วิชาการพูด 02

คารมเป็นต่อ

    มีคำพังเพยเชื่อถือสืบกันมาวลีหนึ่งว่า  "คารมเป็นต่อ  รูปหล่อเป็นรอง"  ซึ่งปรากฏอยู่ในสังคมไทยอย่างชัดเจน  เราจะเห็นได้คนที่มีคารมดีพูดเก่งมักจะเป็นที่ยอมรับมากกว่าคนหล่อ  คนสวยคนหล่อนั้นใครเห็นก็ต้องชอบแต่เห็นบ่อยๆเข้าก็ชินตา  ผิดกับคนที่พูดเก่ง  ไม่น่าเบื่อ ฟังแล้วได้สาระบ้างไม่ได้สาระบ้างแต่ก็สนุกสนาน  อย่างเช่น ถ้ากลุ่มของเพื่อนเรามีเพื่อนสวย  หล่อ และพูดเก่ง หากวันไหนที่เพื่อนคนที่สวย หล่อ ไม่มาเราก็ไม่รู้สึกอะไรธรรมดาเฉย ๆ  หากว่าเพื่อนคน
ที่คุยเก่งไม่มานั้น มันเหมือนกับขาดอะไรไปสักอย่างหนึ่ง เพราะว่าความหล่อ สวย นั้นจางหายไป
กับเวลา  ผิดกับคนที่มีคารมดีหรือการพูดของคน  ยิ่งพูดยิ่งมีประสบการณ์  ยิ่งมีประสบการณ์ก็ยิ่งทำให้การพูดนั้นดีขึ้นทุกๆ วัน  คารมคมคายมากขึ้น  และที่สำคัญก็ยิ่งได้เปรียบว่าคารมดีย่อมดีกว่ารูปหล่อ อย่างแน่นอน
    การพูดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิต จะพูดให้คนชังหรือว่าจะพูดให้คนชอบก็ย่อมได้
ทั้งนั้น   อาจารย์สุขุมจึงมีบันไดนักพูดเพื่อให้นักพูดได้ฝึกฝนตนเอง
ขั้นแรก   การอยากเป็นนักพูดนั้นก็ต้อง “ชอบการพูด”  ถ้าหากไม่ชอบก็คงเป็นนักพูดไม่ได้  แล้วการชอบของเราก็ต้องเป็นการกล้าแสดงออก  ถ้ามีโอกาสได้พูด เพื่อนขอให้เราเป็นพิธีกรงานแต่งงานเราก็ต้องไม่ปฏิเสธ
ขั้นที่สอง  คือ “การชอบฟัง” เพราะการฟังเป็นคุณสมบัติของผู้อยากเป็นนักพูด  หากเราติดตามนักพูดที่เราชื่นชอบ เราจะได้เห็นคารมหรือศิลปะในการนำเสนอที่สามารถสะกดใจผู้ฟัง  แต่การฟังไม่ใช่การจดจำมุก หรือแก๊กต่างๆของนักพูดมาเป็นของตนเอง หรือคิดเลียบแบบ เพราะนั่นไม่ใช่วิสัยของนักพูดที่ดี  นอกจากนี้การฟัง ทำให้เรามีความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น มีโลกทัศน์ที่กว้างขวาง
ขั้นที่สาม คือ “การอ่าน” เพราะการอ่านทำให้เรามีข้อมูล  และมีทุนสำรองไว้ในการพูดมากขึ้น  ถ้าเราอ่านมากเท่าใด  เราก็จะมีเรื่องพูดมากขึ้นเท่านั้น และเรายังสามารถที่จะตกแต่ระบายสีเพื่อเพิ่ม
อรรพรสให้น่าฟังมากยิ่งขึ้น
    จากขั้นที่สอง และขั้นที่สาม เป็นการรวมรวมข้อมูลในการพูด และการพูดของเราจะประสบความสำเร็จได้นั้น
ขั้นที่สี่  เราต้องการสร้างแก๊ก หรือมุขเป็นของตนเอง  โดยการจดจำ แง่คิด ข้อสังเกตแปลกๆ  มุมที่ไม่ค่อยมีใครมองหรือมองแล้วแต่ไม่เห็น  และควรเป็นของใหม่ๆ แปลกๆหรือเป็นเรื่องราวที่ผู้พูดได้เผชิญด้วยตนเอง  หยิงยกตัวอย่างของประสบการจริงบ้างแล้วจดลงในสมุดบันทึกเพื่อที่นำมาสร้างเป็นแก๊กของตนเอง ประการสำคัญที่สุดของการสร้างแก๊กหรือมุขตลกนั้น  ต้องเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเองให้มากซึ่งเป็นเสน่ห์ประจำกายที่ทำให้มีแรงดังดูดผู้ฟังให้อยากฟังเราเป็นการเฉพาะ  แทนที่จะเป็นไม่ประดับอาจจะกลายเป็นไม้ยืนต้นที่คงทนถาวรได้
ขั้นที่ห้า  “การแสดง”  กล่าวคือ  การพูดก็ควรใส่การแสดง  ประกอบเข้าไปด้วย  เพราะจะทำให้การพูดมีรสชาติ เร้าใจหรือปลุกอารมณ์คนฟังได้  ควรมีลีลาไม่ใช่เพียงแต่ใช้มือประกอบตามหลักการพูดเท่านั้น แต่เป็นการแสดงออกท่าทางที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังมากยิ่งขึ้น
การเตรียมการพูด  นักพูดหลายท่านมักจะเตรียมตัวการพูดมาก่อนหน้าที่จะขึ้นเวที เพราะการเตรียมการพูดจะทำให้เรามั่นใจในการพูดมากขึ้น  สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดคือ  "หัวข้อ"
ที่จะพูด  เราต้องสอบถามว่าหัวข้อที่จะให้พูดนั้นอยู่ในประเด็นใด  มีจุดประสงค์เพื่ออะไร นักพูด
ควรถามอย่างละเอียด หรือให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อไม่ให้เราหลงประเด็นในการพูด นอกจากนี้เราควรพิจารณาว่าเราพอจะรู้เรื่องนั้นหรือไม่  หากว่าไม่รู้เรื่องหรือมีข้อมูลไม่เพียงพอก็จะหาข้อมูลเพิ่มเติม ค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อให้ข้อมูลของเรามีมากขึ้นและน่าเชื่อถือ
    คนฟังคือใครก่อนไปต้องรู้   เป็นสิ่งสำคัญที่นำพูดควรให้ความสนใจ  ว่าผู้ฟัง "เป็นใครมาจากไหน"  เพราะเป็นหน้าที่ของผู้พูดที่จะต้องวิเคราะห์ว่าผู้ฟังมีความสามรถในการรับฟังอย่างไร
เพราะผู้ฟังแต่ละกลุ่มก็ย่อมที่จะมีความเข้าใจ มีความสนใจที่แตกต่างกันออกไปแม้จะอยู่ในวัยเดียวกันก็ตาม เช่น หัวข้อง "การสร้างความสำเร็จให้ชีวิต" หากผู้ฟังที่เป็นผู้ที่อยู่ในขั้นหางานทำหรือพึ่งจบปริญญามาใหม่ๆ ก็มีการพูดที่แตกต่างไปการพูดให้นักศึกษาฟัง  และก็ยังแตกต่างไปจากการพูดให้นักเรียนฟัง  ดังนั้นการที่นักพูดทราบว่าผู้ฟังเป็นใครมาจากไหน จะทำให้ผู้พูดวางเนื้อเรื่องให้สอดคล้องกับผู้ฟังได้
    นอกจากจะคำนึงถึงว่าผู้ฟังเป็นใครแล้ว  ยังต้องคำนึงว่าการพูดของเรานั้นเป็นการโจมตีตัวผู้ฟังเองหรือเปล่า บางครั้งการพูด ผู้พูดอาจจะพูดดูเหมือนว่าผู้ฟังที่อยู่ในที่นั้นเป็นคนกระทำความผิด ใช้คำหยาบคาย โจมตีตัวผู้ฟัง  โดยไม่ได้เจตนา ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเกิดความไม่พอใจและการพูดของเราไม่ประสบความสำเร็จได้
    การวางเนื้อหา    หลักการหรือข้อมูลที่เป็นประเด็นหลักที่จะพูดนั้นไม่ควรที่จะมากหรือน้อยจนเกินไป  หากหลักการหรือประเด็นหลักมีมากจนเกินไปจะทำให้กลายเป็นสอนหนังสือ เป็นการบรรยายหรือปาฐกถาแล้วทำให้ผู้ฟังมีอาการง่วงเหงาหาวนอนไม่ได้ประโยชน์อะไรในการฟัง
ส่วนเรื่องหวักการหรือประเด็นหลักที่มีน้อยจนเกินไปก็ไม่เหมาะสมเพราะว่า  เมื่อฟังบรรยายหรือการพูดของเราเสร็จ จะทำให้ผู้ฟังเหมือนกับว่าไม่ได้รับความรู้อะไรเลยเสียเวลานั่งฟังมาตั้งนานเป็นการพูดประเภทแกงที่มีแต่น้ำใส่เนื้อน้อยไปหน่อย
    นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญในการเตรียมเรื่องก็คือ  ตัวอย่าง   เพราะสิ่งนี้เองที่จะให้หลักการที่นำเสนอไม่แห้งแล้งไร้ชีวิตชีวา  ตัวอย่างจะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพพจน์ หรือเห็นจริงตามที่เราพูดได้  คนเป็นนักพูดจะต้องสะสมตัวอย่างไว้ให้มาก  เวลาพูดที่ไหนก็สามารถหยิบยกตัวอย่างที่เก็บไว้ เอามาสอดประดับหลักการได้ทุกครั้งไป
    ตัวอย่างที่เรานำมาประดับการพูดของเรานั้นก็ต้องขึ้นอยู่ว่าเราไปพูดในหัวข้อหรือการพูดแบบใด  หากเป็นการสัมมนาทางวิชาการหรือเป็นการจัดอบรม ก็ควรเป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง แต่ถ้าเป็นการพูดแบบ  TALK  SHOW เช่น การแซววาที หรือโต้วาที เพื่อความสนุกสนานเฮฮาก็อาจใช้ตัวอย่างแบบเว่อร์ๆที่คนฟังรู้เท่าๆ กับผู้พูดว่าไม่ใช่เรื่องจริงหรือทำอย่างไรก็เป็นจริงไม่ได้เพราะการพูดแบบนี้เน้นความสนุกสนานเป็นหลัก
    นักพูดที่ดีต้องมีประเมิน    นักพูดจะสามารถพัฒนาหรือปรับปรุงการพูดให้ดีขึ้นนั้น คือ
"การประเมิน"  เป็นการวิเคราะห์ว่าที่เราแสดงการพูดไปแล้วเมื่อสักครู่นี้ นั้นเป็นอย่างไรบ้าง โดยพยายามติดตามผลที่ตอบสนองว่าคนฟังรู้สึกอย่างไรบ้างพอใจหรือไม่พอใจ เข้าใจหรือไม่เข้าใจ
วิธีการประเมินที่ทำได้ง่ายคือถามคนที่เข้าฟังที่มาทักทายเราเพื่อที่จะได้ทราบจุดด้อยหรือจุดเด่นในการพูด เพื่อที่จะนำไปแก้ไขในการพูดครั้งต่อไป  แต่บางครั้งหากคนฟังเป็นคนมี"มารยาทางสังคม"
อาจจะสรรเสริญ  ยกย่องเรา ก็อย่าหลงตามคำบอกเล่าเหล่านั้น  เพราะการประเมินประเด็นหลักคือ
"ฟังคำวิจารณ์เพื่อแก้ไข"    นอกจากให้คนอื่นประเมินเราแล้ว  เราต้องประเมินตัวของเราเองด้วย ในทุกครั้งที่มีการพูดหลังจากที่พูดจบแล้วควรนั่งนึกย้อนกลับไปว่าเราพูดแล้วดีมากน้อยแค่ไหน พอใจ
มากน้อยแค่ไหน  เพื่อให้เป็นบทเรียนแก่เราในการพัฒนาการพูดในวันข้างหน้า อย่าปล่อยให้การพูดในแต่ละครั้งจบลงแค่ตรงนั้นหรือเป็นการโล่งใจที่ได้พูดไปแล้ว แต่การพูดแต่ละครั้งควรให้ข้อคิดให้แก่ตัวผู้พูดเอง
    นักพูดที่ดีต้องมีคุณธรรม หรือมีจรรยาบรรณในการพูด  คือ เตรียมการดี  มีความรับผิดชอบ  ตอบสนองเต็มที่  ไม่มีบิดเบือน  และข้อคิดสร้างสรรค์  ซึ่งขออธิบายเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้ " เตรียมการดี "  คือ การจะไปพูดที่ไหนต้องไม่ประมาทมีการทำการบ้าน คือการเตรียมการพูด  ถึงแม้เราจะรู้เรื่องนั้นเป็นอย่างดีก็ควรมีการเตรียมตัวมาบ้าง  เพื่อจัดเรียงลำดับเนื้อหาเรื่องที่จะพูดให้ดี  คนฟังจะได้รื่นหู  เข้าใจง่าย ฟังแล้วไม่สับสนจับต้นชนปลายไม่ได้
    ต่อมานักพูดต้อง  "มีความรับผิดชอบ"  เรื่องแรก คือต้องพูดใหตรงกับหัวข้อเรื่องที่เขาให้พูดไม่ใช่รับปากเขาพูดเรื่องหนึ่ง แต่กลับพูดอีกเรื่องหนึ่ง   เรื่องที่สอง  คือ รับปากเขาแล้วอย่าเบี้ยว
ถ้าไม่ได้เจ็บป่วยถึงขนาดต้องเข้าโรงพยาบาล  ล้มหมอนนอนเสื่อก็ต้องมา เพราะถ้าหากเรายกเลิกกระทันหันก็ย่อมจะสร้างผลเสียงให้แก่ตัวเราเอง และสถาบันหรือบริษัทที่ให้เราไปพูด  เรื่องที่สามคือ เรื่องของ  เวลา  นักพูดควรไปให้ตรงเวลา  ต้องไม่ลืมว่าหากเรามาช้าหรือมาสายมีคนฟังจำนวนมากรอเราเพียงคนเดียวซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่งามและไม่ควรกระทำ  ทางที่ดีควรมาก่อนเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง  แต่หากไปก่อนเวลามากจนเกินไปอาจทำให้คนจัดต้องคอยดูแลและรับรองเราอีก
    การ "ตอบสนองเต็มที่"  คือ เมื่อขึ้นไปยืนหรือนั่งอยู่ต่อหน้าผู้ฟังแล้วต้องแสดงออกให้เต็มที่  เตรียมมาอย่างไรก็ต้องออกไปให้ดีอย่างนั้นโดยนึกถึงความตั้งใจของคนฟังเป็นสำคัญ ควรทำให้เต็มที่และสุดความสามารถของตนเอง
    ส่วน  "การไม่มีเบือนบิด" คือ การบิดเบือนข้อมูล  ถึงไม่ได้โกหกแต่พูดความจริงเพียงบางส่วน  ไม่พูดทั้งหมดเจตนาให้คนฟังเข้าใจไปอีกทางหนึ่งแม้จะไม่ได้พูดเท็จแต่ถ้าประเมินกันจริงๆ  แล้วน่าจะแย่กว่าการโกหกเสียอีกเพราะแสดงให้เห็นถึงการทีเล่ห์เลี่ยมเพื่อหลอกลวงผู้อื่นไม่เหมาะในการพูดให้ใครฟัง
    ข้อสุดท้าย  "ข้อคิดสร้างสรรค์"  ผู้พูดต้องให้ข้อมูลหรือการพูดที่เป็นประโยชน์แต่คนฟังไม่ใชยัดหลักการพูดเพื่อถูกอารมณ์คนฟังหรือสนองความสะใจของผู้ฟังเท่านั้น เมื่อการพูดจบแล้วผู้ฟังจะต้องมีความรู้สึกว่าไม่เสียเวลาที่ได้ฟัง  เบื้องหลังของเสียงหัวเราะหรือเสียงปรบมือด้วยความพอใจหรือสะใจต้องมีสิ่งที่มีคุณค่าสร้างสรรค์หรือประเทืองปัญญาด้วย
    ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือทางแห่งความสำเร็จของคนที่จะก้าวไปเป็นนักพูด  หรือการที่จะก้าวไปเป็นนักพูดที่ดีในอนาคตได้  นับว่า อาจารย์  สุขุม  นวลสกุล ได้ให้เทคนิคการพูดที่เป็นแบบฉบับลับเฉพาะตัวที่เปิดเผยให้แก่ผู้ที่สนใจหรือรักการเป็นนักพูดในอนาคต
อาจารย์สุขุม  นวลสกุล  เป็นนักพูดที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ เพราะว่าเคยไปฟัง TALK  SHOW ที่อาจารย์มาจัดที่หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  โดยการพูดครั้งนั้นทำให้ข้าพเจ้าประทับใจในลีลาการพูด  การวางเนื้อหาได้อย่างน่าสนใจและเป็นปรมาจารย์นักพูดที่นักพูดหลายท่านได้ยกย่องทำให้ข้าพเจ้าติดตามงานของอาจารย์ทางโทรทัศน์ที่อาจารย์มาพูดอยู่เสมอ









                            กนกพรรณ  คำวงศ์ปิน
                                4101447


บทพูด…นักพูดที่ข้าพเจ้าประทับใจ

คารมเป็นต่อ

มีคำพังเพยที่เชื่อถือกันมานานแล้วนะคะว่า  “คารมเป็นต่อ  รูปหล่อเป็นรอง”  ชายหนุ่มหลายคนพยายามที่จะฝึกตนเองให้เป็นคนคารมคมคายมากกว่าการที่จะทำให้ตัวเองนั้นหล่อขึ้นซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ยากทีเดียว  ยิ่งคารมดีหน้าตาใช้ได้ก็สามารถพิชิตใจสาวหลายๆคนได้ไม่อยาก    และ
ในทางเดียวกัน   หากผู้หญิงต้องการสร้างเสน่ห์ให้กับตัวเองก็ต้องเป็นคนร่าเริงคุยเก่ง  เฮฮา ไม่ใช่เอาแต่ ค่ะ ขา อย่างเดียว ก็ไม่ค่อยมีเสน่ห์ในการพูดเอาเสียเลย   ดังนั้นการเป็นคนที่มีคารมคมคายในการพูดย่อมดีกว่าคนหน้าตาดีจริงไหมค่ะ
การที่เราจะเป็นผู้ที่มีคารมคมคายหรือเป็นผู้พูดที่จะเล่าเรื่อง เรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สาวๆ หรือชายหนุ่มฟัง เราก็ต้องเป็นนักพูดที่ดีด้วย คือต้องเตรียมการดี  มีความรับผิดชอบ  สนองตอบเต็มที่  ไม่มีบิดเบือน และข้อคิดสร้างสรรค์  ซึ่งดิฉันจะขออธิบายแต่ละข้อนะคะว่ามีวิธีการเป็นอย่างไร
เตรียมการดี  การที่เราจะไปพูดแต่ละครั้งก็ต้องมีการเตรียมการ โดยกำหนดหัวข้อให้แน่นอนเพื่อไม่ให้หลงประเด็นและต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติม   การหาข้อมูลแวดล้อมต่างๆจากนิตยสารหนังสือพิมพ์ต่างเพื่อเพิ่มเนื้อหาในการพูด  และต้องดูวัยและความสนใจในขณะนั้นด้วย  หากชายหนุ่มไปเล่าเรื่องฟุตบอลให้ฟังกับหญิงสาวที่ชอบการแต่งตัวก็คงจะไม่น่าสนใจ และที่สำคัญ ต้องมีแก๊กหรือมุข ที่เป็นของตนเองหรือจะหยิบยืมคนอื่นมาก็ได้เพื่อให้การเล่าเรื่องของเราสนุกมากยิ่งขึ้น
มีความรับผิดชอบ  เรานัดเค้าไว้กี่โมงก็อย่ามาสายนะ คะ  เพราะจะทำให้คนรอนะเบื่อและเซ็งอารมณ์  ถ้ายิ่งเรามาเล่าเรื่องที่ไม่สนุก มีเนื้อหาที่ไม่น่าสนใจแล้วหล่ะก็   การคุยกันของเราก็กลายเป็นงานกร่อยไปโดยปริยาย
ตอนสนองเต็มที่   หากเราได้เรื่องที่จะคุยแล้ว  ก็ต้องแสดงออกอย่างเต็มที่ เราเตรียมตัวมาอย่างไรเราก็พูดอย่างนั้น  หากว่าต้องใช้ "การแสดง"ประกอบการพูด  ก็ต้องทำเพื่อให้เกิดความสมจริงและความสนุกสนานเฮฮา   รับรองว่าการพูดของเราจะไม่น่าเบื่อ เวลาที่เราพูดต่อหน้าเพื่อนๆ จะได้ไม่เป็นการสลายม๊อบ ที่ไม่มีใครฟังเราเลย
ไม่มีบิดเบือน   หากเราได้ข้อมูลอะไรมา เราก็ต้องพูดไปตามความจริง  หรือจะบิดเบือนเล็กน้อยแม้เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพิ่มอารมณ์หรือรสชาติในการพูดนั้นไม่ได้  เพราะการพูดของเราจะทำให้คนอื่นเสียหาย และเกิดความเข้าใจผิดซึ่งกันและกันได้
ข้อคิดสร้างสรรค์   ถ้าเราต้องเล่าเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นก็ต้องเป็นเรื่องที่ให้ประโยชน์หรือให้ข้อคิดแก่คนฟังได้   ถ้าเป็นเรื่องที่ตลกที่ปล่อยมุขฮากันตลอดทั้งเรื่อง   เราก็ควรทิ้งท้ายให้แง่คิดสักนิดเพื่อที่จะไม่ให้คนฟังได้ประโยชน์บ้างเล็กน้อยจากกันฟัง  ทั้งฟังได้ประโยชน์สาระ และยังได้เสียงหัวเราะอีกด้วย  นับได้ว่าการพูดของเราก็ประสบความสำเร็จได้
   
หากว่า พี่ ๆเพื่อนๆ  ต้องการที่จะดูการพัฒนาการพูดหรือคารมของเรานั้น  หลังจากที่โชว์ลีลาการพูดของเราไปแล้วนั้นต้องมีการประเมินผลจะเป็นการไปแอบถามเพื่อนในกลุ่มเป็นการส่วนตัว  หรือเป็นการประเมินผลด้วยตัวเองนั้นย่อมทำได้เหมือนกัน เพราะการประเมินผล นั้นทำให้เรามีการพัฒนารู้ข้อเด่นข้อด้วยของตัวเอง และนำไปปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น 
    การที่เราประเมินผลในการพูดหรือแม้แต่การประเมินผลชีวิตของเราเอง  ไม่ว่าจะเป็น  เรื่องของการเรียน  ความรัก  การใช้ชีวิต  เราลองประเมินผลเองดูสักครั้ง  บางครั้งมันอาจจะให้แง่คิด หรือมุมมองที่แปลกใหม่  หรือข้อบกพร่องในตัวของเราเอง ที่จะทำให้เราสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้น
หรือที่ดีอยู่แล้วก็ให้ดียิ่งขึ้นไป   ดิฉันเชื่อมั่นว่าการประเมินผลแต่ละครั้ง  นั้นย่อมนำมาสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘