15อาจารย์สุขุม นวลสกุล

อาจารย์สุขุม นวลสกุล

     นักพูดที่ดิฉันประทับใจคือ อาจารย์สุขุม นวลสกุล ดิฉันรู้จักอาจารย์ครั้งแรกเมื่อครั้งที่ได้ชมรายการ ทีวีวาที ทางช่อง 9 โดยครั้งแรกดิฉันไม่ไดพ้สนใจหรือรู้จักรายการนี้มาก่อนเพราะรายการนี้มรในช่วงดึก แต่พอดีคุณแม่ของดิฉันชื่นชอบรายการนี้มาก ท่านแนะนำดิฉันให้ดูรายการนี้เพราะว่ามีอาจารย์เป็นนักพูดหลายท่านพูดในรายการนี้เสมอๆ ดิฉันจึงติดตามดูรายการนี้ รูปแบบรายการก็สนุกดี มีการแบ่งเป็น 2 ฝ่ายอภิปรายโต้ตอบกันถึงหัวข้อที่กำหนดให้ คล้ายๆการโต้วาทีแต่ไม่มีการตัดสินว่าฝ่ายไหนแพ้หรือชนะ เป็นลักษณะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของทั้ง 2 ฝ่ายมากกว่า อาจารย์แต่ละท่านจะผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมาพูด โดยมีมุขตลกเฉพาะตัวนำมาใช้เรียกเสียงฮาได้ดีมาก เท่าที่ดิฉันจำได้ว่ามีอาจารย์ที่เข้าร่วมอภิปรายในรายการทีวีวาทีนี้ ได้แก่ อาจารย์จตุพล ชมภูนิช , อาจารย์สุนีย์ สินธุเดชะ, อาจารย์พเยาว์ พัฒนพงษ์ , อาจารย์อภิชาติ ดำดี , ดร.เสนีย์ วงศ์มนฑาและอาจารย์สุขุม นวลสกุล โดยมีพิธีกรคือคุณ กรรณิการ์ ธรรมเกษร ดูเหมือนว่าอาจาร์แต่ละท่านดิฉันเคยรู้จักมาก่อนที่จะได้ชมรายการนี้ มีเพียงอาจารย์สุขุมท่านเดียวเท่านั้นที่ดิฉันไม่เคยรู้จักมาก่อน
เมื่อได้ดูรายการนี้แล้วก็รู้สึกชื่นชอบทันที และติดตามดูตลอดเมื่อมีโอกาสดิฉันได้ติดตามอ่านหนังสือของอาจารย์สุขุม ชื่อว่า\" คารมเป็นต่อ \"ซึ่งดิฉันก็ได้ข้อปฏิบัติต่างๆ ของการเป็นนักพูดที่ดีและอาจารย์ยังแนะนำประโยชน์และวิธีการขั้นตอนการเตรียมตัวพูดในสถานการณ์ต่างๆ พร้อมทั้งคุณธรรมนักพูดที่อาจารย์ปฏิบัติทุกครั้งที่จะต้องไปพูดหรือบรรยายในงานต่างๆอาจารย์สุขุมแนะนำว่า ก่อนที่จะไปพูดที่งานใดก็ตามต้องเตรียมตัวให้พร้อมทุกครั้ง โดยต้องทราบหัวข้อเรื่องที่จะต้องพูด เมื่อทราบเรื่องที่จะพูดแล้วต้องประเมินตัวเองด้วยว่ารู้เรื่องที่จะนำไปพูดนั้นดีแค่ไหน แล้วหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นให้ถ่องแท้ เพราะถ้าไม่รู้เรื่องนั้นอย่างถ่องแท้แล้วข้อมูลก็ไม่น่าเชื่อถือและมีไม่มาก คนฟังก็จะรู้สึกว่าไม่ได้อะไรเลยจากการฟัง ทำให้คนที่พูดนั้นเสียเครดิตด้วย และที่สำคัญอาจารย์สุขุมเน้นมากว่าต้องทำความเข้าใจถึงหัวข้อที่จะพูดกับผู้ที่เชิญให้ไปพูดหรือเจ้าภาพให้ตรงกัน ถ้าไม่เช่นนั้นจะเป็นเหมือนการพูดคนละเรื่องเดียวกันหมายถึงทั้งสองฝ่ายคิดว่ากำลังพูดเรื่องเดียวกันอยู่ความจริงเข้าใจกันคนละเรื่อง ซึ่งอาจารย์สุขุมเองก็เคยเจอเรื่องอย่างนี้มาแล้ว
     เมื่อเตรียมตัวพร้อมแล้ว ก็จัดวางเนื้อหาที่จะพูดให้พอดีกับเวลาที่กำหนด ถ้ามีเนื้อหาน้อยเกินไปจะทำให้ผู้ฟังไม่ได้รับข้อมูลเท่าที่ควร อาจารย์สุขุมแนะนำด้วยว่าในการเตรียมเรื่องต้องมีตัวอย่างประกอบเพราะจะทำให้ผู้ฟังไม่รู้สึกเบื่อที่จะฟัง ซึ่งอาจารย์เองก็นำวิธีการยกตัวอย่างทุกครั้งในการพูด หรือแม้กระทั่งในหนังสือของอาจารย์เล่มที่ดิฉันอ่านนี้ อาจารย์ก็ยกตัวอย่างประกอบ ซึ่งตัวอย่างของอาจารย์ก็เป็นประสบการณ์จริงของอาจารย์เองเสียส่วนใหญ่ อาจารย์ให้เหตุผลว่าการยกตัวอย่างจะช่วยให้ผู้ฟังให้ความสนใจที่จะฟังมากกว่าที่จะพูดเพียงเนื้อหาอย่างเดียว เมื่อพูดเสร็จต้องมีการประเมินด้วยว่าพูดได้ดีแค่ไหน โดยอาจารย์ต้องการคำติมากกว่าคำชมเพราะคำตินั้นทำให้รู้จักข้อบกพร่องของตัวเองและแก้ไขตรงจุดนั้นให้ดียิ่งขึ้น
     คุณธรรมนักพูดของอาจารย์สุขุม ที่อาจารย์ยึดเป็นหลักปฏิบัติ และได้แนะนำในหนังสือเล่มนี้ด้วย นั่นคือ    " เตรียมการดี มีความรับผิดชอบ ตอบสนองเต็มที่ ไม่มีเบือนบิด ข้อคิดสร้างสรรค์ " โดยอาจารย์อธิบายความหมายแต่ละคำได้น่าสนใจมาก
ความหมายของคำแรกคือเตรียมการดี ได้แก่การจะไปพูดที่ไหนต้องไม่ประมาท เตรียมการพูด ไม่ใช่ว่าไปพูดที่ไหนเอาแต่ปากไปเพียงอย่างเดียวเรื่องไปรู้เอาข้างหน้า อาจารย์ถือว่า การเตรียมการให้พร้องเป็นการให้เกียรติคนฟัง พูดให้สมกับที่เขาตั้งใจจะฟัง มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหา อะไรควรนำขึ้นมาพูดก่อนหรือะไรควรเอามาพูดตอนท้าย คนฟังจะได้เข้าใจง่ายมีความรับผิดชอบ
     อาจารย์ได้แบ่งความรับผิดชอบออกหลายเรื่องได้แก่
      1. ต้องพูดให้ตรงหัวข้อเรื่อง จะทำให้ผู้ที่ตั้งใจมาฟังเราพูดไม่ผิดหวังและได้ความรู้ข้อคิดจากการรับฟัง
     2.ถ้ารับปากว่าจะไปพูดในงานนั้นแล้วต้องไปตามนัดและตรงเวลา
      ตอบสนองเต็มที่ ในความหมายของอาจารย์นั้นหมายถึง เมื่อขึ้นไปยืนหรือไปนั่งอยู่ต่อหน้าผู้ฟังแล้วต้องแสดงเต็มที่ เตรียมมาอย่างไรต้องออกมาให้ดีอย่างนั้น นึกถึงความตั้งใจของคนฟังเป็นสำคัญไม่มีเบือนบิด ได้แก่ ข้อมูลที่ใช้โดยไม่เจตนาให้เข้าใจผิด เพื่อหวังผลให้ผู้ฟังหลงเชื่อตามที่ผู้พูดต้องการ ซึ่งอาจทำได้โดยข้อมูลบางส่วนและไม่กล่าวถึงข้อมูลส่วนอื่น ซึ่งวิธีการกล่าวข้อมูลเพียงบางส่วนโดยไม่ได้กล่าวส่วนอื่นที่เหลือนั้นควรใช้ในการโต้วาที เป็นการพยายามเอาชนะคู่ต่อสู้ด้วยยุทธต่างๆ ไม่ควรนำมาใช้ในการพูดลักษณะปาฐกถาหรืออภิปรายที่เป็นวิชาการ ต้องการความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูล เพราะถ้าหากโดนจับได้ว่าข้อมูลไม่เป็นความจริง จะทำให้ความน่าเชื่อถือของคนพูดลดลงไป
     ข้อคิดสร้างสรรค์ อาจารย์สุขุมแนะนำว่าคนพูดต้องให้อะไรที่เป็นประโยชน์แก่คนฟัง ไม่ยึดหลักการพูดเพื่อถูกอารมณ์คนฟังหรือสนองความสะใจของผู้พูดและผู้ฟังเท่านั้น หลังจากการพูดจบแล้ว คนที่เป็นผู้ฟังจะต้องมีความรู้สึกว่าไม่เสียเวลาที่ได้ฟัง
การใช้คำพูดไม่ควรใช้คำหยาบคาย หรือไม่สุภาพเพราะเป็นการไม่ให้เกียรติคนฟัง เช่นการยกตัวอย่างลามกอนาจารไม่เหมาะที่จะนำมาพูดบนเวทีหรือต่อหน้าชุมชน เหมาะที่จะพูดในวงแคบๆหรือเฉพาะในหมู่เพื่อนฝูงด้วยกันเท่านั้น
      วิธีการนำเสนอของอาจารย์ที่จะให้ประสบผลสำเร็จ คือ ต้องปูพื้นฐานความน่าเชื่อถือแก่คนฟัง โดยเฉพาะบุคลิกภาพ การแต่งการสุภาพให้ดูน่าเชื่อถือ แนะนำตัวเองหรือให้คนอื่นช่วยแนะนำเพื่อให้คนฟังมีความเชื่อมั่นว่า เราเป็นคนมีพื้นฐานเพียงพอเกี่ยวกับเรื่องที่จะนำมาเสนอ จะทำให้การนำเสนอของเรามีหลักฐานน่ารับฟัง ภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เรียงลำดับเนื้อหาที่เป็นสาระที่อยากให้เขายอมรับหรือเชื่อตามอย่างดี อาจจะแบ่งเป็นข้อๆให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย อ้างเหตุผลหรือตัวอย่างสนับสนุนข้อเสนอจะทำให้ผู้รับฟังข้อเสนอคล้อยตามได้ดีกว่าเสนอแต่หลักการ และต้องพูดรักษาเวลาไม่ให้เกินเวลาหรือใช้เวลาน้อยเกินไป เพราะจะทำให้ผู้รับฟังได้ข้อมูลไม่เต็มที่
     นอกจากนี้วิธีการพูดของอาจารย์สุขุม ยังต้องอาศัยหลักจิตวิทยาเข้ามาช่วยในการพูด โดยอาจารย์ยกตัวอย่างการพูดที่ต้องมีจิตวิทยามาก ได้แก่การพูดชี้แจงหรือแถลงการเมื่อมีม็อบเกิดขึ้น และอาจารย์ยังได้แนะนำวิธีการพูดในงานมงคลสมรส งานวันเกิด หรืแม้กระทั่งวิธีการพูดปฏิเสธโดยไม่ให้เสียความรู้สึกทั้งฝ่ายที่ปฏิเสธและฝ่ายที่ถูกปฏิเสธ
     อาจารย์สุขุมให้ความสำคัญกับการพูดมากเพราะต้องพูดในชีวิตประจำวัน และการพูดเป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิด บุคลิกภาพ หรือแม้กระทั่งปัญญาความรู้และประสบการณ์ ความมีไหวพริบของผู้พูด ที่จะโน้มน้าวจิตใจของผู้ฟังให้เชื่อตามสิ่งที่เราพูด บางคนอาจารย์เห็นว่าน่าตาดี บุคลิกภาพดี แต่งตัวดี ดูภายนอกดีหมด แต่ถ้าได้พูดแล้วไม่ได้เรื่อง ถึงจะหน้าตาดีขนาดไหนถ้าพูดไม่ดีแล้วทุกอย่างจะถูกมองในด้านลบหมดดังที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า         "ความหล่อของคนไม่เหมือนคอนกรีต ที่หล่อแล้วคงทน แต่คนเรายิ่งอยู่ไป ๆ ความหล่อยังจางไปตามกาลเวลา หล่อใหม่ก็ไม่เหมือนเดิม ผิดกับคารมหรือการพูดบางคนยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าไหร่ยิ่งดีวันดีคืน คล่องปากคล่องลิ้น คมคายขึ้น ยิ่งเปรียบเทียบกันได้ชัดว่าอะไรดีกว่ากันระหว่างรูปหล่อกับคารม

อาจารย์สุขุม  นวลสกุล นักพูดที่ประทับใจ

     นักพูดที่ดิฉันประทับใจ คืออาจารย์ สุขุม นวลสกุล ดิฉันรู้จักอาจารย์สุขุมจากรายการ ทีวีวาที ทางช่อง 9 จากนั้นก็พยายามติดตามผลงานของอาจารย์จากรายการต่าง ๆ ที่อาจารย์ได้รับเชิญให้พูดทางทีวี ดิฉันชอบลีลาการพูดของอาจารย์ที่มีมุขตลกแทรกตลอดและมีการยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของอาจารย์เอง เช่นเมื่อมีคนมาทักอาจารย์ว่าใช่อาจารย์สุขุมหรือเปล่าอาจารย์ตอบว่าใช่แล้วคนที่ทักนั้นก็โล่งใจเพราะคิดว่าไม่ใช่อาจารย์เลยกลัวทักผิดเพราะวันนั้นอาจารย์ไม่ได้แต่งตัวเป็นทางการอย่างที่เห็นในทีวี เรื่องนี้อาจารย์สามารถนำมาเล่าขยายความมีการแทรกมุขให้เกินจริงบ้างแต่ก็ยังคงความจริงเดิมอยู่ วึ่งก็เป็นลักษณะการพูดของอาจารย์ ที่อาจารย์มักจะใช้เสมอในการได้รับให้ไปพูดในงานต่าง ๆ
      ดิฉันได้ติดตามผลงานของอาจารย์จาก หนังสือเรื่อง คารมเป็นต่อ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการพูดที่อาจารย์และปฏิบัตินำมาเขียนเป็นหนังสือ เพื่อแนะนำคนที่สนใจในการพูดและต้องประสบผลสำเร็จในการพูดที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
      หลักการพูดหรือคุณธรรมนักพูดของอาจารย์สุขุม ที่อาจารย์ยึดเป็นหลักปฏิบัติตลอดในการพูดได้แก่ \" เตรียมการดี มีความรับผิดชอบ ตอบสนองเต็มที่ ไม่มีเบือนบิด ข้อคิดสร้างสรรค์ \" ซึ่งอาจารย์อธิบายขยายแต่ละข้อความว่าเตรียมการดี ได้แก่ การจะไปพูดที่ไหนต้องไม่ประมาทมีการทำการบ้านคือ เตรียมการพูด การเตรียมตัวให้พร้อมเป็นการให้เกียรติคนฟังคือ พูดให้สมที่เขาตั้งใจจะฟัง ไม่ใช่ว่าไปถึงงานแล้วค่อยถามผู้จัดว่าตกลงจะให้พูดเรื่องอะไร ไม่มีการเตรียมล่วงหน้า ถึงแม้ว่าเรารู้เรื่องนั้นดี ก็ควรมีการเตรียมตัว จัดเรียงเนื้อหาเรื่องที่จะพูด ว่าอะไรควรนำมาพูดก่อนอะไรควรเอาไว้ในตอนท้ายมีความรับผิดชอบ อาจารย์แนะนำว่าควรมีความรับชอบหลายเรื่องเช่น
     1. ต้องพูดให้ตรงหัวข้อเรื่องที่กำหนดให้พูด ผู้ที่มาฟังจะได้ไม่ผิดหวังและรู้สึกเสียเวลาที่มาฟังเราพูด
     2.เมื่อรับปากว่าจะมาพูดในงานนั้นแล้วต้องทำตามที่ได้รับปากไว้
     3.ควรที่จะมาตรงเวลาหรือมาก่อนเวลาเล็กน้อย เพื่อคนที่เชิญเราจะได้สบายใจ หากมีเรื่องจำเป็นที่จะต้องมาช้าควรจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
     ตอบสนองเต็มที่ หมายถึง เมื่อขึ้นไปยืนหรือไปฟังอยู่ต่อหน้าผู้ฟังแล้วต้องแสดงเต็มที่ เตรียมมาดีอย่างไรก็ต้องออกมาดีอย่างนั้น ให้นึกถึงความตั้งใจของคนฟังเป็นสำคัญ เพราะเขาหวังจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดจากเรา ดังนั้นต้องทำเต็มที่เพื่อไม่ให้ผู้มาฟังเราผิดหวังไม่มีเบือนบิด ได้แก่ ข้อมูลที่ใช้โดยไม่เจตนาให้เข้าใจผิดเพื่อหวังผลให้ผู้ฟังหลงเชื่อ ตามที่ผู้พูดต้องการ ซึ่งอาจทำได้โดยข้อมูลบางส่วนและไม่กล่าวถึงข้อมูลส่วนอื่นข้อคิสร้างสรรค์ ตามทัศนะของอาจารย์คนพูดต้องให้อะไรที่เป็นประโยชน์แก่คนฟัง ไม่ใช่ยึดหลักการพูดเพื่อถูกอารมณ์ของคนฟังหรือสนองความสะใจของผู้ฟังเท่านั้น หลังจากการพูดจบแล้วคนที่เป็นผู้ฟังจะต้องมีความรู้สึกว่าไม่เสียเวลาที่ได้ฟัง ซึ่งอาจารย์เน้นมากในเรื่องความรับผิดชอบการพูดเพื่อสร้างความสนุกสนานเร้าอารมณ์ให้คนฟังได้แต่เบื้องหลังเสียงหัวเราะหรือเสียงปรบมือด้วยความพอใจหรืสะใจต้องมีสิ่งที่มีคุณค่าสร้างสรรค์หรือประเทืองปัญญาด้วย
     การใช้คำพูดก็ไม่ควรใช้คำหยาบคายหรือไม่สุภาพเพราะอาจารย์เห็นว่าเป็นการไม่ให้เกียรติคนฟัง อาจารย์สุขุมมีข้อคิดเกี่ยวกับการพูดของอาจารย์ว่า \" ความหล่อของคนไม่เหมือนคอนกรีตที่หล่อแล้วคงอยู่เลย แต่คนเรายิ่งอยู่ไปเรื่อยๆ ความหล่อยิ่งจางไปตามกาลเวลา หล่อใหม่ก็ไม่เหมือนเดิมผิดกับคารมหรือการพูดของคนยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าไร ยิ่งดีวันดีคืน คล่องปากคล่องลิ้น คมคายขึ้น ยิ่งเปรียบเทียบกันได้ชัดว่า อะไรดีกว่ากันระหว่างรูปหล่อกับคารม \"

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘