พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 036-040

    ๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
    ๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
    ๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
    ๕. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
    ๖. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
    ๗. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
    ๘. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิหาริก ...
    ๑๑. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
        กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า หากว่า [๘ บท]
    ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์. ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
    ๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
    ๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
    ๕. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
    ๖. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

    ๗. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
    ๘. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
            กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า ผิว่า [๑๔ บท]
    ๑. อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความ
เป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอัน
บอกคืน.
    ๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
    ๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
    ๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
    ๕. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
    ๖. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
    ๗. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
    ๘. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็
ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาบทไม่เป็นอันบอกคืน.

        กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า ผิว่า [๘ บท]
    ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
    ๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
    ๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
    ๕. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
    ๖. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
    ๗. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
    ๘. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็
ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
        กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า มีความดำริ [๑๔ บท]
    ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอก
คืนพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่
เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
    ๓. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
    ๔. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
    ๕. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...

    ๖. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
    ๗. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
    ๘. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่าง
นี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
        กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า มีความดำริว่า [๘ บท]
    ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินยอม ใคร่จะเคลื่อนจากความ
สมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็น
คฤหัสถ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอัน
บอกคืน
    ๒. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
    ๓. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
    ๔. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
    ๕. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
    ๖. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
    ๗. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
    ๘. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

                    อ้างวัตถุที่รำลึก [๑๗ บท]
    ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงมารดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบิดา ...
    ๓. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่ชายน้องชาย ...
    ๔. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่หญิงน้องหญิง ...
    ๕. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบุตร ...
    ๖. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงธิดา ...
    ๗. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงภริยา ...
    ๘. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่ญาติ ...
    ๙. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่มิตร ...
    ๑๐. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบ้าน ...
    ๑๑. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงนิคม ...
    ๑๒. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงนา ...
    ๑๓. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงสวน ...
    ๑๔. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงเงิน ...
    ๑๕. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงทอง ...
    ๑๖. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงศิลปะ ...
    ๑๗. ... ข้าพเจ้าหวนรำลึกถึงการหัวเราะ การเจรจา การเล่นในครั้งก่อน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
                    แสดงความห่วงใย [๙ บท]
    ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็น
สมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา-

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘