไม่โก้เก๋ เหมือนนักเรียนนอกคนอื่น  ที่เดินเบ่งเข้ามาติดต่อ  นอกจากนี้ท่านก็ยังยึดมั่นในอุดมการณ์การทำงานคือทุ่มเวลาการทำงานอย่างเต็มที่ในการรับราชการ  โดยไม่เจียดเวลาไปเปิดคลีนิกส่วนตัว  แม้จะได้รับค่าตอบแทนมากกว่าการรับราชการเพียงอย่างเดียว หรือแม้ว่าเพื่อนหมอด้วยกันชวนไปเปิดคลีนิคก็ตามที
    3.  กล้าเสนอความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและเพื่อความถูกต้องยุติธรรม โดยท่านมักจะเป็นผู้นำในด้านความคิดที่ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการแพทย์การสาธารณสุข  การศึกษา และสังคม  มีครั้งหนึ่งท่านได้ยื่นฟ้อง  แพทย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งต่อแพทยสภา  ที่ได้หลอกลวงคนไข้ซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยหลอกว่าใช้นำยาฟอกเลือด  20  ขวดก็หาย  ท่านสงสารคนไข้เพราะลำพังโรคที่ป่วนนั้นรักษาไม่หายก็ทุกข์ทรมานพออยู่แล้ว  ยังต้องมาถูกหลอกให้เสียเงินจำนวนมาก และเสียกำลังใจอีกด้วยในที่สุดนายแพทย์ผู้นั้นก็ถูกพักการใช้ใบอนุญาตประกอบอาชีพเวชกรรมนี้ 2 ปีซึ่งถือเป็นโทษที่ร้ายแรงมาก ท่านเห็นว่าการทำโทษแพทย์ทำผิดมารยาทวิชาชีพเวชกรรมนี้ไม่ใช่การทำลายแต่เป็นการผดุงเกียรติวิชาชีพแพทย์ไว้ต่างหาก
    4.  รู้จักมองตนเองและมองผู้อื่นอย่างเปิดใจ  ท่านมักจะพูดเสมอว่าท่านเองไม่ใช่คนฉลาดและยอมรับว่าตนเองโง่ในเรื่องใดบ้าง ทำให้ท่านเรียนรู้สิ่งต่างๆ  จากคนอื่นเสมอๆ ท่านคิดว่าความอหังการที่คิดว่าตนเอง ตนดีนั้นเป็นเสมือนกำแพงขวางกั้นความรู้  และความดีไม่ให้เข้ามาหาเราได้ และท่านยังรู้จักการมองคนที่แก่นแท้ ไม่ใช้มองเพียงจริตที่แสดงออกมาบางอาย่างบางเรื่องเช่น บางคนพูดเพราะ บางคนพูดไม่เพราะ  บางคนดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่บ้าง  จริตเหล่านี้ยังไม่เป็นเครื่องบอกแก่นแท้ของบุคคล บางคนพูดจากออกจะร้ายแต่แก่นแท้เป็นคนดี บางคนดูสุภาพอ่อนโยน  แต่แก่นแท้เป็นคนเลวมหันต์ก็เป็นได้  คนประเภทเหล่านี้ท่านบอกว่าพบได้มากท่านว่าการรู้าจักแก่นแท้ของคนนี้ต้องดูนาน ดูลึก  ดูโดยรอบ  และดูหลายอย่าง  ไม่ใช่ดูพฤติกรรมอย่างเดียวหรือครั้งเดียว  ท่านยังได้สอนว่าการมองสิ่งต่างๆ  ต้องมองด้วยใจที่เป็นกลาง ถ้ามีคติก็จะไม่เห็นความจริง   และต้องมีเมตตาจึงจะมีใจเป็นกลาง ถ้าขาดเมตตา ก็จะเข้าไปสู่ความโกรธความเกลียด ซึ่งเป็นอคติ  บดบังไม่ให้เห็นความจริง
    5.  ใฝ่ใจในการศึกษาหาความรู้อย่างลึกซึ้ง  ก่อนกลับจากอังกฤษท่านได้ยินนักเรียนไทยพูดว่า มีคนไทยจากอังกฤษ คือ สุลักษณ์ ศิวรักษ์มาออกหนังสือชื่อสังคมศาสตร์ปริทัศน์  ซึ่งเป็นหนังสือวิจารณ์สังคมเผ็ดมันมากเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยก็ตามหาหนังสือเล่นนี้และบอกรับสมาชิก ซึ่งหนังสือเล่มนี้ทำให้ท่านได้เป็นโลกทัศน์ใหม่ในเรื่องมนุษย์และสังคมอย่างกว้างขวาง  ทำให้ท่านนำปริทัศน์ทางสังคมเข้ามาร่วมกับการทำงานอีกมิติหนึ่ง และท่านยังได้มีโอกาสศึกษาธรรม  เนื่องจากท่านสังเกตเห็นว่าตนเองมีความทุกข์และความขัดแย้งซึ่งเกิดจากนันทคติและจากความตั้งใจจะทำความดีก็ตาม เช่น โกรธคนขี้เกียจและขี้โกง และเห็นว่าถ้าจิตเข้าไปสู่  ความขัดแย้งก็จะเสียเวลาไปเปล่าประโยชน์ จึงได้รับคำแนะนำจากกัลยาณมิตรแนะนำในหนังสือธรรมะให้  และยังชักชวนปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง  ท่านมีการศึกษาเหมาะสมเหมือนก้าวสู่โลกอีกโลกหนึ่ง  ทำให้รู้จักบุคคลและเรื่องราวมากมาย  เป็นวิชาที่ต่างจากวิชาที่เคยเรียนมาแต่ที่เป็นเรื่องภายนอกตัว  ส่วนธรรมะนั้นเป็นว่าด้วยธรรมชาติของจิตและชีวิตวิธีฝึกจิตทำให้จิตเป็นสุข คนเรานั้นถึงมีการงานเพรียบพร้อม อย่างไร บ่อยๆ  ครั้งที่หาความสุขไม่ได้ดูไม่มีทางออกใดเลย  นอกจากศึกษาธรรมะ
    นี่อาจเป็นแค่บางส่วนของหลักในการดำเนินชีวิตและแนวคิดในการทำงานของท่านนายแพทย์ประเวศ  วะสี  ที่ดิฉันนำมากล่าวได้ ด้วยความจำกัดทางเวลา  แต่ก็พอสรุปว่าท่านมีแนวคิดและหลักการที่น่าเลื่อมใสและพวกเราทุกคนรวมทำดิฉันก็น่าจะนำหลักการของท่านมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อสร้างสรรค์สังคมให้แก่ตนเอง  และเจือจานให้แก่เพื่อนมนุษย์อีกด้วย
    ดิฉันขอจบบทความต่อไปนี้ปรากฎในคู่มือหมอชาวบ้านของท่านนายแพทย์ประเวศ  วะสีเป็นบรรณาธิการ เพื่อให้พวกเราทุกคนไม่คิด และรู้จักรักษาสุขภาพร่างกายของตนเอง ตามความคิดของนายแพทย์ประเวศ      วะสี
นายแพทย์ประเวศ  วะสี
   
    เมื่อกล่าวถึงนายแพทย์อาวุโสในวงการแพทย์ของเมืองไทย นามว่า ประเวศ  วะสี  น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักท่าน  แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าท่านได้ทำประโยชน์ต่อสังคมอย่างมากมาย  เพราะท่านไม่ได้เป็นเพียงคุณหมอรักษาคนป่วยเท่านั้น แต่ท่านยังเป็นผู้นำความคิดในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม  เป็นนักเขียนหนังสือเผยแพร่ความรู้ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข  เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานวิจัยค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์  เป็นครูผู้ให้ความรู้แก่นักเรียนแพทย์และท่านยังมีตำแหน่งต่าง ๆ พวงท้ายอีกมากมาย  พอจะทราบผลงานของท่านแล้วลองมาฟังนะคะว่าท่านนายแพทย์ประเวศ วะสีท่านมีหลักในการดำเนินชีวิตอย่างไร
    1.  มีความเพียรพยายาม  ท่านเกิดจากครอบครัวและตระกูลชาวไร่ชาวนาในจังหวัดกาญจนบุรี  แต่ด้วยความมุ่งมั่นพยายาม ขยันหมั่นเพียงในการเล่าเรียน ทำให้ท่านสามารถผลักดันตนเองให้มีฐานะและคุณวุฒิที่สูงขึ้นเริ่มตั้งแต่สอบเข้ามาเรียนมัธยมปลายที่  ร.ร.  เตรียมอุดมในกรุงเทพ สอบเข้าเตรียมแพทย์ จุฬาลงกรณ์ได้ ท่านเป็นคนที่ขยันหมั่นหาความรู้ด้วยตนเองให้ท่านมีผลการเรียนเป็นที่ 1 เสมอ จนในที่สุดท่านก็ได้รับทุนส่วนพระองค์    และทุนของมูลนิธิอานันทมหิดลไปศึกษาต่อต่างประเทศ  และกลับมารับใช้ชาติอย่างภาคภูมิในเวลาต่อมา
    2.  ใช้ชีวิตอย่างสมถะ ท่านเป็นคนที่รู้จักคุณค่าของเงิน  ไม่นิยมความฟุ่มเฟือย อาจเพราะท่านเคยยากจนมาก่อนและเป็นคนที่มีอุดมการณ์ชีวิตพอสมควร  อย่างตอนที่ท่านเรียนจบแล้วกลับมาประเทศไทย  ก็ได้ไปซื้อเสื้อราคาที่ถูกที่สุดที่บางลำภูมาใส่ทำงานเป็นแบบเดียวกันที่นักเรียนใส่ไปโรงเรียน  เมื่อท่านไปรายงานตัวเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ หัวหน้าแผนกนึกว่าท่านเป็นนักศึกษามาติดต่อ  เพราะท่าทางดูไม่ได้โก้เก๋  เหมือนนักเรียนนอกคนอื่น   ที่เดินเบ่งเข้ามาติดต่อ นอกจากนี้ท่านยังทุ่มเทเวลาการทำงานอย่างเต็มที่ในการรับราชการ  ไม่เจียดเวลาไปเปิดคลีนิคส่วนตัว  แม้ว่าจะถูกคนรอบข้างทัดทานก็ตาม
    3.  กล้าเสนอความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและเพื่อความถูกต้องยุติธรรม ท่านมักจะเป็นผู้นำในด้านความคิดที่ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านสังคม  การศึกษา การแพทย์และการสาธารณสุข ครั้งหนึ่ง  ท่านได้ยื่นฟ้อง แพทย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งได้หลอกคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ว่าใช้น้ำยาฟอกเลือด  20 ขวดก็จะหาย ท่านรู้สึกสงสารคนไข้ที่ลำพังโรคที่ป่วยนั้นก็ทุกข์ทรมานพออยู่แล้ว ยังต้องถูกหลอกให้เสียเงินจำนวนมากและเสียกำลังใจอีกด้วย  ซึ่งในที่สุดนายแพทย์ผู้นั้นก็ถูกพักการใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม 2 ปี ท่านเห็นว่าการทำโทษแพทย์ที่ทำผิดนี้ไม่ใช่การทำลายแต่เป็นการผดุงเกียรต์วิชาชีพแพทย์ไว้ต่างหาก
    4.  รู้จักมองตนเองและมองผู้อื่นอย่างเปิดใจกว้าง  ท่านมักจะพูดเสมอว่าท่านไม่ใช่คนฉลาดและยอมรับว่าตนเองโง่ในเรื่องใดบ้าง ทำให้ท่านเรียนรู้สิ่งต่างๆ  จากคนอื่นเสมอๆ และท่านยังรู้จักการมองคนที่แก่นแท้  ไม่ใช่มองเพียงจริตที่แสดงออกมาบางอย่างบางเรื่องเช่น บางคนมีจริตพูดจาออกจะร้ายแต่แก่นแท้เป็นคนดี  บางคนดูสุภาพอ่อนโยน แต่แก่นแท้เป็นคนเลวมหันต์ก็เป็นได้  ท่านว่าการดูคนนั้นต้องดูนาน  ดูลึก ดูโดยรอบ  และดูหลายอย่าง และต้องมีใจเป็นกลาง ถ้ามีอคติ และขาดความเมตตาก็จะเข้าไปสู่ความโกรธ ความเกลียด  บดบังไม่ให้เห็นสิ่งต่าง ๆ  ตามความเป็นจริง
    นอกจากหลักการต่าง ๆ เบื้องต้นแล้วท่านนายแพทย์ประเวศ  วะสี  ท่านยังเป็นผู้หนึ่งที่หมั่นศึกษาธรรมะอย่างลึกซึ้งและนำมาปฏิบัติในชีวิตการทำงาน  ท่านว่าการศึกษาธรรมะเหมือนก้าวสู่โลกอีกโลกหนึ่งทำให้รู้จักบุคคลและเรื่องราวมากมาย  เป็นวิชาที่ต่างจากวิชาอื่นที่เคยเรียนมาซึ่งล้วนเป็นเรื่องภายนอกตัว  ส่วนธรรมะว่าด้วยธรรมชาติของจิต  และวิธีฝึกจิตทำให้จิตเป็นสุข  คนเรานั้น มีวัตถุการงานเพรียบพร้อม อย่างไร  บ่อย ๆ ครั้งที่หาความสุขไม่ได้  และดูจะไม่มีทางออกใดเลย นอกจากศึกษาธรรมะ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘