พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 046-050

    ๑๑. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็
ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
            กล่าวบอกคืนด้วยคำว่า ไม่ต้องการ [๑๔ บท]
    ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระพุทธเจ้า.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระธรรม ...
    ๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสงฆ์ ...
    ๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยสิกขา ...
    ๕. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยวินัย ...
    ๖. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยปาติโมกข์ ...
    ๗. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยอุเทศ ...
    ๘. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสิทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า
การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

            กล่าวบอกคืนด้วยคำว่า พ้นดีแล้ว [๑๔ บท]
    ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้
มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้า
พ้นดีแล้วจากพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง
และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระธรรม ...
    ๓. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสงฆ์ ...
    ๔. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากสิกขา ...
    ๕. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากวินัย ...
    ๖. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากปาติโมกข์ ...
    ๗. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากอุเทศ ...
    ๘. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสัทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า
การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
            รวมลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน ๗๘ บท
                    ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น
    ก็อีกอย่างหนึ่ง ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าก็ดี ไวพจน์แห่งพระธรรมก็ดี ไวพจน์แห่ง
พระสงฆ์ก็ดี ไวพจน์แห่งสิกขาก็ดี ไวพจน์แห่งวินัยก็ดี ไวพจน์แห่งปาติโมกข์ก็ดี ไวพจน์แห่ง
อุเทศก็ดี ไวพจน์แห่งพระอุปัชฌายะก็ดี ไวพจน์แห่งพระอาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระสัทธิวิหาริก

ก็ดี ไวพจน์แห่งพระอันเตวาสิกก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วมอุปัชฌายะก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วม
อาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระเพื่อนพรหมจารีก็ดี ไวพจน์แห่งคฤหัสถ์ก็ดี ไวพจน์แห่งอุบาสกก็ดี
ไวพจน์แห่งอารามิกก็ดี ไวพจน์แห่งสามเณรก็ดี ไวพจน์แห่งเดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งสาวก-
เดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่สมณะก็ดี ไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตรก็ดี
แม้อย่างอื่นใด มีอยู่ ภิกษุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็นอาการ เป็นลักษณะ
เป็นนิมิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็น
อันบอกคืน.
                    ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน
    [๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาไม่เป็นอันบอกคืนเป็นอย่างไร?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ย่อมเป็นอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ บอกคืนด้วยไวพจน์เหล่าใด
อันเป็นอาการ เป็นเพศ เป็นนิมิต ภิกษุวิกลจริต บอกคืนสิกขาด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็น
อาการ เป็นเพศ เป็นนิมิต สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน.
    ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักภิกษุวิกลจริต สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน บอกคืนสิกขา สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขา ในสำนักภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา บอกคืนสิกขา สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขา ในสำนักภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา สิกขาย่อมไม่เป็นอัน
บอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

    ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ
สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวเล่น สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวพลาด สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุไม่ประสงค์จะประกาศ แต่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุประสงค์จะประกาศ แต่ไม่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุประกาศแก่ผู้ไม่เข้าใจความ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ภิกษุไม่ประกาศแก่ผู้เข้าใจความ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
    ก็หรือภิกษุไม่ประกาศโดยประการทั้งปวง สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืนด้วยเหตุอย่างนี้แล.
                    สิกขาบทวิภังค์
    [๓๓] ที่ชื่อว่า เมถุนธรรม มีอธิบายว่า ธรรมของอสัตบุรุษ ประเพณีของชาวบ้าน
มรรยาทของคนชั้นต่ำ ธรรมอันชั่วหยาบ ธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุด กิจที่ควรซ่อนเร้น ธรรมอันคน
เป็นคู่ๆ พึงประพฤติร่วมกัน นี้ชื่อว่า เมถุนธรรม.
    [๓๔] ที่ชื่อว่า เสพ ความว่า ภิกษุใดสอดนิมิตเข้าไปทางนิมิต สอดองค์กำเนิดเข้า
ไปทางองค์กำเนิด โดยที่สุดแม้ชั่วเมล็ดงา ภิกษุนั้นชื่อว่า เสพ.
    [๓๕] คำว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ความว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรม แม้
ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร จะกล่าวไปไยในหญิงมนุษย์
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย.
    [๓๖] คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า บุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจมีสรีระคุมกันนั้นเป็น
อยู่ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้วย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อ
สายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
    [๓๗] บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน
อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุ
นั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.

                บทภาชนีย์ มรรคภาณวาร
    [๓๘] หญิง ๓ จำพวก คือ มนุษย์ผู้หญิง ๑ อมนุษย์ผู้หญิง ๑ สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ๑
    อุภโตพยัญชนก ๓ จำพวก คือ มนุษย์อุภโตพยัญชนก ๑ อมนุษย์อุภโตพยัญชนก ๑
สัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก ๑
    บัณเฑาะก์ ๓ จำพวก คือ มนุษย์บัณเฑาะก์ ๑ อมนุษย์บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน-
บัณเฑาะก์ ๑
    ชาย ๓ จำพวก คือ มนุษย์ผู้ชาย ๑ อมนุษย์ผู้ชาย ๑ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ ๑
            หญิง ๓ จำพวก มีมรรคพวกละ ๓ เป็น ๙
    ๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจวรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค ของมนุษย์
ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก
    ๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค ของอมนุษย์
ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก
    ๓. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค ของสัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติปาราชิก
        อุภโตพยัญชนก ๓ จำพวก มีมรรคพวกละ ๓ เป็น ๙
    ๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค ของมนุษย์
อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก
    ๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค ของอมนุษย์
อุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก
    ๓. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค ของสัตว์
ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก ต้องอาบัติปาราชิก
            บัณเฑาะก์ ๓ จำพวก มีมรรคพวกละ ๒ เป็น ๖
    ๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของมนุษย์บัณเฑาะก์
ต้องอาบัติปาราชิก
    ๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๒ คือ วัจจมรรค มุขมรรค ของอมนุษย์บัณเฑาะก์
ต้องอาบัติปาราชิก

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘