12ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล

ฟลอเรนซ์  ไนติงเกล
(Florence  Nightingale)

    ฟลอเรนซ์  ไนติงเกล  เป็นผู้ประกอบไปด้วยความเสียสละ  เป็นผู้หญิงคนแรกที่สร้างวิชาพยาบาลขึ้นเป็นวิชาชีพแขนงหนึ่งของวิชาแพทย์
ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เกิดเมื่อวันที่  12  พฤษภาคม  ค.ศ.  1820  ในเมืองฟลอเรนซ์ประเทศอิตาลี  เป็นผู้หญิงที่เกิดในตระกูลสูง  เธอเป็นเด็กฉลาด  ปัญญาดีมาก  ไม่ว่าจะเรียนในวิชาใด  อาจารย์ที่สอนจะต้องออกปากชมว่าเรียนเก่งมาก  จนเป็นความหวังของบิดามารดาว่าลูกสาวคนนี้จะเป็นผู้นำชื่อเสียงเกียรติยศมาสู่วงศ์ตระกูล
    เมื่อฟลอเรสซ์โตเป็นสาว  ความงามและความรู้ทำให้เธอมีชื่อไปทั่วดินแดนยุโรป  บรรดาชายหนุ่มทั้งหลายต่างพากันยินยอมที่จะหมอบแทบเท้า  แต่แล้วไม่มีใครสามารถที่จะเอาชนะใจของเธอได้  ฟลอเรสซ์กลับเป็นฝ่ายนิ่งเฉย  คิดเพียงแต่จะบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่มวลชนทั่วไป  เธออยากเรียนรู้ชีวิตที่แท้จริง  ชีวิตที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดเพราะโรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งเธอเคยอ่านพบในหนังสือของพ่อ  ฟลอเรนซ์สนใจในโรงเรียนสอนการพยาบาลตั้งแต่เด็ก ๆ ด้วยการเล่นพยาบาลตุ๊กตา  และรักษาพยาบาลสัตว์เลี่ยงที่อยู่ในสวนแอบเบย์เสมอ  เมื่ออายุ  18  ระหว่างเดินเล่นกับเพื่อน  ฟลอเรนซ์ถามเพื่อนว่า  “รู้ไหมว่าฉันชอบมองหน้าต่างแถว ๆ นั้นทำไม  ฉันมองเพราะฉันคิดว่าทำอย่างไรดีนะ  จึงจะเปลี่ยนให้เป็นโรงพยาบาลได้  แล้วจะตั้งเตียงอย่างไรดี”
    ฟลอเรนซ์มีความคิดต้องการที่จะพยาบาลคนป่วยเสียจริง ๆ เป็นความใฝ่ฝันมาตั้งแต่ยังเด็ก  จิตใจก็ครุ่นคิดหาทางทำให้สำเร็จ เมื่ออายุ  24  ปีเป็นต้นมา  ฟลอเรนซ์หาโอกาสไปเที่ยวตามสถานพยาบาลต่าง ๆ พร้อมทั้งศึกษาหาความรู้ในด้านการพยาบาลมากขึ้น  ครั้งหนึ่งมีโอกาสได้ไปเที่ยวที่ประเทศเยอรมนี  ฟลอเรสซ์ไม่ลืมที่จะไปเยี่ยมโรงเรียนสอนการพยาบาลฟลีดเนอร์ที่ได้อ่านพบในหนังสือ  เธออยู่ที่นั่น  2  สัปดาห์  เพื่อดูการพยาบาลของโรงเรียนแห่งนั้นและขอฝึกงานแฮร์ฟลีดเนอร์เจ้าของไม่ยอมเชื่อว่าผู้หญิงที่มีความงามและมีเกียรติสูงส่งจะยอมลดตัวลงมาทำงาน  ในสมัยนั้นถือกันว่าเป็นงานชั้นต่ำที่สุดในบรรดางานต่ำ ๆ ทั้งหมด  ในที่สุดก็ต้องเชื่อ
    งานพยาบาลนี้จะหามีผู้มาสมัครเองไม่ได้  ผู้ที่จะทำงานชนิดนี้จะมีก็แต่ผู้หญิงขายตัวที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับมา  แต่แทนที่จะจำคุกเป็นการลงโทษ  ก็มักจะส่งตัวมาทำงานพยาบาลตามสถานพยาบาลต่าง ๆ ดังนั้นเมื่องฟลอเรนซ์แสดงเจตนาต่อบิดามารดาว่าจะเป็นนางพยาบาล  บิดามารดาถึงกับช็อก  และเข้าใจว่าลูกสาวของตนเองเสียสติไปแล้ว  ความหวังของบิดามารดาก็พังทลาย  ฟลอเรนซ์ดูการฝึกงานอยู่ในโรงเรียนพยาบาลประเทศเยอรมนีทำให้คนทั้งหลายเห็นว่าเธอเหมาะสมที่จะเป็นนางพยาบาล  กลับมาได้ไม่นาน  ฟลอเรนซ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลสตรีผู้ทุพพลภาพคนแรกในปี ค.ศ.  1853
    ปี  ค.ศ.  1854  ประเทศอังกฤษยังมีสงครามที่เรียกว่า  Cnimcan War  อยู่ทหารที่บาดเจ็บจากการสู้รบ  และป่วยเป็นโรคต่างพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก เมื่อข่าวนี้ทราบไปถึงกระทรวงกลาโหม  หนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ขอให้รัฐบาลแก้ปัญหานี้  มีหนังสือพิมพ็บางฉบับเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากฟลอเรนซ์
    จากเสียงเรียกร้องทำให้ฟลอเรนซ์ตัดสินใจที่จะช่วยชีวิตของเหล่าทหาร เธอรวบรวมอาสาสมัครขึ้นในตอนแรกเพียง  38  คน  ฟลอเรนซ์วิ่งเต้นจนสุดความสามารถ  ทั้ง ๆ ที่ทางการไม่เห็นด้วยในการใช้ผู้หญิงไปพยาบาลผู้ชายแต่ก็ต้องอนุญาต เพราะพวกเขาเหล่านั้นแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่พร้อมที่จะเสียสละชีวิตและร่างกายของตนต่อเพื่อมนุษย์ด้วยกัน  ฟลอเรนซ์และเพื่อนอาสาสมัครได้ออกเดินทางอย่างแสนยากลำบาก 
    เมื่อมาถึงแล้วก็มีนายทหารคอยขัดขวางอยู่เสมออ้างว่าไม่ต้องการให้ผู้หญิงมายุ่งเกี่ยวกับกิจการทหาร  แต่ฟลอเรนซ์ก็ไม่ละความพยายาม  เธอพยายามที่จะเอาอกเอาใจนายทหารเหล่านั้น  พร้อมทั้งชี้แจงและแก้ไขสิ่งที่บกพร่องต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้ดีขึ้นทำให้สถิติการตายของทหารลดลงเป็นจำนวนมากพวกทหารที่เจ็บป่วยต่างพากันสรรเสริญในความกรุณาปราณีของฟลอเรนซ์เป็นอย่างมาก  เธอพยาบาลคนไข้ทุกวันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เวลานี้ไม่มีใครเกลียดฟลอเรนซ์  ไม่ว่าจะไปทางใดก็มีแต่คนรักใคร่นับถือ  ทหารบางคนถึงกับจูบเงาของเธอ
    ฟลอเรนซ์กลับบ้านเมื่อปี ค.ศ.  1856  เป็นระยะสุดท้ายของสงคราม  เธอกลับมาในสภาพของคนพิการเดินไม่ได้ แต่ความคิดที่จะสร้างสถานพยาบาลก็ไม่ได้หยุดยั้งไปด้วย  เธอคิดตลอดมาว่าจะทำให้สถานพยาบาลทุกแห่งทั้งโลกพยาบาลคนไข้อย่างดี  มีระเบียบ  ปีค.ศ. 1857  ฟลอเรนซ์มอบบ้านของตนเองให้เป็นสถานที่ฝึกหัดวิชานางพยาบาลและทำการสอนวิชาพยาบาลต่าง ๆ ตามแบบอย่างที่เธอเคยพยาบาลมา  ประชาชนต่างพากันสรรเสริญน้ำใจของเธอ ค.ศ.  1858  ฟลอเรสซ์เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง  เรียกว่า  “หัวข้อการพยาบาล”   ให้ความรู้ในกิจการพยาบาลเป็นอย่างดี  ระหว่าง ค.ศ.  1862 – 1890    ฟลอเรนซ์ให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์ในการเปิดโรงเรียนสอนวิชานางพยาบาลตามสถานที่ต่าง ๆ อีกหลายแห่ง
    เมื่อเธออายุ  87  ปี  ได้รับเหรียญ The Other of Merit เป็นเกียรติอย่างสูง  ไม่ว่าครั้งใดที่เธอมีโอกาสนั่งรถเที่ยวเล่นในสวน  ผู้คนที่พบเห็นจะพากันแสดงความยินดี  วิ่งมาล้อมรถของนางไว้  เพื่อแสดงความเคารพและเทอดทูนเธออย่างจริงใจ  ไม่ว่านางจะมีอายุเข้าวัยชราก็ตาม  ก็ยังไม่ยอมที่จะหยุดทำงาน  ทุกวันจะนั่งคิดวาดโครงการว่าจะสร้างโรงพยาบาลแบบใดดี  สร้างโบสถ์แบบไหน  ตลอดจนคิดจะให้โลกเป็นอย่างไรจึงจะทำให้ชีวิตทุกชีวิตมีความสุขกัน ถ้วนหน้า  ฟลอเรนซ์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  13  สิงหาคม  ค.ศ.  1910  อายุประมาณ  90  ปี
    นับว่าฟลอเรนซ์เป็นสตรีผู้เต็มไปด้วยความเมตตากรุณาเป็นผู้เสียสละแล้วทุกสิ่งของชีวิตไม่ว่าจะเป็นความรุ่งเรือง  ความก้าวหน้า  ตลอดจนสมบัติพัสถาน  เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์เป็นสตรีตัวอย่าง  ยากที่จะมีผู้ใดเสมอเหมือน  ทุกท่านที่ทราบเรื่องราว  ก็อดที่ยกย่องนับถือไม่ได้  นางจึงเปรียบดังนางฟ้าบนสวรรค์ที่ลงมาโปรดมนุษย์โลก.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘