2นักพูดที่ข้าพเจ้าประทับใจ

นักพูดที่ข้าพเจ้าประทับใจ
       ในปัจจุบันนี้วงการพูดในเมืองไทยกำลังเข้าสู่ยุคที่เรียกว่าเป็นยุคทองแห่งการพูดเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นทั้งนักพูดที่เกิดขึ้นตามกันมาอย่างมากหรือแม้การเปิดแสดงเกี่ยวกับการพูดก็มีให้ดูอย่างไม่ขาดตา นักพูดที่น่าประทับใจมีหลายท่าน แต่สำหรับข้าพเจ้า  สอนราม     คือคนที่ข้าพเจ้าประทับใจท่านคือ อ.สุขุม นวลสกุล สอนรามตัวจริงเพราะท่านเป็น บุคลากรหรืออาจารย์สอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงมากว่า ๑๐ ปีแล้วนั่นเอง
            อ. สุขุม อาจเป็นนักพูดที่มีคนอื่นอีกมากมายมีความประทับใจในตัวของท่านอย่างเช่นข้าพเจ้า    แต่ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าความประทับใจของข้าพเจ้าต้องไม่เหมือนคนอื่นๆอย่างแน่นอน   การพูดที่น่าประทับใจของท่านที่ข้าพเจ้าสรุปออกมาเป้นหลักในการพูดที่ทำให้ท่านประสบความสำเร็จบนเส้นทางของการพูดได้นั้นมีอยู่ ๕ ข้อใหญ่ๆคือ
              ๑.  คารมที่คมคายเกิดได้เพราะการฝึกฝน   ถ้าใครเคยได้ฟังท่านพูดมาแล้วบ้างไม่ว่าจะจากสื่อใดๆก็ตาม   จะพบว่าท่านเป็นคนที่มีคารมคมคายมาก  ใช้ภาษาได้เชือดเฉือนและโดนใจ   แต่เข้าใจง่ายเช่นในช่วงที่เมืองไทยเกิดวิกฤติทางการเมืองในเดือนพฤษภาปี ๒๕๓๗ ท่านได้พูดถึงเหตุการณ์นี้ไว้ได้อย่างน่าฟังว่า   ในช่วงนั้นมีการขับไล่นายกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง   มีหัวหน้าพรรคการเมืองพรรคหนึ่งลงทุนอดข้าวอดน้ำประท้วง   เสี่ยงตายนำผู้คนเข้าปะทะกับกองกำลังของนายกคนที่ยอม  เสียสัตย์เพื่อชาติ    จนถูกจับเสียหลายวัน   เมื่อได้ยินแล้วคนฟังก็รู้ได้ทันทีว่าพูดถึงใคร   ท่านเชื่อว่าคนที่มีคารมที่ดีนั้นย่อมเป็นต่อในหลายๆเรื่อง   ดังคำพังเพยที่ว่า   คารมเป็นต่อรูปหล่อเป็นรอง    แล้วยิ่งความหล่อของคนไม่เหมือนคอนกรีตที่หล่อแล้วคงทนอยู่เลย   แต่คนยิ่งอยู่ไปความหล่อยิ่งจางลงไปตามกาลเวลา   หล่อใหม่ก็ไม่เหมือนเดิม   ผิดกับคารมหรือการพูดของคนยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าไหร่   ยิ่งวันดีคืนดีคล่องปากคล่องลิ้น   คารมคมคายขึ้นยิ่งเปรียบเทียบได้ชัดว่า   อะไรดีกว่ากันระหว่างรูปหล่อกับคารมดี  ดังนั้นถ้าใครอยากมีคารมดีๆแล้วต้องฝึกฝนการพูดของตัวเองอยู่เสมอๆ

                ๒. การเตรียมตัวและการวางเนื้อหาของการพูด ก่อนที่จะพูดทุกครั้งท่านจะเตรียมตัว                         เสมอเพราะท่านเคยพูดไว้ว่า   การพูดก็คือเราต้องพูดให้คนอื่นฟัง   ถ้าจะมาถือสคริปท์แล้วอ่านด้วยสำเนียงพูดก็ตาม   ก็ไม้เป็นธรรมชาติอยู่ดี   แถมยังทำให้ขาดรสชาติในการฟังไปอีกด้วยและที่สำคัญจะทำให้ความเชื่อถือต่อตัวเราของผู้ฟังลดลงด้วย    แต่การเตรียมตัวจะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนนั่นเอง   ส่วนการวางเนื้อหาที่จะพูดในแต่ละครั้ง   ต้องไม่มากหรือน้อยเกินไปเพราะถ้ามีเนื้อหามากเกินไปก็จะเหมือนกับการเรียนหนังสือมากกว่าการมาฟังการพูดหรือฟังบรรยายนั่นเอง   และยิ่งทำให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อหรือไม่ก็ง่วงนอนได้   แต่ถ้าเนื้อหาในการพูดน้อยเกินไปก็ไม่ดีเช่นกัน   เพราะผู้ฟังก็จะรู้สึกภายหลังการบรรยายว่า   เสียเวลาฟังอยู่ได้ตั้งนาน   ไม่เห็นจะได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันซักเท่าไหร่เลยเสียเงินเปล่าๆ   ดังนั้นถ้ารู้ว่าตัวเองต้องขึ้นพูดที่ใดก็ตามต้องมีการเตรียมตัวและวางแผนทุกครั้ง    เพื่อกันการล่มของงาน   และที่สำคัญกันตัวเองเสียหน้าด้วย
             ๓.   ต้องมีตัวอย่างช่วยอ้างอิง      ซึ่งตัวอย่างที่จะนำมาใช้ประกอบการพูดเพี่อให้ผู้ฟังเห็นภาพและเข้าใจง่ายขึ้นนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องจริงเสมอไป   ขึ้นอยู่กับลักษณะการพูดมากกว่าว่าจะเป็นการพูดในแบบใด    เช่นถ้าเป็นการพูดที่เป็นทางการก็ควรใช้ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงมาเป็นตัวอย่างอ้างอิงประกอบ   แต่ถ้าเป็นการพูดทั่วไปที่เน้นความสนุกสนานเฮฮา   ก็อาจใช้ตัวอย่างที่เหนือจริงหรือแต่งขึ้นมาใช้ก็ได้ไม่เป็นไร     เพราะการพูดแบบดังกล่าวขอให้มีเสียงหัวเราะตามมาเป็นอันใช้ได้   เพราะการพูดแบบหลังนี้เน้นที่ความสนุกสนานสะใจของผู้ฟังเป็นหลัก   ถ้าตัวอย่างที่เป้นจริงไม่อาจตอบสนองจุดประสงค์ของความสนุกได้แล้วก็จำเป็นที่จะต้องใช้ตัวอย่างที่เกินจริง   เพื่อให้เข้าถึงจุดประสงค์ของการพูดนั้นเอง   แต่ไม่ใช่ว่าการพูดที่เป็นทางการจะใช้ตัวอย่างที่เกินจริงไม่ได้เลยแต่อาจใช้ได้ในบางโอกาสเช่น   เมื่อต้องการสร้างบรรยากาศให้การพูดดูคึกคักขึ้น   ช่วยกระตุ้นให้ผู้ฟังตื่นจากความง่วงที่ต้องนั่งฟังการบรรยายที่นานแสนนานนั่นเอง   ส่วนตัวอย่างที่นำมาใช้อาจเป็นเรื่องจริง ๑๐๐ % หรือไม่ก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม
และอาจแต่งเติมตัดทอนบ้างก็ได้ตามสมควร   นอกจากนั้นอาจเป็นตัวอย่างที่คิดขึ้นเองหรือรับฟังมาจากคนอื่นอีกทีก็ได้ไม่เป็นการผิดอะไร
              ๔.   ต้องมีการประเมินทั้งคนฟังและตัวเอง     ทำอย่างไรถึงจะพูดเก่ง       ถ้าจะถามว่านักพูดดังๆหลายๆคนที่ประสบความสำเร็จอย่างที่เป็นอยู่อย่างในปัจจุบันนั้นเป็นเพราะพวกเขามีพรสวรรค์กันรึเปล่า   ตอบได้เลยว่าไม่ใช่แต่เป็นพรแสวงต่างหาก   เพราะว่าไม่มีนักพูดคนใดพูดเก่งมาแต่เกิด   กว่าที่พวกเขาจะมีวันนี้ได้การพูดในครั้งแรกๆก็มีคนฟังลุกหนีพวกเขาไปขณะที่พูดก็มี   สิ่งที่ช่วยทำให้การพูดสามารถพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้นได้จนถึงขั้นพูดดีพูดเก่งนั้นคือ การรู้จัก   การประเมิน ไม่ว่าจะเป็นผู้ฟังหรือตัวเองในการพูดทุกครั้ง   การรู้จักประเมินผู้ฟังคือ   ต้องรู้ว่าผู้ฟังเป็นใคร  มีตำแหน่งอะไร   เป็นเพศใดมากกว่ากัน   มีพื้นเพความรู้เป็นอย่างไร ฯลฯ   ถึงแม้ว่าจะไม่รู้อย่างละเอียดแต่ก็ให้ได้รู้ไว้บ้างก็ดีกว่าไม่รูอะไรเลย      
ส่วนการประเมินตัวเองนั้น   เราต้องรู้จักประเมินในสิ่งที่เราพูดออกไปทุกครั้งว่าเป็นอย่างไร    เพราะไม่ใช่ว่าเมื่อเราพูดจบทุกอย่างก็จะจบตามไปด้วยแต่พึ่งเป็นการเริ่มต้นต่างหาก   นั่นคือการเริ่มต้นบนเส้นทางการพูดของเราในครั้งต่อไปว่าจะเกิดหรือไม่ได้เกิดขึ้นอีกเลย   เราต้องรู้จักติดตามผลตอบรับจากผู้ฟังหรือฟิตแบ็กนั่นเอง   ถ้าเราได้รับคำชมเชยกลับมาก็จงภูมิใจในความภาคภูมินั่นแต่อย่าเหลิง   แต่ถ้าได้รับคำติก็อย่าท้อเพราะคำตินี่เองที่เราจะนำมันมาเป็นข้อคิดในการปรับปรุงตัวเองเพื่อพัฒนาการพูดในครั้งต่อๆไป
           ๕.    ต้องมีคุณธรรมนักพูด       คือต้องทำตามข้อปฏิบัติทั้ง ๕ ดังต่อไปนี้
             -เตรียมการที่ดี     ถ้ารู้ว่าต้องไปพูดที่ใดต้องไม่ประมาทต้องมีการทำการบ้าน   ต้องเตรียมการพูด  

ไม่ใช่ไปที่ไหนก็เอาไปแต่ปากเพียงอย่างเดียวลืมเอาสมองกับชีวิตชีวาไปด้วย    และการเตรียมการก่อนไปพูดนี้ถือว่าเป็นการให้ เกียรติคนฟังด้วย
             -ต้องมีความรับผิดชอบ      คือถ้ารับปากว่าจะไปพูดในเรื่องใดแล้วต้องพูดให้ตรงเรื่องที่ได้รับปากไว้   จะพูดผิดเรื่องหรือออกนอกเรื่องไม่ได้   และที่สำคัญถ้ารับปากว่าจะไปพูดที่ใดแล้วห้ามเบี้ยวเด็ดขาด    ถ้าไม่ได้เจ็บป่วยขนาดต้องเข้าโรงพยาบาลไปนอนให้หมอหยอดน้ำเกลือแล้วล่ะก็ให้หอบสังขารไปพูดให้ผู้ฟังๆให้ได้     แต่ถ้าเบี้ยวเพราะว่ามีคนให้ค่าตอบแทนให้ไปพูดอีกงานหนึ่งมากกว่านั่นถือว่าเป็นเรื่องเสียมารยาทและขาดคุณธรรมอย่างรุนแรงที่สุดเลยทีเดียว
             -ตอบสนองเต็มที่       คือเมื่อขึ้นไปยีนต่อหน้าผู้ฟังแล้วต้องแสดงให้เต็มที่   เตรียมอะไรมาอย่างไรต้องนำเสนอออกไปให้ดีอย่างนั้น   ต้องนึก  เสมอว่าผู้ฟังตั้งใจมาฟังเราๆจะทำให้เขาผิดหวังไม่ได้      ไม่ว่าเราจะเจอเรื่องร้ายๆมาจากที่ไหนก็ตามก่อนขึ้นพูดเราต้องทิ้งทุกอย่างไว้หลังเวทีเหมือนดังคำที่ว่า     THE  SHOW  MUST  GO  ON.
         -ต้องไม่บิดเบือน       ต้องทั้งไม่พูดโกหกและต้องไม่พูดความจริงไม่หมด    เพราะว่าการกระทำทั้งสองอย่างถือว่าเป็นการดูถูกคนฟัง   และถ้าคนฟังจับได้ความน่าเชื่อถือของตัวผู้พูดที่มีต่อผู้ฟังก้จะลดลงไปด้วย
         - ข้อคิดสร้างสรรค์        ต้องไม่ใช้คำที่หยาบคายหรือไม่สุภาพ     เพราะเป็นทั้งการไม่ให้เกียรติคนฟังและตัวเองด้วย    ต้องคิดเสมอว่าอาจมีคนฟังเลียนแบบพฤติกรรมของเราด้วยดังนั้นกิริยาท่าทางของเราที่แสดงออกไปต้องสำรวม    และการพูดทุกครั้งไม่ใช่ว่าจะเอาแต่ความเฮฮาเท่านั้นต้องมีสาระประโยชน์แฝงไปด้วย
               และนี่คือข้อสรุปทั้งหมดของการพูดให้ประสบความสำเร็จของ อ.สุขุม   ดูแล้วไม่ยากเกินไปสำหรับการนำไปปฏิบัติเลยถ้าใครๆลองทำดูในการพูดในครั้งต่ดๆไปรับรองได้ว่าการพูดจะต้องมีการพัฒนาขึ้นอย่างมากแน่นอน   การพูดให้เก่งไม่ใช่เรื่องยากแต่เป็นเรื่องที่ต้องหมั่นฝึกฝน  เพราะกว่าเราจะพูดคำๆแรกในชีวิตของเราได้นั้นต้องก็ต้องใช้เวลาไปไม่น้อยเหมือนกันกว่าจะทำสำเร็จ. 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘