23ดร.ทักษิณ

พ.ท.ต.ดร.ทักษิณ ชินวัตร

      ว่าที่นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนล่าสุด หัวหน้าพรรคไทยรักไทย นักธุรกิจไฟแรงผู้มีนามว่า “ ดร.ทักษิณ ชินวัตร คงจะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในฐานะผู้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วในธุรกิจโทรคมนาคมจนได้รับสมญาว่า “ อัศวินลูกที่สาม “ เท่าๆ กับที่รู้กันทั่วไปว่า วันนี้เขาประกาศตัวเข้ามาทำงานทางการเมืองอย่างเต็มตัว จนหลายคนตั้งคำถามว่าเขาจะสามารถเป็น” อัศวินม้าขาว” เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้หรือไม่
      เบ้าหลอมในวัยเด็ก เรียนรู้จากชีวิตจริง ดร.ทักษิณ กล่าวไว้ว่า \"ผมเป็นคนไม่ลืมอดีตนะ แต่ไม่ย่ำอยู่กับอดีต มองข้างหน้าตลอดเวลาแต่ไม่ลืมอดีต การย่ำอยู่กับอดีตนี่ผมถือว่าเป็นการเสียเวลา แต่ลืมไม่ได้เพราะการลืมอดีตคือการลืมตัว\"ดร.ทักษิณ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2492 เป็นบุตรคนที่ 2 ของ คุณเลิศ-ยินดี ชินวัตร ต้นตระกูล \"ชินวัตร\" คือ \"คูซุ่นเส็ง\" หรือ \"ชุ่นเส็ง แซ่คู\" พ่อค้าและอดีตนายอากรที่อพยพจากจันทบุรีมาตั้งรกราก เริ่มต้นธุรกิจหลายๆ ประเภทในเมืองเชียงใหม่ ลูกหลานของ \"คูซุ่นเส็ง\" ในรุ่นต่อๆมาแตกแขนงการทำธุรกิจออกไป บางส่วนขยับขยายมาทำการค้าใน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ \"เลิศ ชินวัตร\" ก็เป็นสายหนึ่งของตระกูลที่มาปักหลักที่สันกำแพง
ดร.ทักษิณกล่าวถึงชีวิตในวัยเด็กในวัยที่ต้องศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง เขาพบว่าตัวเองเป็นคนชอบคิด คิดเร็ว เรียนเร็ว ใฝ่รู้เรื่องต่างๆ คนหนึ่งเหมือนกัน \"ตอนเด็กจำได้ว่าไปเรียนกับครูผู้หญิงแก่ๆชื่อ ควาย ครูควายเลยละ....... ผมชอบเรื่องเลข แกก็สอนผมเพลินเลยนะ สอนวิธีหารยาวจนก่อนเข้าป. 1 ผมก็หารยาวเป็นแล้วนะ\" เมื่อย้ายจากโรงเรียนในสันกำแพงมาเรียนต่อชั้นประถม 3 ที่มงฟอร์ตเชียงใหม่ แม้จะเสียเปรียบเนื่องจากไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษมาก่อน (ที่โรงเรียนมงฟอร์ตจะสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นประถม 1) แต่ ด.ช.ทักษิณก็ทำข้อสอบได้ถึง 75% ความเป็นคน \"ชอบเรียน\" และ \"เรียนเก่ง\" กลายเป็นข้อเด่น ของ ดร.ทักษิณ ที่ญาติพี่น้องรวมถึงคนใกล้ชิดต่างยอมรับและไม่แปลกใจเลยเมื่อในเวลาต่อม าเขาสามารถสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารสำเร็จในปี พ.ศ. 2510 และจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 26 ในปีพ.ศ. 2516 โดยสอบได้คะแนนเป็นที่ 1 ของรุ่นอย่างไรก็ตามดร.ทักษิณก็มิใช่ \"เด็กเรียน\" ที่จมอยู่กับกองตำราอย่างเดียว อีกด้านหนึ่งของชีวิตวัยเยาว์ในฐานะ \"ลูกพ่อค้า\" ทำให้ดร.ทักษิณผ่านประสบการณ์การทำงาน ค้าขาย เรียนรู้การทำธุรกิจจากการติดตามผู้เป็นบิดาไปเกือบทุกที่ทุกแห่ง หลังเวลาเรียน เขากลายเป็นเด็กเดินขายหวานเย็น ช่วยขายมอเตอร์ไซด์-ขายอะไหล่หน้าร้าน ออกไปติดตามทวงหนี้ ช่วยงานบัญชีที่ธนาคารเป็นพนักงานโรงหนัง แม้กระทั่งงานปล่อยรถ-ขับรถเมล์ก็เคยทำมาแล้ว
ประสบการณ์หลากหลายของ ดร.ทักษิณในวัยเยาว์นั้น ส่วนหนึ่งเนื่องเพราะ \"คุณพ่อเลิศ\" เป็นคนที่สนใจทำธุรกิจหลายประเภท ตั้งแต่ลงทุนทำสวนส้ม ช่วงหนึ่งไปเป็นกัมปะโด(หัวหน้าแผนกสินเชื่อ) ให้ธนาคารนครหลวงไทย สาขาเชียงใหม่ ทำโรงภาพยนตร์ศรีวิศาลเป็นตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ รถยนต์ ฯลฯที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ \"คุณพ่อเลิศ\"เป็นคนทันสมัย ใจกล้าที่จะลงทุนนำสินค้าใหม่ๆ มาขาหรือเลือกธุรกิจใหม่ๆมาทำอยู่ตลอดเวลา \"นายเลิศนั้นเป็นบุคคลที่มีความคิดก้าวหน้าชอบความทันสมัย. . . คนทั้งสันกำแพงเห็นตู้ เย็นเครื่องแรกที่ร้านกาแฟนายเลิศ เครื่องปั่นมะพร้าวก็เหมือนกัน . . . ตอนทำสวนลงทุนสั่งรถแทร็กเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องจักรทุ่นแรงที่ทันสมัยมากมาใช้เป็นคนแรก\"
นอกเหนือไปจากความขยัน-สู้งาน สู้ชีวิต ชอบเรียนรู้ทดลองทำด้วยตัวเองจนทำให้เขาเข้าใจถึงความเป็น \"นักปฏิบัติ\" แล้ว แบบอย่างจากบิดาซึ่งเป็นนักธุรกิจที่มองไกลสนใจความรู้วิทยากรใหม่อยู่เสมอ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งเขาได้รับการถ่ายทอดติดตัวมาชีวิตที่พลิกผัน จากราชการ-ธุรกิจ แม้ตลอดช่วงวัยเด็ก ดร.ทักษิณ จะมีโอกาสใกล้ชิดสัมผัสกับธุรกิจของครอบครัวมาตลอด แต่เขาก็ยังมิได้ตกลงปลงใจว่าจะเดินตามสูตรสำเร็จของลูกพ่อค้าในยุคนั้น ที่มักจะรับช่วงสานต่อธุรกิจของครอบครัว หรือกิจการอื่นๆ ในตระกูลด้วยความที่เป็นคนเรียนเก่งและชอบเรียน เมื่อจบชั้นมัธยมที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เชียงใหม่แล้ว ดร.ทักษิณจึงมองโอกาสและแนวทางศึกษาต่อ กระทั่งในที่สุดก็เลือกสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารซึ่งเป็นที่นิยมมากสำหรับนักเรียนชายในยุคนั้น
ชีวิตการศึกษาวัยหนุ่มของ ดร.ทักษิณผ่านไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วหลังจากสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เขาเลือกเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสวนสามพรานจนสำเร็จการศึกษา ในปี 2516 และสอบได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ของรุ่น ปีเดียวกันนั้นเองที่เขาเริ่มชีวิตข้าราชการตำรวจเป็นครั้งแรก แต่ทำงานได้เพียงระยะหนึ่งในปี พ.ศ. 2517 ก็ได้ทุนจากรัฐบาลไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาจนจบปริญญาโท สาขา Criminal Justice จาก Eastern Kentucy University ในปี พ.ศ. 2518 หลังจากนั้นยังกลับไปเรียนที่สหรัฐอีกครั้งหนึ่งในสาขาเดิมจนกระทั่งจบปริญญาเอกจาก SAM Houston State University ในปี พ.ศ. 2521
ในช่วงเวลาใกล้ๆกันนั้นเอง
ชีวิตวัยหนุ่มของดร.ทักษิณได้พบพานกับสิ่งสำคัญ 2 ประการ ประการแรก ในปี พ.ศ.2517 ดร.ทักษิณได้เข้าพิธีวิวาห์กับคุณพจมาน ดามาพงศ์ ภริยาคู่ชีวิตที่ได้ร่วมฝ่าฟันธุรกิจ จนประสบความสำเร็จมาถึงปัจจุบัน ประการที่สอง เขามีโอกาสเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในระหว่างเรียนปริญญาเอก ซึ่งเขานำความรู้ในเรื่องดังกล่าว กลับมาใช้กับหน่วยงานในกรมตำรวจและกับธุรกิจของเขาเองในช่วงเวลา ต่อมาเขาผ่านงานหลายลักษณะในกรมตำรวจ อาทิ เป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นสารวัตรปราบปรามประจำสน.พระราชวังเป็นนายตำรวจติดตามรัฐมนตรี (นายปรีดา พัฒนถาบุตร) เป็นรองผู้กำกับศูนย์ประมวลข่าวสาร ฯลฯและที่ศูนย์ประมวลข่าวสารนี่เอง ดร.ทักษิณใช้เวลาอยู่ในหน่วยงานนี้นานมากกว่าหน่วยอื่นๆ เขานำเอาความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาพัฒนาระบบฐานข้อมูลของกรมตำรวจให้ก้าวหน้าทันสมัยมากขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นรากฐานสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในกรมตำรวจยุคต่อๆมา ไม่ว่าจะเป็นระบบฐานข้อมูลสถิติอาชญากรรม ทะเบียนรถยนต์ ประวัติอาชญากร ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีและข้อมูลมาใช้สนับสนุนงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเป็นครั้ง
แรกๆ เส้นทางชีวิตราชการตำรวจของดร.ทักษิณ ดำเนินไปพร้อมกับความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ทว่าขณะเดียวกับความเคลื่อนไหวทางธุรกิจเริ่มดึงดูดความสนใจเขาได้มากขึ้นๆ กระทั่งในที่สุดเขาก็ตัดสินใจลาออกจากราชการ ขณะครองยศพันตำรวจตรีในตำแหน่งรองผู้กำกับการนโยบายและแผนงาน กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาลเหตุผลสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเส้นทางชีวิตตัวเองในคราวนั้น ดร.ทักษิณอธิบายว่าส่วนหนึ่งเป็นพราะอึดอัดกับระบบ ขั้นตอนหลายลำดับขั้นของราชการ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขาต้องการเข้ามาทำงานธุรกิจเต็มตัวหลังจากเริ่มต้นมาแล้วระยะหนึ่งโดยมี คุณพจมาน ชินวัตร ภรรยาดูแลรับผิดชอบอยู่ วิธีคิดแบบนักธุรกิจที่เขาซึมซับจากบิดาในวัยเด็กเริ่มถูกนำออกมาใช้อย่างจริงจัง เป็นวิธีคิดแบบกล้าได้กล้าเสีย กล้าตัดสินใจทันที พร้อมที่จะเผชิญการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้ ดร.ทักษิณก้าวเดินสู่ถนนธุรกิจด้วยความพร้อม ความเชื่อมั่นในความรู้และประสบการณ์ และวิสัยทัศน์สู่ความสำเร็จ จากธุรกิจ-ประเทศไทย จากจุดเริ่มต้นทางธุรกิจที่ดร.ทักษิณและคุณพจมานร่วมกันก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดไอซีเอสไอ. เมื่อปี 2525 ต่อมาขยับขยายเป็นบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ ดร.ทักษิณ ใช้พื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ ประกอบกับความเข้าใจขั้นตอนในระบบราชการ ดำเนินธุรกิจขาย-บริการให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์แก่หน่วยงานรัฐ จนประสบความสำเร็จมาเป็นลำดับเมื่อมีความรู้ความชำนาญในธุรกิจคอมพิวเตอร์ระดับหนึ่ง ดร.ทักษิณก็ขยายธุรกิจต่อไปอีก โดยเฉพาะธุรกิจใหม่ๆ ที่ยังไม่มีผู้สนใจดำเนินการมาก่อน อาทิวางระบบ-ขายอุปกรณ์ เครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือแบบไร้สาย (S.O.S), ธุรกิจวิทยุบนรถประจำทาง (บัสซาวด์), ธุรกิจวิทยุติดตามตัว(เพจเจอร์), ธุรกิจวางระบบให้บริการ-จำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่, ธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (เคเบิลทีวี), ธุรกิจดาวเทียม ฯลฯกระทั่งถึงปัจจุบันสามารถพัฒนาบริษัทในเครือให้ครอบคลุมเกือบจะครบทุกด้านของธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม และสารสนเทศปัจจัยอันทำให้ ดร.ทักษิณประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่างรวดเร็วคือ ประการที่ 1 เป็นเพราะความกล้าในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว กล้าทดลองลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ขณะเดียวกันก็กล้าที่จะปรับทิศทางธุริกจในเครือจากการค้าคอมพิวเตอร์มาเป็นธุรกิจโทรคมนาคมได้ในจังหวะที่เหมาะสมประการที่ 2 เพราะความเป็นนักเจรจา ประกอบกับความกว้างขวางในการสร้างพันธมิตร บริหารสายสัมพันธ์ จนสามารถประสานได้กับทุกฝ่ายอย่างลงตัวประการที่ 3 วิสัยทัศน์ที่มองไปข้างหน้าประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้องพร้อมกับกำหนดกลยุทธ์ได้ตรงกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตช่วงเวลาไม่ถึง 10 ปีหลังลาออกจากกรมตำรวจดร.ทักษิณประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้รับการยอมรับจากทั้งในและนอกประเทศมากมาย
นับจากช่วงปี 2535 เป็นต้นมาได้รับเกียรติได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆอย่างต่อเนื่องอาทิ รางวัล \"1992 Asean Business Man of the Year\" จาก Asean Institute ประเทศอินโดนิเซีย(พ.ศ.2535) รางวัล \"บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคมเพื่อสังคมของประเทศไทยประจำปี 2536\" ได้รับการยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times ให้เป็น 1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย (พ.ศ.2537)ระหว่างปี พ.ศ.2537-2540 ดร.ทักษิณมีโอกาสได้เข้าไปทำงานการเมือง บริหารประเทศในต่างกรรม ต่างวาระ และในตำแหน่งที่แตกต่างกัน 2537 เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พ.ค. 2538 เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม ก.ค. 2538 เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา 2540 เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธประสบการณ์จากงานเพื่อสังคมและงานด้านการเมือง
ในช่วงที่ผ่านมา ดูจะเป็นแรงผลักดันให้ ดร.ทักษิณ เกิดความคิด ความมุ่งมั่นที่จะร่วมพัฒนาประเทศไทยไปสู่ทิศทางใหม่ด้วย
ระบบวิธีคิดแบบใหม่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นวิสัยทัศน์ของเขามองผ่านไปยังภาพการเมืองไทยปี 2000 ด้วยความเชื่อมั่นว่าหากจะปรับทิศประเทศไทยให้ถูกทางระบบการเมืองไทยและนักการเมืองไทยต้องมีความโปร่งใสมองไปข้างหน้าอย่างมีวิสัยทัศน์ พร้อมกับการคิดอย่างมีกลยุทธ์เมื่อทราบถึงประวัติอันน่าทึ่งของ ดร.ทักษิณ ชินวัตรแล้ว เพื่อนๆคงจะทราบแล้วใช่ไหมครับว่าทำไม ผู้ชายคนนี้ถึงประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด ตอนนี้เพื่อนๆ ก็คือคนหนึ่งที่มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตเหมือนกัน เริ่มตั้งแต่วันนี้ ทำโอกาสที่มีให้เป็นสิ่งที่ดีในอนาคตต่อไป.

ดร.ทักษิณชินวัตร

     อัตชีวประวัติของ ดร.ทักษิณ ชินวัตรว่าที่นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนล่าสุด หัวหน้าพรรคไทยรักไทย นักธุรกิจไฟแรงผู้มีนามว่า “ ดร.ทักษิณ ชินวัตร คงจะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในฐานะผู้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วในธุรกิจโทรคมนาคมจนได้รับสมญาว่า “ อัศวินลูกที่สาม “ เท่าๆ กับที่รู้กันทั่วไปว่า วันนี้เขาประกาศตัวเข้ามาทำงานทางการเมืองอย่างเต็มตัว จนหลายคนตั้งคำถามว่าเขาจะสามารถเป็น” อัศวินม้าขาว” เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้หรือไม่
เบ้าหลอมในวัยเด็ก เรียนรู้จากชีวิตจริง ดร.ทักษิณกล่าวถึงชีวิตในวัยเด็กในวัยที่ต้องศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง เขาพบว่าตัวเองเป็นคนชอบคิด คิดเร็ว เรียนเร็ว ใฝ่รู้เรื่องต่างๆ คนหนึ่งเหมือนกัน ความเป็นคน \"ชอบเรียน\" และ \"เรียนเก่ง\" กลายเป็นข้อเด่น ของ ดร.ทักษิณ ที่ญาติพี่น้องรวมถึงคนใกล้ชิดต่างยอมรับ และในเวลาต่อมาเขาสามารถสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารสำเร็จในปี พ.ศ. 2510 และจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 26 โดยสอบได้คะแนนเป็นที่ 1 ของรุ่น
อย่างไรก็ตามดร.ทักษิณก็มิใช่ \"เด็กเรียน\" ที่จมอยู่กับกองตำราอย่างเดียว อีกด้านหนึ่งของชีวิตวัยเยาว์ในฐานะ \"ลูกพ่อค้า\" ทำให้ดร.ทักษิณผ่านประสบการณ์การทำงาน ค้าขาย เรียนรู้การทำธุรกิจจากการติดตามผู้เป็นบิดาไปเกือบทุกที่ทุกแห่งหลังเวลาเรียน นอกเหนือไปจากความขยัน สู้งาน สู้ชีวิต ชอบเรียนรู้ทดลองทำด้วยตัวเองจนทำให้เขาเข้าใจถึงความเป็น \"นักปฏิบัติ\" แล้ว แบบอย่างจากบิดาซึ่งเป็นนักธุรกิจที่มองไกลสนใจความรู้วิทยากรใหม่อยู่เสมอ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งเขาได้รับการถ่ายทอดติดตัวมาจากบิดา
ชีวิตที่พลิกผัน จากราชการ-ธุรกิจ เขาเริ่มชีวิตข้าราชการตำรวจเป็นครั้งแรก แต่ทำงานได้เพียงระยะหนึ่งในปี พ.ศ. 2517 ก็ได้ทุนจากรัฐบาลไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาจนจบปริญญาโท และเอก เขามีโอกาสเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในระหว่างเรียนปริญญาเอก ซึ่งเขานำความรู้ในเรื่องดังกล่าวกลับมาใช้กับหน่วยงานในกรมตำรวจและกับธุรกิจของเขาเองในช่วงเวลาต่อมา ทว่าขณะเดียวกับความเคลื่อนไหวทางธุรกิจเริ่มดึงดูดความสนใจเขาได้มากขึ้นๆ กระทั่งในที่สุดเขาก็ตัดสินใจลาออกจากราชการ ขณะครองยศพันตำรวจตรี
วิธีคิดแบบนักธุรกิจที่เขาซึมซับจากบิดาในวัยเด็กเริ่มถูกนำออกมาใช้อย่างจริงจัง เป็นวิธีคิดแบบกล้าได้กล้าเสีย กล้าตัดสินใจทันที พร้อมที่จะเผชิญการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้ ดร.ทักษิณก้าวเดินสู่ถนนธุรกิจด้วยความพร้อม ความเชื่อมั่นในความรู้และประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์สู่ความสำเร็จ จากธุรกิจประเทศไทย
จากจุดเริ่มต้นทางธุรกิจที่ดร.ทักษิณและคุณพจมานร่วมกันก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดไอซีเอสไอ. เมื่อปี 2525 ต่อมาขยับขยายเป็นบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ กระทั่งถึงปัจจุบันสามารถพัฒนาบริษัทในเครือให้ครอบคลุมเกือบจะครบทุกด้านของธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม และสารสนเทศปัจจัยอันทำให้ ดร.ทักษิณประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่างรวดเร็วคือ
ประการที่ 1 เป็นเพราะความกล้าในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว กล้าทดลองลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ
ประการที่ 2 เพราะความเป็นนักเจรจา ประกอบกับความกว้างขวางในการสร้างพันธมิตร บริหารสายสัมพันธ์
ประการที่ 3 วิสัยทัศน์ที่มองไปข้างหน้าประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้องพร้อมกับกำหนดกลยุทธ์ได้ตรงกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ประสบการณ์จากงานเพื่อสังคมและงานด้านการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ดูจะเป็นแรงผลักดันให้ ดร.ทักษิณ เกิดความคิด ความมุ่งมั่นที่จะร่วมพัฒนาประเทศไทยไปสู่ทิศทางใหม่ด้วยระบบวิธีคิดแบบใหม่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นวิสัยทัศน์ของเขามองผ่านไปยังภาพการเมืองไทยปี 2000 ด้วยความเชื่อมั่นว่าหากจะปรับทิศประเทศไทยให้ถูกทางระบบการเมืองไทยและนักการเมืองไทยต้องมีความโปร่งใสมองไปข้างหน้าอย่างมีวิสัยทัศน์.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘