17ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์

ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ 

ปัจจุบันการพูดเป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่างยิ่งเพราะการพูดเราต้องใช้ในชีวิตประจำวันและในโอกาศต่างๆ  หลายๆคนคงจะมีนักพูดที่ตนเองชื่นชอบและนำมาเป็นแบบอย่าง  และผมเองก็เช่นเดียวกัน  ก็มีนักพูดที่ประทับใจท่านหนึ่ง คือ คุณ ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์  ซึ่งผมได้อ่านหนังสือที่เป็นผลงานของท่านและมีความประทับใจเป็นอย่างมาก
วิธีในการฝึกฝนตนเองให้เป็นนักพูดที่ดีของ คุณ ทินวัฒน์ ก็มีอยู่ 10 ข้อดังที่จะพูดต่อไปนี้
1.    พูดเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด  ถนัดที่สุด  หรือค้นคว้าเพิ่มเติมได้ง่ายที่สุด เพราะเรามีพื้นอยู่แล้ว  หรือเพราะเราทำเรื่องนี้มาตลอดก็แล้วกัน   ถ้าเราหาเรื่องแบบนี้มาพูดได้   หรือรับเชิญพูดเรื่อแบบนี้  เราจะพูดได้ดีกว่าเรื่องที่เราไม่สันทัดท่าน เดล คาร์เนกี้  ใช้คำว่า “TALK SOMETHINK THAT WE EARN THE RIGHT TO TALK”  พูดเรื่องอะไรก็ได้ที่เรามีสิทธิ์จะพูดมากที่สุด  แล้วเราจะพูดได้ดีกว่า  พรั่งพรูกว่า
2.    เตรียมตัวให้พร้อม   เตรียมตัวย่อมดีกว่าไม่เตรียมตัวแน่นอน  แม้จะพูดเรื่องที่เรารู้เราทำอยู่ทุกวันก็ตาม  ถ้าเตรียมตัวไม่ดีก็พลาดได้เหมือนกัน  และอีกอย่าง ความพร้อมไม่ทำให้เราประหม่า  หรือถ้าเคยประหม่าก็จะลดน้อยลง
3.    สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง   เรื่องนี้อยู่ที่การปรับทัศนคติเกี่ยวกับจิตใจของเราเอง เราไม่ต้องหลอกตัวเองว่าเราเก่งที่สุด หรือคนฟังโง่กว่าเรา แต่เราต้องบอกกับตัวเองว่า “เรื่องนี้ หัวข้อนี้ สำหรับที่นี่ ฉันรู้ดีที่สุด” แล้วก็พูดไป เพราะเรื่องจริงเป็นอย่างนั้น
หากทำสามประการดังกล่าวแล้ว  ยังไม่หายประหม่า  ให้ทำดังต่อไปนี้
ก.    จงสูดลมหายใจลึกๆ  หรือดื่มน้ำเย็นสักแก้วหนึ่ง
ข.    จงบอกกับตัวเองว่า  “วันนี้ฉันสู้ตาย”   อย่าบอกกับตัวเองว่า  “วันนี้ฉันตายแน่”
ค.    พูดเสียงดังไปเลย  รวบรวมสติปัญญาและกำลังใจ  พูดเสียงดังตั้งแต่คำแรก  หรือประโยคแรก  แล้วทุกอย่างจะค่อยยังชั่วขึ้นเอง
เรื่องประหม่าเป็นเรื่องธรรมดา  ไม่ได้เสียหายอะไรร้ายแรง   มีบ้างเล็กน้อยกลับจะดีเสียกว่าไม่ประหม่าเลย   ขอเพียงแต่อย่าให้ประหม่ามากจนทำลายการพูดของเราก็แล้วกัน
4.    จงแต่งกายให้สะอาด เหมาะสม และเรียบร้อย   ทั้ง 3 อย่างถือได้ว่าเหมาะสมแล้วสำหรับการไปพุดต่อที่สาธารณะ  ไม่จำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าที่มีราคาแพง  ผู้พูดที่ดีควรแต่งกายให้กลมกลืนกับผู้ฟัง  หากเราแต่งหรูเกินไปหรือซอมซ่อเกินไป  อาจทำให้เป็นที่รังเกียจสำหรับสังคมนั้นๆได้
5.    ปรากฏกายอย่างกระตือรือร้น  ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าต้องวิ่งออกไปพูด  เพียงแต่ขอให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า  แสดงถึงความพร้อม  ความเต็มใจที่จะพูด  นอกจากจะจะทำให้คนฟังรู้สึกอยากจะฟังแล้วยังโน้มนำจิตใจให้เราอยากจะพูด อยากแสดงออกมาอีกด้วย
6.    จงใช้กิริยาท่าทางประกอบการพูดไปด้วย   ไม่ใช่ยืนนิ่งๆ   หรือนั่งนิ่งๆ   แต่ก็ไม่ใช่ใช้มือเกะกะ  วุ่นวายไปหมด  ต้องใช้ให้พอดีพอดี  และตรงเรื่องที่พูด กิริยาท่าทางต้องส่งเสริมการพูดไม่ใช่ขัดขวางหรือทำลายความสนใจในการพูด  ข้อแนะนำง่ายๆคือ พูดจากความรู้สึกที่จริงใจเท่านั้นท่าทางมือไม้ก็จะเป็นไปตามธรรมชาติเอง
7.    จงสบสายตากับผู้ฟัง  เวลาพูดต้องไม่หลบตาผู้ฟัง  ไม่ควรมองพื้น  มองต้นฉบับ หรือมองข้ามผู้ฟังออกไปข้างนอก   เพราะการสบสายตาผู้ฟังเป็นยุทธวิธี  อย่างหนึ่งที่ดึงความสนใจของผู้ฟัง   เมื่อใดที่เรามองผู้ฟัง   ผู้ฟังก็จะมองเรา   ถ้าเราหลบตาผู้ฟัง   ผู้ฟังก็จะไม่มองเรา   และเมื่อใดที่การสื่อสารทางสายตาขาดไปการสื่อสารทางจิตก็จะขาดลง
8.    จงใช้น้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติ  คือพูดเหมือนกับเราคุยกันนั่นเอง อย่าไปดัดเสียง หรือดัดสำเนียงให้มันผิดไปจากธรรมชาติ รวมทั้งอย่าไปเลียนใครอีกด้วย นอกจากจะเรียนเสียงเพื่อเป็นตัวอย่าง หลักการง่ายๆ ในเรื่องน้ำเสียงมีอยู่ว่า
“น้ำเสียงที่ดีที่สุดในการพูดต่อที่ชุมนุมชน ก็คือท่วงทำนองสนทนาตามธรรมชาติผิดกันแต่ว่า จงเปล่งเสียงของท่านให้ดังกว่าเดิมเท่านั้นเอง”
9.    จงใช้ภาษาของผู้ฟัง  หมายความว่า เวลาไปพูดกับใครก็ตาม   พยายามปรับระดับความยากง่ายของถ้อยคำให้เข้ากับผู้ฟังให้ได้   อย่าพูดศัพท์แสงมากเกินไป   เมื่อพูดกับชาวบ้านที่มีการศึกษาน้อย   อย่าพูดเรื่องตลาดมากเกินไป   เมื่อพูดท่ามกลางนักวิชาการ   หรือผู้ที่มีการศึกษาสูง นอกจากนั้นข้อนี้ยังหมายถึงการรู้จักถ้อยคำที่เป็น “ภาษา” ของคนกลุ่มนั้นๆ   เช่นเมื่อพูดกับกรรมกรหาเช้ากินค่ำก็พูดถึงเรื่องค่าครองชีพ   ค่าจ้างขั้นต่ำ   เรื่องปากเรื่องท้อง  พูดกับนักศึกษาก็พูดเรื่องการบ้านการเมือง   การเสียสละเพื่อส่วนรวม   พูดกับนักธุรกิจ   นักลงทุน   ก็พูดถึงเรื่องอัตราดอกเบี้ย   การลดการลงทุน   การขยายข่ายแรงงาน   การแก้ปัญหาในการจัดการต่างๆ
10.    การพูดที่ดีต้องมีการยกตัวอย่างประกอบ    เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น   และถ้าจะให้ดีกว่านั้น ต้องพยายามหาเรื่องสนุกสนานมาสอดแทรกเพื่อให้ผู้ฟังไม่เบื่อหน่ายที่จะฟังต่อ  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ที่ถกเถียงกันมากในหมู่นักวิชาการว่านักวิชาการควรที่จะต้องหัดพูดเรื่องตลกๆหรือไม่ เพราะนักวิชาการต้องการให้ความรู้กับคน   ไม่ใช่ดาวตลกที่ต้องการพูดให้คนขัน   คำตอบที่ได้รับก็คือ   มีแต่วิชาการล้วนๆก็ไม่ดี   คนฟังรับไม่ไหว   คนพูดเท่านั้นที่ไหว   เพราะไม่สนใจว่าจะฟังหรือไม่   แต่ถ้ามีแต่เรื่องที่ตลกและเสียงปรบมือเกินไป   แต่ขาดเนื้อหาสาระก็ไม่ได้ความเหมือนกัน   เวลาของทุกคนมีค่า    ฟังสนุกแล้วก็อยากได้อะไรที่มันเป็นสาระบ้าง

สรุปก็คือ  นักพูดที่ดี  ต้องมีอารมณ์ขันบ้าง  ให้พอเหมาะพอสมควร  อย่าให้มากเกินไป  น้อยไม่เป็นไร  แต่ขอให้มีบ้าง
ทั้งหมดนี้   เป็นข้อแนะนำเบื้องต้น   เพื่อเป็นนักพูดที่ดีในเวลาอันรวดเร็ว  ตามหลักของ คุณ ทินวัฒน์  มฤคพิทักษ์  ส่วนคนที่เก่งแล้ว  อาจไม่ต้องใช้หลักเหล่านี้เลยก็ได้  เพราะคนที่เก่งแล้ว  ทุกอย่างจะไม่มีหลัก  จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ  หลักต่างๆเขามีไว้สำหรับการฝึกเบื้องต้น  หากเราไม่มีหลักก็จะทำให้เริ่มต้นไม่ถูก
แล้วพอไปถามคนที่เขาเก่งๆ  ว่าทำอย่างไร  คนเก่งๆก็มักจะบอกว่า  “ไม่มีหลัก”  ก็เลยจบกันเลย  ไม่ต้องฝึกกันเลย
แต่อย่างไรก็ตาม  เราทุกคนก็คงยอมรับว่าคนทุกคน(ที่ไม่เป็นใบ้)ล้วน “พูดได้”   แต่มีบางคนเท่านั้นที่ “พูดเป็น”
พูดได้  นั้นเราพูดกันมาตั้งแต่ขวบเศษๆ  เปล่งวาจาออกมาเป็นภาษามนุษย์  ฟังได้ก็ฟัง  ฟังไม่ได้ก็ไม่ต้องทนฟัง
ส่วน  พูดเป็น  นั้นหมายถึงการพูดให้คนฟังชื่นชอบ  พูดให้คนเชื่อถือ  คล้อยตามปฏิบัติตาม  พูดเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย  เรื่องง่ายๆเป็นเรื่องสนุก  ซึ่งนับว่าพูดได้ยากมากกว่า  และไม่ใช่ว่าจะทำกันได้ทุกคน


พูดทั้งที    ต้องให้มี    ความเชื่มั่น                                                                                        อย่ามัวสั่น      หวันผวา  น่าสงสาร
จงเตรียมกาย   เตรียมใจ   ให้เบิกบาน
ความกล้าหาญ   บันดาลให้   พูดได้ดี

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘