วิชาการพูด 03

ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
(อาจารย์  วสันต์  พงศ์สุประดิษฐ์)

    ถ้าดิฉันถามเพื่อน ๆ ว่ารู้จัก  อาจารย์ วสันต์  พงศ์สุประดิษฐ์ ไหม หลาย ๆ คนคงทำหน้า งง แต่ถ้าได้เห็นรูปก็คงจะร้อง อ๋อ !  น้อยคนนักที่จะรู้จักอาจารย์ท่านนี้ เพราะท่านไม่ค่อยจะมีงานทอล์คโชว์สักเท่าไหร่นักแต่ถ้าใครที่ดูรายการทีวีวาที9  ก็จะทราบทันทีว่า อาจารย์ท่านนี้คือใคร คนที่ใส่แว่น  ผอม ๆ พูดเร็ว ๆ อาจารย์จะมีบุคลิก  ท่าทาง การพูดน้ำเสียงซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอาจารย์ซึ่งทำให้เราทราบได้เองว่าอย่างนี้แหละคือ  อาจารย์วสันต์  พงศ์สุประดิษฐ์
    อาจารย์วสันต์  จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  คณะนิติศาสตร์  ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้อาจารย์ก้าวมาสู่การเป็นนักพูดเพราะในการเรียนนั้นเราต้องขวนขวายหาความรู้ยิ่งรู้มากเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น  ซึ่งความรู้นั้นมิใช่หมายรวมถึงเฉพาะในตำราเท่านั้นเราต้องเรียนรู้ สังคม สิ่งรอบข้าง รู้ชีวิต  กฎเกณฑ์  เพราะสิ่งเหล่านี้เราสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาและถ้ายิ่งมีความรู้มากเท่าไหร่ก็จะมีการพัฒนาความคิดกรั่นกรองตัวอักษรและถ่ายทอดมาเป็นคำพูดได้มากขึ้นด้วย ซึ่งนอกจากอาจารย์จะเป็นนักพูดแล้ว อาจารย์ยังทำงานอีกหลายอย่างซึ่งต้องพบปะพูดคุยใช้ภาษาและคำพูดอยู่เสมอ  ประสบการณ์เหล่านี้จึงทำให้อาจารย์วสันต์เป็นนักพูดที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับจากคนในวงการเดียวกันและจากประชาชนด้วย
    นอกจากอาจารย์จะเป็นนักพูดแล้วอาจารย์ยังเป็นนักเขียนมือฉมังคนหนึ่ง ซึ่งหนังสือของอาจารย์นั้นได้ฝากฝีไม้ลายมือและใส่ความเป็นตัวของตัวเองลงไปอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่ออ่านแล้วนั้นรู้สึกเหมือนกำลังฟังอาจารย์พูด ดิฉันชอบงานเขียนของอาจารย์หลาย ๆ เรื่อง เช่น   กินเพื่ออยู่หรืออยู่เพื่อกินทำให้เราได้เกิดความรู้สึกว่าอาหารที่เราทานเข้าไปนั้นราคาของมันเมื่อเทียบกับคนที่จนเขาสามารถทานข้าวได้เป็นอาทิตย์อาหารที่เราทานเหลือบางคนยังไม่มีทานทำให้รู้ว่าชีวิตคนเราแตกต่างกัน บางคนมีมากล้นจนบางคนมองข้ามค่าของสิ่งของหรือวัตถุนั้นไป แต่บางคนแทบจะไม่มีเลยเขาจะให้ความสำคัญให้คุณค่าของสิ่งของหรือวัตถุนั้นมากถนุถนอมให้อยู่ได้นานที่สุด  เพราะเมื่อหมดไปเมื่อไหร่นั้นก็หมายถึงว่าต้องหามาให้ได้ซึ่งการได้มานั้นได้มาซึ่งความยากลำบาก  คนที่มีมากจนไม่เห็นค่าของวัตถุหรือสิ่งของนั้น จะเห็นค่าก็ต่อเมื่อแทบจะไม่เหลืออะไรเลย ซึ่งอาจเป็นการสายไป งานชิ้นนี้ทำให้เราเห็นค่าของวัตถุสิ่งของและค่าของเงินเพิ่มมากขึ้น
    งานเขียนอีกชิ้นหนึ่งที่ฉันชอบคือเรื่อง  ปัจจัยที่ 5  คนเราอยู่ได้ต้องอาศัยปัจจัย 4 ประการ  ซึ่งปัจจุบันทุกบ้าน ๆ มักต้องการมีปัจจัยที่ 5 เพื่อต้องการความรวดเร็วความสะดวกสบาย ความโก้เก๋นั่นก็คือ รถ บางคนทำงานหนัก เก็บเงินเพื่อซื้อรถราคาแพง ๆเพราะปัจจุบันคนเรามองกันเพียงภายนอก  เช่นการแต่งตัว ยี่ห้อรถ ซึ่งเบื้องหลังแล้วอาจเป็นหนี้เป็นสิน บ้านก็ต้องเช่าเขาอยู่  เพชรนิลจินดาที่ใส่นั้นที่เป็นของปลอมเพราะคนเราอยู่ในสังคมใส่หน้ากาก  ยกย่องคนมีฐานะดูถูกคนจน บางครั้งคนที่แต่งตัวธรรมดานั้นอาจมีฐานะดีกว่าก็เป็นได้ถ้าเราไม่มองกันเพียงเปลือกที่อยู่ภายนอก  สังคมเราคงจะดีขึ้นกว่านี้  คงจะไม่มีปัจจัยที่ 5 ที่ 6 ที่  7  ตามมาแต่ปัจจัยที่เพิ่มขึ้นนั้นจะเป็นประโยชน์กับตัวเราอย่างสูงสุดก็ต่อเมื่อเราใช้มันอย่างคุ้มค่า เห็นความสำคัญกับปัจจัยที่เพิ่มขึ้นจริง ๆ
    ในงานเขียนของอาจารย์นั้นอาจารย์จะนำเหตุการณ์และสถานการณ์ที่อยู่ใกล้ ๆ ตัวเรานำมาเขียนในรูปแบบการประชดประชันแต่แฝงไว้ด้วยข้อคิด ถึงแม้ว่าจะใช้คำพูดที่แรง เพราะอาจารย์ต้องการให้เราได้คิดตาม อาจารย์มักมีกลอนนำมาเสนอเพื่อให้เข้ากับเนื้อเรื่อง  และเพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความรู้สึกมากยิ่งขึ้นเช่น  อาจารย์เขียนเรื่องพฤษภาทมิฬ   เป็นการประชดประชาชนที่จำวันที่เป็นประวัติศาสตร์ไทยไม่ได้แต่กลับจำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ได้และประชด
นักการเมืองที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นและยกกลอนขึ้นมาในตอนท้าย คือ 
“หมากัดหมา ไม่สำคัญ  เพราะนั่นหมา
มันมีค่า เพียงดิรัจฉ์ สัตว์หน้าขน
แต่คนมีปัญญา เข่นฆ่าคน
ดังเหตุผล เยี่ยงหมาเชอะ…….หน้าอาย!

    ในการพูดหรือเขียนนั้นถ้าเรายกตัวอย่างก็เพื่อจะทำให้เราได้เห็นภาพ ส่วนกลอนนั้นก็เพื่อเน้นย้ำความรู้สึก  ดิฉันจึงชอบที่จะอ่านหนังสือหรือฟังอาจารย์พูด  ผลงานที่มาจากอาจารย์ทุกชิ้นนั้นแสดงให้เห็นถึงความเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง
    ดิฉันเชื่อว่าถ้าหลาย ๆ คนได้รู้จักกับอาจารย์ทั้งด้านผลงานทางด้านการพูดและผลงานทางด้านการเขียน  ดิฉันแน่ใจได้ว่าทุกคนต้องยอมรับในฝีไม้ลายมือของอาจารย์อย่างแน่นอน นักพูดที่มากความสามารถในวันนี้  อาจารย์  วสันต์  พงศ์สุประดิษฐ์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘