เทคนิคการพูด 03

๑.๒ จงเชื่อมั่นในตนเอง
๑.๓ จงปรากฏตัวอย่างสง่าผ่าเผย
๑.๔ จงพูดโดยใช้เสียงอันเป็นธรรมชาติ
๑.๕ จงใช้ท่าทางประกอบการพูดให้พอเหมาะ
๑.๖ จงใช้สายตาให้เป็นผลดีต่อการพูด
๑.๗ จงใช้ภาษาที่ง่ายและสุภาพ
๑.๘ จงใช้อารมณ์ขัน
๑.๙ จงจริงใจ
๑.๑๐ จงหมั่นฝึกฝน

๒. หลักเบื้องต้นเจ็ดประการ ของ ซาเร์ทท์ และ ฟอสเตอร์
     ซาเร์ทท์ (Sareet) และ ฟอสเตอร์ (Foster) ได้ให้หลักเบื้องต้น ๗ ประการสำหรับฝึกในการพูดไว้ดังต่อไปนี้
๒.๑ การพูดที่ดีมิใช่เป็นการแสดง แต่เป็นการสื่อความหมาย
๒.๒ ผลสำคัญของการพูดที่ดี ก็คือ การสร้างปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้ฟังได้สำเร็จ
๒.๓ ผู้พูดที่ดีย่อมรู้จัดวิธีการต่างๆ ในการพูดเพื่อที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความใส่ใจอย่างเต็มที่เมื่อผู้พูดต้องการ
๒.๔ การพูดที่ดีต้องมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ตรงไปตรงมาง่ายๆ เป็นกันเองมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
๒.๕ ผู้พูดที่สามารถ คือ บุคคลที่สามารถเป็นผู้มีเสถียรภาพทางอารมณ์ มีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและต่อผู้ฟัง
๒.๖ การที่ผู้ฟังจะมีความรู้สึกประทับใจอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้พูดนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะต่างๆ ในตัวผู้พูดเอง
โดนเฉพาะลักษณะที่ ไม่ใคร่ปรากฏ เด่นชัด
๒.๗ อิริยาบถที่เหมาะสมเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ที่ช่วยทำให้เกิดการพูดนั้น ๆ เป็นการพูดที่ดี

๓. หลักบันได ๗ ขั้นของการพูด ของ ดร.นิพนธ์ ศศิธร
     ดร.นิพนธ์ ศศิธร ได้กล่าวถึงบันได ๗ ขั้นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จแห่งการเป็นนักพูดที่ประสบความสำเร็จ ดังนี้
๓.๑ การรวบรวมเนื้อหาที่จะพูด
๓.๒ การจัดระเบียบเรื่อง
๓.๓ การหาข้อความอื่นๆ มาประกอบหรือขยายความออกไป
๓.๔ การเตรียมอารัมภบทหรือบทนำ
๓.๕ การเตรียมบทสรุป
๓.๖ การซักซ้อมการพูด
๓.๗ การแสดงการพูด
     ซึ่งบันไดทั้ง ๗ ขั้นของการพูดข้างต้น มีเนื้อหาที่น่าสนใจ ผู้เรียบเรียงจึงขอสรุปและเรียบเรียงมาไว้ ให้เห็นพอสังเขปดังนี้

บันไดขั้นที่หนึ่ง : การรวบรวมเนื้อหาสาระที่จะพูด
     ความสำเร็จในการพูดอยู่ที่การผสมกลมกลืนอย่างแนบสนิทระหว่างความรู้สึกและเหตุผล ดังนั้น การเตรียมตัวที่ดี จึงควรเริ่มต้นจากข้อกำหนดและความคิดเห็นของผู้พูดเสียก่อน แล้วเอาสิ่งเหล่านี้มาทำเป็นโครงร่างไว้ จากนั้นจึงค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอื่นๆ มาประกอบให้สมบูรณ์ต่อไป บันไดขั้นที่ ๑ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
๑. เริ่มต้นด้วยความคิดก่อนว่าในเรื่องที่จะพูดก่อนนั้นมีเนื้อหาอะไรบ้างที่รู้ดีอยู่แล้ว และยังมีอะไรอีกบ้างที่ยังไม่รู้และจะต้องค้นคว้าต่อไป
๒. รวบรวมเนื้อหาจากการสังเกตการณ์ การสังเกตการณ์ที่ดีจะต้องกระทำด้วยตนเองโดยตรงอย่างครบถ้วน ถูกต้องแม่นยำ และปราศจากความลำเอียง ต้องสามารถแยกจุดเด่นจากการสังเกตการณ์ที่ได้มาให้ได้  
๓. รวบรวมเนื้อหาจากการติดต่อกับบุคคลอื่น โดยการสนทนา การสัมภาษณ์ หรือการติดต่อทางจดหมาย แต่ละอย่างก็มีหลักเกณฑ์โดยเฉพาะออกไปอีก ซึ่งจะไม่กล่าวไว้ ณ ที่นี้ ๔. รวบรวมเนื้อหาจากการอ่าน ต้องอ่านให้เป็นไม่ใช้ตะลุยอ่านไปโดยไม่มีหลักเกณฑ์จะเสียเวลาโดยไม่มีประโยชน์

บันไดขั้นที่สอง : การจัดระเบียบเรื่อง
 บันไดขั้นที่ ๒ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
๑. การเขียนโครงเรื่อง เพื่อเป็นหลักในการดำเนินการขยายความเพิ่มเติมต่อไป อย่างมีระเบียบ และมีความต่อเนื่องกัน โดยการรวบรวมและแบ่งแยกแนวความคิดใหญ่ ๆ ออกเป็นหมวดหมู่เป็นข้อย่อย ๆ ลดหลั่นกันไป
๒. การจัดระเบียบเนื้อเรื่องที่จะพูด เป็นการเลือกใจความสำคัญของเรื่อง จดบันทึกแล้วแยกแยะ ให้เข้าหมวดหมู่ ตามความเหมาะสมต่อไป มี ๖ แบบให้เลือกกระทำดังนี้
๒.๑ เรียงตามลำดับเวลา
๒.๒ เรียงตามลำดับสถานที่
๒.๓ เรียงตามลำดับเรื่อง
๒.๔ แบบเสนอปัญหาและวิธีแก้
๒.๕ แบบแสดงเหตุและผล
๒.๖ แบบเสนอเป็นข้อเท็จจริง

แบบต่างๆ ทั้ง ๖ แบบที่กล่าวนี้ อาจเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งหรือหลายแบบผสมกันไปก็ได้

บันไดขั้นที่สาม : การหาข้อความอื่น ๆ มาประกอบหรือขยายความออกไป
มีหลักในการปฏิบัติดังนี้
๑. หารูปแบบของการขยายความ โดยอาจใช้วิธีการดังนี้
๑.๑ โดยการยกอุทาหรณ์หรือตัวอย่าง
๑.๒ โดยการใช้สติ
๑.๓ โดยการเปรียบเทียบหรืออุปมา
๑.๔ โดยการอ้างอิงคำพูดหรือคำกล่าวของบุคคลอื่นที่มีน้ำหนักในเรื่องนั้นๆ
๑.๕ โดยการกล่าวซ้ำหรือย้ำโดยเปลี่ยนวิธีการพูดใหม่
๑.๖ โดยการอธิบายเพิ่มเติมให้กระจ่างแจ้ง
๑.๗ โดยการใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยา


๒. การใช้ทัศนูปกรณ์กระกอบ ต้องใช้เหมาะสม ไม่ใช้พร่ำเพรื่อ หรือเบี่ยงเบนความสนใจ ของผู้ฟังออกไป จากเรื่องที่พูดนั้น

๓. ข้อความที่จะนำมาขยายหรือประกอบนั้น จะต้องเสริมสร้างความสนใจของผู้ฟังให้ตั้งใจฟังมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเรื่องหรือ ข้อความที่ยกมาจะต้องมีลักษณะดังนี้
๓.๑ เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์หรือความเป็นอยู่ของผู้ฟังมากที่สุด
๓.๒ ทำให้ผู้ฟังเห็นภาพหรือเข้าใจชัดเจนจริง ๆ
๓.๓ เป็นเรื่องที่สำคัญหรือโดดเด่น
๓.๔ ไม่ทำให้ผู้ฟังเปลี่ยนความสนใจ หรือเปลี่ยนอารมณ์ของผู้ฟังไปในทางที่ไม่ต้องการ
๓.๕ ถ้าเป็นเรื่องขำขัน ต้องสุภาพ ไม่ก้าวร้าวผู้ฟัง และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องไม่ใช่ออกนอกเรื่อง

บันไดขั้นที่สี่ : การเตรียมอารัมภบทหรือบทนำ
มีหลักในการปฏิบัติดังนี้
๑. การใช้ คำนำ เพื่อเรียกร้องให้เกิดความสนใจมีความสำคัญมากที่สุด การเรียกร้องให้เกิดความสนใจ อาจกระทำได้ โดยวิธีการต่างๆ ดังเช่น
๑.๑ เน้นถึงความสำคัญของเรื่องที่จะพูด
๑.๒ ใช้เรื่องหรือคำพูดที่คำขัน แต่อย่าใช้มากจนทำให้ผู้พูดเป็นตัวตลกจนเกินไป
๑.๓ ยกอุทาหรณ์ที่ตรงกับเรื่องหรือไม่ออกนอกเรื่อง
๑.๔ เริ่มด้วยการยกข้อความหรือคำพูดที่ก่อให้เกิดความตื่นใจ ซึ้งใจ หรือไพเราะ
๑.๕ กล่าวถึงความรู้สึก ความเชื่อถือ ผลประโยชน์ หรือความเป็นอยู่ร่วมกัน ก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียว
กัน ไม่ใช่ศัตรูกัน
๑.๖ กล่าวนำด้วยการตั้งปัญหาที่เร้าใจ
๑.๗ ใช้คำพูดที่เร้าใจ หรือไพเราะน่าสนใจ
๑.๘ กล่าวสรรเสริญยกย่องผู้ฟัง

๒. การทำให้เรื่องกระจ่างขึ้น
๒.๑ กล่าวถึงจุดใหญ่ ๆ ที่จะพูด
๒.๒ กล่าวถึงหัวข้อเรื่องที่สำคัญ
๒.๓ พรรณนาถึงเบื้องหลังหรือประวัติของเรื่องนั้น ๆ



๓. ข้อที่ไม่ควรกระทำ
๓.๑ ออกตัวหรือขอโทษว่าเตรียมตัวมาไม่พอ หรือมีความรู้ไม่ดีพอ
๓.๒ พูดเยิ่นเย้อวกวนไปมา
๓.๓ พูดจาเป็นเชิงดุแคลนผู้ฟัง
๓.๔ พูดออกนอกเรื่อง

บันไดขั้นที่ห้า : การเตรียมบทสรุป
ประกอบด้วยหลักการสำคัญ ๆ ดังนี้
๑.๑ กล่าวถึงข้อใหญ่ใจความของเรื่องทั้งหมด
๑.๒ เรียงลำดับหัวข้อความคิดที่ได้กล่าวมาแล้ว
๑.๓ อธิบายทบทวน

๒. เร้าใจให้เกิดผลตามที่ต้องการ
๒.๑ ใช้เฉพาะการพูดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อจูงใจผู้ฟังเท่านั้น
๒.๒ แสดงให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้ฟังทำอะไร
๒.๓ จะต้องชักจูงทั้งอารมณ์และเชาวน์ปัญญาของผู้ฟัง

๓. ข้อที่ควรหลีกเลี่ยงในการสรุป
๓.๑ ขอโทษว่าเตรียมตัวมาไม่พอ หรือมีความรู้ไม่ดีพอ
๓.๒ สรุปสั้นเกินไป หรือเยิ่นเย้อเกินไป
๓.๓ เสนอความคิดใหม่ที่สำคัญขึ้นมา
๓.๔ พูดออกนอกเรื่อง
๓.๕ ทำให้ผู้ฟังขาดความสนใจ

บันไดขั้นที่หก : การซักซ้อมการพูด
      มีความสำคัญมาก เพราะทำให้ผู้พูดจำเนื้อหาที่จะพูดได้ ไม่ประหม่า และมีท่าทางเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ในขั้นนี้ผู้พูดต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
๑. ซ้อมที่ไหน
๒. ซ้อมเมื่อไร
๓. ซ้อมอย่างไร แบ่งออกเป็น
๓.๑ กำหนดการพูด น้ำเสียง และท่าทาง
๓.๒ ปรับปรุงถ้อยคำให้สละสลวย
บันไดขั้นที่เจ็ด : การแสดงการพูด

แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน
ส่วนที่ ๑ หลักการทั่วไป
๑. หลักการทั่วไปสำหรับการแสดงการพูด มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
๑.๑ พูดให้ผู้ฟังเกิดภาพพจน์และเข้าใจชัดแจ้ง
๑.๒ พูดให้เข้ากับสถานการณ์ทั้งหมด
๑.๓ พูดจากใจจริง
๑.๔ สุภาพ ไม่อวดอ้าง
๑.๕ มีความเชื่อมั่น และก่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผุ้ฟัง
๑.๖ ไม่ทำให้ผู้ฟังหลงเพลินแต่เฉพาะน้ำเสียงหรือท่าทางเท่านั้น
๑.๗ มีชีวิตชีวา

ส่วนที่ ๒ การใช้กิริยาท่าทางประกอบ
การใช้กิริยาท่าทางประกอบ มีความสำคัญเนื่องจาก
๑. ช่วยให้ปรับตัวเป็นปกติได้ดีขึ้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘