1ศิลปะการพูดให้ประทับใจผู้ฟังภายใน ๓๐ วินาที

ศิลปะการพูดให้ประทับใจผู้ฟังภายใน ๓๐ วินาที
( HOW TO GET YOUR POINT ACROSS IN 30 SECONDS – OR LESS)

ไมโล โอ. แฟรงค์ : เขียน
สมลักษณ์ สว่างโรจน์ : แปลเรียบเรียง

สงวนสิทธิ์
พระมหาวิชิต ธมฺมธโร ป.ธ.๙

“การพูด” เป็นสิ่งที่มนุษย์ผู้มีร่างกายปกติพูดได้ทุกคน แต่การพูดที่จะทำให้ผู้ฟังประทับใจนั้นน้อยคนนักที่จะสามารถพูดให้ประสบผลสำเร็จได้ โดยเฉพาะ “การพูดให้ประทับใจผู้ฟัง ภายใน 30 วินาที”
“เวลา 30 วินาที” เป็นเวลาที่เหมือนว่าสั้นมาก แต่ในทางตรงข้าง 30 วินาที่กลับเป็นเวลานาน นานพอที่เราจะสามารถพูดในสิ่งที่ต้องการได้ นานพอที่จะดึงดูดความสนใจจากผู้ฟัง และทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกคล้อยตามได้ ซึ่งเวลาเพียง 30 วินาทีนี้ อาจจะมีค่ามากกว่า 3 นาที หรือ 3 ชั่วโมงก็เป็นได้
หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า 30 วินาที ไม่น่ามีความสำคัญ แต่หากเราลองพิจารณาดูแล้ว 30 วินาทีอาจเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราก็เป็นได้ เช่น โฆษณาทางโทรทัศน์ ส่วนมากก็จะนำเสนอกันเพียง 30 วินาทีเท่านั้น หากประทับใจผู้ชม ก็จะทำให้ยอดขายทะลุเป้า แต่หากไม่เป็นที่ประทับใจ ธุรกิจก็แทบจะล้มละลายลงได้ และการพูดให้ประทับใจผู้ฟังภายใน 30 วินาทีก็ไม่ใช่เรื่องที่อยู่เหนือความสามารถของทุก ๆคนที่จะทำได้ ซึ่งการพูดให้ประทับใจผู้ฟังภายใน 30 วินาที ก็มีหลักการพื้นฐานง่าย ๆ 3 ข้อดังนี้
1. มีจุดประสงค์ที่ชัดเจนเพียงข้อเดียว คือ เราต้องมีเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน รู้ว่าตัวเราต้องการอะไร รู้ว่าทำไมเราถึงต้องไปอยู่ที่นั่น เพราะการที่มีจุดประสงค์ในการพูดที่ชัดเจน จะทำให้เราพูดไม่วกวน ไม่หลงทางหรือหลงประเด็น เช่น เซลล์แมน ก็มีจุดประสงค์ในการพูด คือ ต้องการขายสินค้า หรือลูกค้า ก็มีจุดประสงค์ในการพูดเพื่อซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง เป็นต้น
1.    เราต้องรู้จักผู้ฟัง และรู้ว่าผู้ฟังต้องการอะไร เป็นการนำใจเขามาใส่ใจเรา เพราะการรู้จักคนที่เราจะไปพูดด้วยว่าเป็นใคร เป็นคนอย่างไร และต้องการอะไรจากการฟังในครั้งนี้ จะทำให้เราพูดในสิ่งที่ผู้ฟังสนใจ และช่วยให้เราสามารถวางแผนในการพูดได้ง่ายขึ้น
2.    มีวิธีการและเทคนิคที่ถูกต้อง คือ เราต้องรู้จักการใช้กลวิธีต่าง ๆ ในการพูดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ วิธีการและวัตถุประสงค์นั้นมีความจำเป็นเท่า ๆ กัน การมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอนจะมีอิทธิพลต่อการเลือกใช้วิธีการที่ถูกต้อง เช่น ลูกค้าที่ต้องการซื้อของให้ได้ราคาถูก ลูกค้าก็จะใช้วิธีพูดว่า “ ฉันชอบสินค้าของคุณ แต่ฉันมีเงินจำกัด ” เป็นต้น นอกจากนั้นการมีวิธีการพูดที่ถูกต้องจะทำให้เราสนองความต้องการและความสนใจของผู้ฟังได้ ทั้งยังช่วยให้เราพูดได้ถูกจุดไม่ออกนอกลู่นอกทางของจุดประสงค์ที่ได้ตั้งไว้อีกด้วย
จากข้างต้น การรู้ว่าตนเองต้องการอะไร ใครจะให้สิ่งนั้นกับเราได้ และทำอย่างไรจึงจะได้สิ่งนั้นมาอาจกล่าวได้ว่าเป็นกฎพื้นฐาน 3 ข้อของการพูด 30 วินาที แต่นอกเหนือจากนั้น ก็ยังมีกลวิธีอื่น ๆ อีกที่จะทำให้การพูด 30 วินาทีมีประสิทธิภาพมาก น่าสนใจ และได้ผลดีมากยิ่งขึ้นอีก ดังนี้
การจูงใจ การชักนำ ความรู้สึกประทับใจ การดึงดูดใจ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ฟังจดจำเราและเนื้อเรื่องได้เป้นอย่างดี อาจกล่าวได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเหยื่อล่อชั้นเยี่ยม ซึ่งเหยื่อล่อก็คือ ประโยค หรือเนื้อหาที่ใช้เพื่อดึงดูดใจผู้ฟังโดยเฉพาะ เช่น ในหนังสือพิมพ์ก็จะมีพาดหัวข้อข่าว เป็นเหยื่อล่อ หรือในภาพยนตร์ก็จะนำฉากที่ตื่นเต้นที่สุดของหนังเรื่องนั้น ๆ มาฉายให้เราดูก่อนเพื่อโฆษณาหนังให้เราสนใจ เป็นต้น เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่เราจะพูดกับใครสักคน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน อาจารย์ หรือผู้ปกครอง เราก็ต้องทำให้เขาสนใจ ทำให้เขาจำคำพูดของเราโดยใช้เหยื่อล่อ เมื่อเริ่มพูด ซึ่งเราก็สามารถทำได้โดยการถามคำถามเหล่านี้กับตัวเอง“ อะไรคือส่วนที่แปลกที่สุดของเรื่อง , ส่วนไหนน่าสนใจ ตื่นเต้น ตลก มากที่สุดของเรื่อง และส่วนไหนที่น่าประทับใจมากที่สุดของเรื่อง” แล้วนำมาตัดตอนให้ได้ประโยคใจความสำคัญที่สุดเพียงใจความเดียว เพียงเท่านี้เราก็จะได้เหยื่อล่อในการพูดแต่ละครั้ง ซึ่งเหยื่อล่ออาจจะเป็นคำพูดแบบจริงจัง หรือตลกขบขันก็ได้ แต่ต้องสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังได้ หากน่าเบื่อผู้ฟังไม่สนใจก็แสดงว่า เราไม่สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการจะเรียกร้องความสนใจได้  
การพูดให้รัดกุมและเข้าใจง่าย ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ ต่อการพูดให้ผู้ฟังประทับใจภายใน 30 วินาที เพราะหากเยิ่นเย้อก็จะทำให้ผู้ฟังเบื่อ ที่สำคัญคือไม่มีใครสนใจสิ่งที่เข้าใจยาก เพราะฉะนั้นเราสามารถพูดให้รัดกุมและเข้าใจได้ง่ายโดยการตอบคำถาม 6 ข้อนี้ คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร และทำไม เพราะเป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้รวดเร็ว เป็นประเด็นมากยิ่งขึ้น
การจบ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน ก่อนจะจบการพูด 30 วินาที เราต้องขอในสิ่งที่เราต้องการ ซึ่งมีคำกล่าวไว้ว่า “ คำพูดที่ปราศจากการขอร้อง เป็นการปล่อยให้โอกาสเสียเปล่า ถ้าคุณไม่ขออะไร ผลก็คือคุณจะไม่ได้อะไรเลย “ เพราะฉะนั้นเราต้องถามตัวเองเสมอว่าเราต้องการอะไรจากผู้ฟัง แล้วจึงคิดถึงประโยคที่เหมาะกับสถานการณ์มากที่สุด ประโยคที่ว่านี้มี 2 ประเภทคือ ประโยคที่ต้องการการกระทำ เช่น “ ขอให้ทุกคนช่วยเขียนแสดงความคิดเห็น และคำแนะนำในเรื่องที่เราคุยกันหลังจากที่เราพักดื่มกาแฟกันนะครับ “ เป็นต้น อีกประเภทคือ ประโยคที่ต้องการให้ผู้ฟังมีปฏิกิริยาโต้ตอบ ก็คือการพูดแบบนุ่มนวล เพื่อให้ผู้ฟังมีปฏิกิริยาตอบกลับมาว่าเห็นด้วย ต้องการฟังต่อ และนำไปยึดถือ เป็นต้น เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถสรุปได้อย่างประทับใจผู้ฟังแล้ว
นอกจากนี้แล้ว การพูด 30 วินาทีที่จะทำให้ผู้ฟังประทับใจนั้นยังต้องมีการวาดภาพให้ผู้ฟังฉุกคิดได้อีกด้วย ซึ่งก็ควรใช้คำพูดที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย สามารถนำไปประสานกับประสบการณ์เก่า ๆ ของผู้ฟังได้ และเพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพตามไปด้วย เช่น 2 ประโยคนี้
“ภาวะข้าวยากหมากแพง จะก่อให้เกิดผลร้ายต่อเศรษฐกิจ”
“ภาวะข้าวยากหมากแพง จะทำให้เชื้อร้ายแห่งความหายนะกระจายเข้าสู่สายโลหิตแห่งเศรษฐกิจ”
จะเห็นได้ว่าประโยคแรกไม่น่าสนใจ และไม่สามารถสร้างภาพหรือจินตนาการในใจได้ แต่ประโยคที่สองมีการใช้คำพูดที่ระบายสีสันให้สวยงาม จึงทำให้ผู้ฟังสามารถฟังและซึมซับสิ่งที่พูดได้ง่ายกว่า ทั้งยังสามารถมองเห็นภาพได้ดีกว่าด้วย และหากจะให้ได้ผลดีมากยิ่งขึ้นแล้วผู้พูดก็ควรมีการยกตัวอย่างประกอบการพูดด้วย ซึ่งตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือตัวอย่างที่มาจากประสบการณ์ตรงของผู้พูดเอง เพราะจะทำให้การพูดมีชีวิตชีวา มีสีสันมากกว่าการนำประสบการณ์ของผู้อื่นมาพูด อาจกล่าวได้ว่าการวาดภาพนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สนุกสนานของการพูดก็เป็นได้ เพราะทำให้ผู้พูดต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก
ความประทับใจครั้งแรก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุด ซึ่งความประทับใจครั้งแรกนี้ไม่ได้หมายถึงคำพูดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบุคลิกภาพ ท่าทาง การแต่งกาย และรอยยิ้มอีกด้วย ซึ่งก็มีข้อควรจำง่าย ๆ ว่า “ การยิ้มต้องจริงใจ การเคลื่อนไหวควรดึงดูด การพูดมีชีวิตชีวา เสื้อผ้าและท่าทางสุภาพ ” หากว่าผู้พูดทำได้ดีก็จะทำให้ผู้ฟังสนใจและตั้งใจฟังเราได้ แต่ถ้าหากทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรก็จะทำให้เราต้องสูญเสียโอกาสที่จะมาถึงเราได้
จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ อาจจะไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินไปสำหรับผู้ที่ต้องการจะเป็นนักพูดที่ดี หากต้องใช้ความเพียรพยายาม หมั่นฝึกฝนและตั้งใจอย่างจริงจัง ความสำเร็จก็คงไม่ไกลเกินเอื้อม และคงจะสามารถเป็นนักพูดที่พูดได้ประทับใจผู้ฟังในที่สุดถึงแม้จะมีเวลาเพียง 30 วินาทีก็ตาม
หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า 30 วินาที ไม่น่ามีความสำคัญ แต่หากเราลองพิจารณาดูแล้ว 30 วินาทีอาจเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราก็เป็นได้ การพูดให้ประทับใจผู้ฟังภายใน 30 วินาทีก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่อยู่เหนือความสามารถของทุก ๆคนที่จะทำได้ มีหลักการพื้นฐานง่าย ๆ 3 ข้อดังนี้
1. มีจุดประสงค์ที่ชัดเจนเพียงข้อเดียว คือ เราต้องมีเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน รู้ว่าตัวเราต้องการอะไร รู้ว่าทำไมเราถึงต้องไปอยู่ที่นั่น จะทำให้เราพูดไม่วกวน ไม่หลงทางหรือหลงประเด็น
2. เราต้องรู้จักผู้ฟัง และรู้ว่าผู้ฟังต้องการอะไร การรู้จักคนที่เราจะไปพูดด้วยว่าเป็นใคร เป็นคนอย่างไร และต้องการอะไรจากการฟังในครั้งนี้ จะทำให้เราพูดในสิ่งที่ผู้ฟังสนใจ และช่วยให้เราสามารถวางแผนในการพูดได้ง่ายขึ้น
3. มีวิธีการและเทคนิคที่ถูกต้อง คือ ต้องรู้จักการใช้กลวิธีต่าง ๆ ในการพูดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เช่น ลูกค้าต้องการซื้อของในราคาถูกก็จะพูดว่า “ฉันชอบสินค้าของคุณ แต่ฉันมีเงินจำกัด” เป็นต้น
นอกจากนี้ก็ยังมีกลวิธีอื่น ๆ ที่จะทำให้การพูด 30 วินาทีน่าสนใจ และได้ผลดีมากยิ่งขึ้นอีก ดังนี้   การพูดให้รัดกุมและเข้าใจง่าย ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ เราทำได้โดยการตอบคำถาม 6 ข้อนี้ คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร และทำไม จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้รวดเร็ว เป็นประเด็นมากยิ่งขึ้น
การวาดภาพให้ผู้ฟังฉุกคิด ก็เป็นอีกกลวิธีหนึ่ง เราควรใช้คำพูดที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย สามารถนำไปประสานกับประสบการณ์เก่า ๆ ของผู้ฟังได้ เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพตามไปด้วย หากจะให้ได้ผลดีมากยิ่งขึ้นแล้วผู้พูดก็ควรมีการยกตัวอย่างประกอบการพูดด้วย ตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือตัวอย่างที่มาจากประสบการณ์ตรงของผู้พูดเอง เพราะจะทำให้การพูดมีชีวิตชีวา มีสีสันมากกว่าการนำประสบการณ์ของผู้อื่นมาพูด   ความประทับใจครั้งแรกก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุด มีข้อควรจำง่าย ๆ ว่า “ การยิ้มต้องจริงใจ การเคลื่อนไหวควรดึงดูด การพูดมีชีวิตชีวา เสื้อผ้าและท่าทางสุภาพ ” หากว่าผู้พูดทำได้ดีก็จะทำให้ผู้ฟังสนใจและตั้งใจฟังเราได้ แต่ถ้าหากทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรก็จะทำให้เราต้องสูญเสียโอกาสที่จะมาถึงเราได้
จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ อาจจะไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินไปสำหรับผู้ที่ต้องการจะเป็นนักพูดที่ดี หากต้องใช้ความเพียรพยายาม หมั่นฝึกฝนและตั้งใจอย่างจริงจัง ความสำเร็จก็คงไม่ไกลเกินเอื้อม และคงจะสามารถเป็นนักพูดที่พูดได้ประทับใจผู้ฟังในที่สุดถึงแม้จะมีเวลาเพียง 30 วินาทีก็ตาม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘