พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้า 031-035

พระอานนท์เจ้าข้า พวกกระผมขอโอกาส ขอท่านได้โปรดกรุณากราบทูลความข้อนี้ แด่พระผู้มี
พระภาค.
    ได้ จ้ะ ท่านพระอานนท์รับคำของพวกวัชชีบุตรชาวพระนครเวสาลี แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มี
พระภาค กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ การที่ตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกขาบทที่บัญญัติ
แล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งพวกวัชชีหรือพวกวัชชีบุตรนั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
                ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ ๒
    [๒๔] ครั้งนั้นพระองค์ทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลเป็นภิกษุ ไม่บอกคืน
สิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม ผู้นั้นมาแล้ว สงฆ์ไม่พึงอุปสมบทให้
ส่วนผู้ใดแล เป็นภิกษุ บอกคืนสิกขา ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม
ผู้นั้นมาแล้ว สงฆ์พึงอุปสมบทให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                พระอนุบัญญัติ ๒
    ๑. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมซึ่งสิกขาบทและสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่
บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาส มิได้.
                    สิกขาบทวิภังค์
    [๒๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ
อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด
เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
    [๒๖] บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า
ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า

ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน
อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์
พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะนี้ ชื่อว่า ภิกษุ
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
    [๒๗] บทว่า สิกขา ได้แก่สิกขา ๓ ประการคือ อธิสีลสิขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญา-
สิกขา บรรดาสิกขา ๓ ประการเหล่านั้น อธิสีลสิกขานี้ ชื่อว่า สิกขา ที่ทรงประสงค์ใน
อรรถนี้.
    [๒๘] ชื่อว่า สาชีพ อธิบายว่า สิกขาบทใด ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ สิกขาบท
นั้น ชื่อว่า สาชีพ ภิกษุศึกษาในสาชีพนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า ถึงพร้อมซึ่งสาชีพ.
    [๒๙] คำว่า ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง ทรงอธิบายไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืนก็มี ภิกษุทั้งหลาย
การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาเป็นอันบอกคืนก็มี.
            ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน [๑๖๐ บท]
    [๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การกระทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอัน
บอกคืน เป็นอย่างไร?
            กล่าวบอกคืนด้วยคำรำพึงว่าไฉนหนอ [๑๔ บท]
    ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

    ๒. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนา
ความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็น
สาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร
ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน
    ๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
    ๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
    ๕. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
    ๖. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
    ๗. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
    ๘. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...
    ๑๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
        กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำรำพึงว่า ไฉนหนอ [๘ บท]
    ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็น
สมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

    ๒. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
    ๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
    ๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
    ๕. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
    ๖. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
    ๗. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
    ๘. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้
อย่างนี้ก็เชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
        กล่าวว่าบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า ก็ถ้าว่า [๑๔ บท]
    ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ...
    ๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ...
    ๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ...
    ๕. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...
    ๖. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ...
    ๗. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ...
    ๘. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ...
    ๙. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ...
    ๑๐. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ...
    ๑๑. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ...
    ๑๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

    ๑๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ...
    ๑๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
        กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า ก็ถ้าว่า [๘ บท]
    ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น
ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
    ๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ...
    ๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ...
    ๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ...
    ๕. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ...
    ๖. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...
    ๗. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ...
    ๘. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
        กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า หากว่า [๑๔ บท]
    ๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ
เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา
ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น
เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความ
เป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระ-
พุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็น
อันบอกคืน.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘