วิชาการพูด 16

นักพูดที่ประทับใจ
    ผู้ชายอารมณ์ดีคนหนึ่ง ผมบางเหลืออยู่ประมาณครึ่งศีรษะ  เป็นจุดเด่นในบุคลิกของเรา มีท่าทีเชื่อมั่น  ด้วยวัยถึง 46 ปี  ไม่อาจที่จะหยุดต่อมอารมณ์ขันของเขาได้  ผู้ชายคนนี้มีความสามารถในการทำงานมาก   สิ่งที่การันตีได้คือ  ยศ 2 ตำแหน่ง  ชายคนนี้จะเป็นใครไปไม่ได้ หากไม่ใช่  พ.อ.น.พ. พงศักดิ์ ตั้งคณา
    ขอกล่าวถึงชื่อนี้  เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักและคุ้นเคยกันดี  ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเวทีทอล์คโชว์หรือตามโทรทัศน์ช่องต่างๆ  ที่ท่านไปเป็นพิธีกร ซึ่งท่านสามารถทำหน้าที่ตรงนั้นได้ดีมาก   แน่นอนว่าท่านต้องมีเคล็ดลับในการพูดของท่าน  ข้าพเจ้าก็อยากที่จะให้เพื่อน ๆ ได้ทราบวิธีการของท่าน   สรุปได้ดังนี้
    1.  เตรียมตัวให้พร้อม        2.  ซักซ้อมเนื้อหา        3. ท่าทีสง่า
    4.  พูดจาชัดเจน            5.  ไม่เบี่ยงเบนเนื้อหา        6. เวลาพอดี
                    7.สรุปอีกทีจับใจ

ข้อแรก  เตรียมให้พร้อม
    การเตรียมตัวให้พร้อม เป็นเรื่องสำคัญมาก สำหรับการพูด  ก่อนอื่นท่านควรที่จะศึกษา  ข้อมูลเรื่องที่จะพูดให้ดีเสียก่อน  เพื่อจะได้ข้อมูลในเรื่องเหล่านั้น  และแทบทุกอย่าง  เพื่อจะได้เตรียมตัวอย่างดีเพื่อวางแผนล่วงหน้า  หลังจากเตรียมข้อมูล หรือเตรียมบทพูด เขียนตัวอักษรอ่านง่ายหรือตัวใหญ่ แน่นอนว่า การเตรียมตัวให้พร้อมจะนำมาซึ่งความมั่นใจของท่านได้มากทีเดียว

ข้อสอง  ซักซ้อมเนื้อหา
    หลังจากที่ท่านได้เตรียมตัวพร้อมแล้ว   ท่านควรมีการซักซ้อมเนื้อหา  โดยการฝึกพูดบ่อยครั้ง  จะทำให้ท่านแม่นยำในเนื้อหามากขึ้น เพราะถ้าท่านไม่ได้ซักซ้อมการพูด  การขึ้นไปบนเวทีอาจเป็นการพูดที่ติดขัด หรือกลายเป็นการอ่าน  ไม่ใช่การพูดไม่ได้

ข้อสาม  ท่าทีสง่า
    ท่าทีที่กล่าวถึงนี้  หมายถึง   บุคลิกภาพซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับนักพูด  ท่าท่หรือบุคลิกภาพสามารถบอกลักษณะของผู้พูดได้เป็นอย่างดี  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเตรียมตัวหรือความเชื่อมั่น   สิ่งเหล่านี้สามารถมองได้จากท่าทีหรือบุคลิกภาพที่กล่าวมา   เพราะฉะนั้นคนที่เป็นนักพูดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

ข้อสี่ พูดจาชัดเจน
    เป้าหมายของการพูด  ควรจะเป็นการใช้ภาษาพื้นง่าย ๆ ชัดเจน  และสามารถเข้าใจได้  ประโยคสั้นๆ ทำให้ฟังดูกระปรี้กระเปร่า  เข้าใจง่าย  จำง่ายและง่ายที่จะสื่อให้ดี   สารจะซาบซึ้งมากขึ้น  หากพยายามให้มันชัดเจน  เพราะฉะนั้น  ความชัดเจนจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการพูด

ข้อห้า   ไม่เบี่ยงเบนเนื้อหา
    การพูดควรพูดให้ตรงประเด็น  ไม่หลุดลอกเนื้อหาหรือออกนอกเรื่องจนมากเกินไป  เพราะจะทำให้ผู้ฟังจับประเด็นสำคัญของการพูดไม่ได้ และผู้ฟังจะเกิดความเบื่อหน่าย  การไม่เบี่ยงเบนเนื้อหายังรวมถึง   การเตรียมข้อมูลตั้งแต่แรกด้วย  การมีเนื้อหาที่ตรงประเด็น  ชัดเจน  จะทำให้การพูดของคุณน่าสนใจมากขึ้น

ข้อหก   เวลาพอดี
    การรักษาเวลาเป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับการพูด  การเป็นนักพูดที่ดีต้องไม่โกงเวลา  ผู้พูดควรพูดโดยใช้เวลาให้เหมาะสม  เพราะการพูดนานเกินไป  ผู้ฟังอาจเกิดความเบื่อหน่าย  และไม่สนใจฟังท่านพูด   และจะก่อเกิดปัญหาตามมาอีกมาก

ข้อเจ็ด  สรุปอีกทีให้จับใจ
    ถ้าท่านสามารถทำสิ่งที่ผ่านมาทั้งหกข้อได้แล้ว  สิ่งสำคัญที่ท่านไม่ควรลืมคือ  การสรุปสิ่งที่ท่านพูดมา  เพราะการสรุปความนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก  ถ้าท่านสรุปได้ดี  จะนำมาซึ่งความประทับใจและการจดจำต่อผู้ฟัง   วิธีการพูดสรุปที่ประทับใจ  ท่านอาจจะใช้สุภาษิตคำคมต่าง ๆ  หรืออาจคิดคำคมเด็ด ๆ จากตัวท่านเอง   การมีคำคมที่น่าสนใจ  แปลกใหม่  ก็สามารถที่จะสร้างความประทับใจแก่ผู้ฟังได้เป็นอย่างดี    

    เป็นอย่างไรบ้างคะสำหรับเคล็ดลับ  7 ข้อง่าย ๆ ที่ข้าพเจ้าพยายามถอดออกมาจากบุคลิกของพ.อ.น.พ.พงศักดิ์  ตั้งคณา  ผู้ชายที่สามารถใช้คำพูดเรียกรอยยิ้มและคราบน้ำตาจากผู้คนมากมาย  หรือ  แม้แต่น้ำตาจากลูกผู้ชายด้วยกันเอง    ก่อนจบการเขียนครั้งนี้ข้าพเจ้าอยากฝากไว้ว่า
“ความรักจะไม่เป็นความรักถ้าไม่มีการให้
ทฤษฎีก็คงไม่เป็นทฤษฎีหากไม่มีการนำไปใช้”
ลองนำไปใช้กันดูนะคะได้ผลยังไงออย่าลืมบอกกันด้วยนะคะ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘