10หลวงวิจิตรวาทการ

หลวงวิจิตรวาทการ

นักพูดที่ข้าพเจ้ามีความรู้สึกประทับใจและเลือกนำมาพูดในครั้งนี้ คือ หลวงวิจิตรวาทการ ท่านเป็นนักพูดที่มีเสน่ห์ตรงที่สามารถใช้ถ้อยคำง่าย ๆ แต่เต็มไปด้วยพลัง ให้ความรู้และความซาบซึ้งแก่ผู้ฟังตลอดเวลา ลีลาวิธีพูดเรียบร้อย ลำดับขั้นตอนไม่สับสน ตรึงความสนใจได้ตั้งแต่ต้นจนจบ หลวงวิจิตรฯ จะ รู้สึกว่ามีความสุขในการพูด ขณะเดียวกันผู้ฟังจะรู้สึกเพลิดเพลินกับสาระและน้ำเสียงของท่านสมกับราชทินนาม วิจิตรวาทการ ของท่าน ซึ่งมีความหมายว่า เป็นคนช่างพูดและพูดได้ไพเราะน่าฟังเป็นอย่างยิ่ง
หลวงวิจิตรฯ ไม่ได้เป็นคนพูดเก่งมาแต่เดิม เพราะท่านพูดติดอ่างมาแต่กำเนิดและเป็นเอามากเสียด้วย บิดามารดาของท่านพยายามหาทางแก้ไขมาตั้งแต่เด็กแต่ก็ไม่ดีขึ้น จนกระทั่งท่านสามารถแก้ไขตัวเองได้อาการพูดติดอ่างจึงค่อย ๆ หายไป โดยท่านมีวิธีในการแก้อาการติดอ่าง 2 ประการคือ
     1.พยายามทำให้คำพูดเป็นจังหวะหนักแน่นสม่ำเสมอ
     2.พยายามเป็นนายตัวเอง และมีดวงจิตเป็นสมาธิแน่วแน่อยู่เสมอ เพราะอาการติดอ่างเกี่ยวข้องกับเส้นประสาท ดังนั้นเมื่อใดที่เส้นประสาทของเราสงบและมั่นคง รู้สึกเป็นนายของตัวเองอย่างแท้จริงแล้วก็จะทำให้สามารถพูดได้โดยไม่ติดอ่างเลย และเมื่อหลวงวิจิตรฯ สามารถแก้ไขอาการพูดติดอ่างได้สำเร็จท่านก็ได้กลายเป็นนักพูดที่มีความสามารถมากคนหนึ่ง
หลวงวิจิตรฯ ได้กล่าวถึงสมบัติของนักพูดไว้ว่า วิชานักพูด เป็นศิลปะอันสำคัญอันหนึ่งและผู้ที่เป็นนักพูดก็ต้องนับว่าเป็นผู้มีศิลปะอันประเสริฐอันหนึ่งเหมือนกัน นักพูดเป็นบุคคลจำพวกหนึ่งซึ่งทำให้โลกนี้เป็นที่รื่นรมย์ นักพูดที่ดีย่อมสามารถจะดับความทุกข์และให้ความสุขแก่คนทั้งหลาย โดยการปลุกหรือปลอบหัวใจด้วยคำพูดอันฉลาดของเขา การที่นักพูดเป็นที่พอใจของคนทั้งหลายนั้น ก็เพราะเหตุว่าเขาได้ใช้คำพูดของเขาเป็นเครื่องทำความสุขความรื่นรมย์ให้แก่บุคคล อันที่จริงคนเราที่เกิดมาบนโลก เราจะเห็นโลกเป็นที่สว่างหรือมืดมนก็สุดแต่หัวใจของเราเป็นประมาณ คนที่มีจิตใจสว่างอยู่เสมอ ก็ย่อมจะเห็นโลกเป็นที่สว่าง คนที่มีใจขุ่นมัวอยู่เสมอ ก็จะเห็นโลกเป็นที่มืด แต่ในขณะที่หัวใจของเรากำลังขุ่นมัวหรือท้อถอยหมอมานะอยู่อย่างนี้ คำพูดของนักพูดที่ดี ๆ ย่อมจะเป็นยาอันประเสริฐสำหรับชโลมหัวใจ พระพุทธเจ้าเป็นนักพูดที่ประเสริฐสุดคนหนึ่งของโลก ใครจะเศร้าโศกทุกข์ร้อนขุ่นหมองอย่างไร ถ้าได้เข้าไปถึงพระองค์แล้ว ความเศร้าโศกทุกข์ร้อนขุ่นหมองนั้นก็หายพลัน และความสุขความสบายก็จะมีเข้ามาแทนที่ เพราะเหตุฉะนี้ วิชานักพูดจึงเป็นศิลปะอันสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งอันหนึ่งของโลก
แต่ทว่าวิชาการใด ๆ ย่อมเป็นเหมือนอาวุธที่เราจะนำไปใช้ได้ทั้งในทางดีและทางชั่ว วิชานักพูดก็เช่นเดียวกัน ถ้าผู้เป็นเจ้าของวิชานี้นำเอาไปใช้ในทางไม่ดี ก็อาจจะเป็นผลร้ายได้มาก ฉะนั้นนักพูดจึงไม่ควรใช้คำพูดซึ่งเป็นอาวุธที่สำคัญไปในทางที่ผิด แต่ควรจะใช้ศิลปะอันนี้เพื่อความดีงามแก่ตัวเองและแก่ผู้อื่น ซึ่งหลวงวิจิตรฯ ได้แนะนำถึงวิธีที่จะฝึกฝนในการเป็นนักพูดที่ดีด้วยวิธีการต่อไปนี้
     ประการที่ 1 เราควรทำตัวของเราให้รู้เหตุการณ์ทันสมัยอยู่เสมอ การที่จะทำให้ทราบเหตุการณ์ทันสมัยอยู่เสมอนั้น เราจะต้องอ่านหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยวันละฉบับ ให้ทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้อย่าให้เหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองหรือของโลกผ่านพ้นเราไปโดนที่เราไม่รู้ ข้อนี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะทำให้เราพูดเก่ง ให้เรามีเรื่องสนทนา และให้เราเป็นคนทันสมัยอยู่เสมอ
     ประการที่ 2 เราควรพยายามท่องจำสุภาษิต หรือคำพังเพยไว้ให้มาก ๆ เพราะสุภาษิตนั้นกว่าจะเป็นสุภาษิตขึ้นมาได้ ผู้ตั้งสุภาษิตต้องคิดแล้วคิดอีก และพยายามเอาข้อความที่ก้วงขวางที่สุดมารวมไว้เป็นประโยคที่มีถ้อยคำน้อยที่สุด ฉะนั้นสุภาษิตต่าง ๆ จึงมีถ้อยคำไพเราะสละสลวยอยู่เสมอ ผู้ที่จำสุภาษิตได้มากย่อมจะมีคำพูดสละสลวยดี และมีหลักความคิดอยู่ในใจมากพอที่จะยกมาใช้ช่วยคำพูดได้เสมอ
ประการที่ 3 เวลาอ่านหนังสือต่าง ๆ ที่แต่งดี ๆ นั้น ถ้าพบถ้อยคำที่คมคายเข้าในที่ใด ควรจดจำไว้ หรือจดไว้ในสมุดแห่งหนึ่ง หรือขีดเข้าไว้ในเล่มที่อ่านหนังสือนั้นเอง ถ้าหนังสือนั้นเป็นหนังสือที่ดีจริงแล้วย่อมจะมีถ้อยคำที่คมคายอยู่มากทีเดียว และถ้าเราจำได้มาก ๆ ก็จะเป็นประโยชน์ที่สุด ไม่ใช่ว่าเราจะเอาคำพูดเหล่านั้นมาพูดตามอย่างเขาไป ที่จริงการจำคำพูดที่คมคายไว้ได้ย่อมทำให้เราเกิดมีความคิดหาคำพูดที่คมคายของเราใหม่ บางทีเราอาจจะหาได้ดียิ่งกว่าเดิม หนังสือในภาษาไทยเราที่นับว่ามีคำพูดที่คมคายอยู่มากนั้น ก็เรื่องร้อยแก้วของ น.ม.ส. ซึ่งหลวงวิจิตรเองได้ใช้เป็นแบบอย่าง
ประการที่ 4 ซึ่งเป็นประการที่สำคัญที่สุด ได้แก่ สมาธิ คือ ความคิดแน่วแน่อยู่ในถ้อยคำที่เราพูด และให้เรารู้สึกเป็นนายตัวเองเสมออย่าปล่อยให้มีอะไรมารบกวนใจได้ เช่น ผู้ฟังไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย หรือมีคนฟังน้อยเกินไป หรือมีเสียงอะไรรบกวนในขณะที่พูด ข้อความที่พูดไปก็เสียหมด ข้อความสำคัญที่ควรเอาใจใส่ก็ไม่มีใครเอาใจใส่ ความบางข้อที่คิดไว้ว่าจะมีคนหัวเราะ ก็ไม่มีใครหัวเราะ คราวนี้ตนเองก็รู้สึกเก้อ และท้อใจ พอความเก้อและความท้อใจเกิดขึ้นก็ชักจะเหลวหมดทั้งอัน ต้องรวบรวมกำลังใจให้ดีก่อน พอรู้สึกว่าเป็นนายของตัวเองได้แน่นอนจริง ๆ แล้ว คราวนี้ก็สามารถจะทำอะไรได้ทุกอย่าง จะทำให้คนยิ้มหรือหัวเราะหรือตบมือเมื่อไรก็ได้ แต่ตราบใดที่หัวใจยังไม่แน่วแน่จริง ๆ แล้ว และกำลังดวงจิตยังไม่บังเกิดผล ยังเป็นนายตัวเองไม่ได้หรือรู้สึกยังเกรงกลัวผู้ฟังอยู่แล้ว ให้มีเรื่องดีขบขับเท่าไรก็ไม่มีผล เอาดีไม่ได้เลย ความจริงเป็นอยู่ดังนี้ ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าดวงจิตที่แน่วแน่นั้นเป็นข้อสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักพูดแต่นอกจากกำลังดวงจิตแล้ว เรายังต้องพยายามให้น้ำหนักคำพูดของเรามีอยู่เสมอ การพูดให้มีน้ำหนักนั้นคือจะต้องพูดให้ชัดถ้อยชัดคำ และรู้จักเน้นคำตรงที่ควรจะเน้น เสียงไม่เป็นของสำคัญ เพราะคนที่มีเสียงไม่ดีเลย แต่เป็นนักพูดที่ดีทีถมไป ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าจะต้องพูดให้กระจ่าง และควรพูดช้า ๆ ให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอกันไป มีอยู่บ้างบางแห่งที่ควรจะพูดเร็วกว่าธรรมดา หรือควรจะช้ากว่าธรรมดา ข้อความที่ควรพูดให้เร็วกว่าธรรมดานั้นได้แก่ข้อความที่เป็นประโยคยาว และต้องพูดจนจบประโยคผู้ฟังจึงจะเข้าใจถูกต้อง ประโยคเช่นนี้เราควรพูดให้เร็วกว่าปกติได้ เพราะถ้าพูดช้าไว้ ผู้ฟังอาจเข้าใจผิด หรืออีกอย่างหนึ่ง ข้อความที่เราต้องการให้ผู้ฟังรู้สึกตื่นเต้นนั้นควรพูดให้เร็ว เพราะถ้าพูดช้าความตื่นเต้นก็จะไม่บังเกิด แต่กินความลึกซึ้ง เช่น สุภาษิต หรือเป็นถ้อยคำที่คมคายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราต้องการจะกล่าวให้ผู้ฟังของเราเอาใจใส่จริง ๆ
ยังเหลือข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ท่าทาง มีคนโดยมากเข้าใจผิดไปว่า การออกท่าทางประกบการพูดให้มากๆ นั้นเป็นการดี ที่จริงการออกท่าทางมาก ๆ นั้น กลับจะทำให้คำพูดเสียไป แต่การเคลื่อนไหวบ้างเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่มีอาการหนักแน่นอยู่ในตัวเสมอกลับทำให้ประสบความสำเร็จในการพูดมากกว่า.



นักพูดที่ข้าพเจ้ามีความรู้สึกประทับใจและเลือกนำมาพูดในวันนี้ คือ หลวงวิจิตรวาทการ ฟังชื่อแล้วก็คงจะคุ้นหูกันดี เพราะท่านเป็นนักพูดที่มีความสามารถมากจนได้รับราชทินนามว่า “วิจิตรวาทการ” ซึ่งแปลว่า พูดเก่ง พูดเพราะในอดีตนั้นหลวงวิจิตรฯ ไม่ได้เป็นคนพูดเก่งมาตั้งแต่เด็ก เพราะท่านเคยมีอาการพูดติดอ่างมาแต่กำเนิด บิดามารดาของท่านพยายามหาทางแก้ไขอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น จนในที่สุดหลวงวิจิตรฯก็สามารถแก้ไขตัวเองได้ โดยในเวลาที่ท่านพูดท่านจะพยายามทำให้คำพูดของท่านหนักแน่นเป็นจังหวะสม่ำเสมอ และพยายามทำให้ใจสงบ มั่นคง รู้สึกเป็นนายของตัวเอง เพียงเท่านี้ก็ทำให้ท่านสามารถแก้ไขอาการพูดติดอ่างของท่านได้ และท่านก็ได้กลายมาเป็นนักพูดที่มีความสามารถมากคนหนึ่งสำหรับหลวงวิจิตรฯ แล้วท่านจะคำนึงเสมอว่าการเป็นนักพูดที่ดีนั้นจะเกิดมาจากการฝึกฝนซึ่งวิธีที่ท่านใช้ในการฝึกฝนการพูดของท่านคือ
     ประการที่ 1 เราควรจะทำตัวให้เป็นผู้รู้เหตุการณ์ข่าวสารที่ทันสมัยอยู่เสมอ และวิธีการที่จะทำให้เราทราบเหตุการณ์ทันสมัยอยู่เสมอนั้นก็คือ เราจะต้องอ่านหนังสือพิมพ์อย่างน้อยวันละหนึ่งฉบับเพื่อให้ทราบเหตุการณ์ที่สำคัญของบ้านเมือง ซึ่งข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราพูดเก่ง เพราะทำให้เรามีเรื่องสนทนา และทำให้เราเป็นคนทันสมัยอยู่เสมอ
ประการที่ 2 เราควรพยายามท่องจำสุภาษิต หรือคำพังเพยไว้ให้มาก ๆ เพราะสุภาษิตนั้นกว่าจะเป็นสุภาษิตขึ้นมาได้ ผู้ตั้งสุภาษิตต้องคิดแล้วคิดอีก และพยายามเอาข้อความที่ก้วงขวางที่สุดมารวมไว้เป็นประโยคที่มีถ้อยคำน้อยที่สุด ฉะนั้นสุภาษิตต่าง ๆ จึงมีถ้อยคำไพเราะสละสลวยอยู่เสมอ ผู้ที่จำสุภาษิตได้มากย่อมจะมีคำพูดสละสลวยดี และมีหลักความคิดอยู่ในใจมากพอที่จะยกมาใช้ช่วยคำพูดได้เสมอ
ประการที่ 3 เวลาที่เราอ่านหนังสือต่าง ๆ ที่แต่งดี ๆ ถ้าหากเราพบถ้อยคำที่คมคายเข้าก็ควรพยายามจดจำไว้ หรืออาจจะจดเก็บเอาไว้ในสมุด เพราะการที่เราจำคำพูดที่คมคายไว้ได้ย่อมทำให้เราเกิดมีความคิดหาคำพูดของเราขึ้นมาใหม่ ซึ่งในบางทีเราอาจจะหาได้ดีกว่าเดิมเสียอีก
ประการที่ 4 ซึ่งเป็นประการที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือ สมาธิ เพราะสมาธิจะทำให้เรามีความคิดแน่วแน่อยู่ในถ้อยคำที่เราพูด และทำให้เรารู้สึกเป็นนายของตัวเองอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้มีสิ่งใดมารบกวนได้
นอกจากสมาธิแล้ว เรายังต้องพยายามให้น้ำหนักกับคำพูดของเราอยู่เสมอ โดยการพูดให้ชัดถ้อยชัดคำ รู้จักเน้นตรงคำพูดที่ควรจะเน้น และพูดให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอกันไป อาจจะช้าหรือเร็วบ้างในบางประโยคขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่น ถ้าต้องการให้ผู้ฟังรู้สึกตื่นเต้นก็ควรพูดให้เร็ว เป็นต้น
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เอง คือ เคล็ดลับที่สำคัญที่ทำให้หลวงวิจิตรฯ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักพูดที่มีเสน่ห์ตรงที่สามารถใช้ถ้อยคำง่าย ๆ แต่เต็มไปด้วยพลัง ให้ความรู้และความซาบซึ้งแก่ผู้ฟังตลอดเวลา ลีลาวิธีพูดเรียบร้อย ลำดับขั้นตอนไม่สับสน ตรึงความสนใจได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งท่านเองก็จะรู้สึกว่ามีความสุขในการพูด ขณะเดียวกันผู้ฟังจะรู้สึกเพลิดเพลินกับสาระและน้ำเสียงของท่านสมกับราชทินนาม วิจิตรวาทการ ของท่าน ซึ่งมีความหมายว่า เป็นคนช่างพูดและพูดได้ไพเราะน่าฟังเป็นอย่างยิ่ง.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘