[517][82]ดูศัพท์–จำศัพท์–พูดได้ไม่ติดศัพท์ (dictionarying)

สวัสดีครับ
การจะพูดภาษาได้ เอาแค่พอพูดได้ ไม่ต้องพูดคล่อง-ไม่ต้องพูดเก่ง สิ่งแรกที่สุดก็น่าจะเป็นเรื่องรู้ศัพท์ ก็ศัพท์พื้นฐานง่าย ๆ นี่แหละครับ แต่ถ้าต้องพูดเจาะจงลงไปในสาขาใดโดยเฉพาะก็ต้องรู้ศัพท์เทคนิคของสาขานั้น

แต่ เนื่องจากชีวิตประจำวันของเราอาจจะไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับศัพท์ภาษา อังกฤษเลย พอนานๆครั้งมีเรื่องให้ต้องพูดภาษาอังกฤษก็เลยนึกศัพท์ไม่ออก หรือนึกได้ช้าเกินไป ทั้ง ๆ ที่ศัพท์พวกนี้ถ้ามีใครพูดออกมาเราก็พอจะฟังรู้เรื่อง

แต่ ถ้าเราถูกกระตุ้นสัก 2 – 3 ครั้งให้จำศัพท์คำใดคำหนึ่งให้ได้ พอมันเริ่ม ‘ตรึง’ เข้าในสมองแล้ว เมื่อถึงภาวะเฉพาะหน้าที่จะต้องพูด เราก็เรียกมันออกมาใช้งานได้ไม่ยาก ผมคิดเปรียนเทียบกับการฉีดยาป้องกันบาดทะยัก เมื่อฉีดเข็มที่ 1 แล้ว เว้นนาน 1 ปีก็ฉีดเข็มที่ 2 เว้นนานอีก 1 ปีก็ฉีดเข็มที่ 3 พอครบ 3 เข็มแล้วก็ไม่ต้องฉีดอีก ป้องกันบาดทะยักไปได้ 20 ปี หรือตลอดชีวิต อะไรทำนองนี้ การกระตุ้นตัวเองสัก 2 – 3 ครั้งเพื่อให้จำศัพท์คำใดคำหนึ่งให้ได้ก็มีลักษณะเดียวกัน ขอ เพียงแต่ว่าในนาที-ในวินาทีที่กระตุ้นตัวเองให้จำศัพท์คำนั้น ให้ focus สมาธิเหมือนตรึงหมุดปักศัพท์ไว้ในสมอง ได้ย้ำ 2 – 3 ครั้งแบบนี้ก็จะลืมยาก
และกิจกรรมที่ผมเคยเสนอเพื่อจำศัพท์ให้ได้ด้วยวิธีนี้ คือ dictionarying


Dictionarying : = การไล่ดูศัพท์ในดิกชันนารีเพื่อเพิ่มพูนความรู้หรือคำศัพท์ของตนเอง

ผมเคยเขียนแนะนำทำนองนี้ไว้ 3 ครั้งแล้ว ที่ 3 ลิงค์นี้ครับ

[3] 'เกม 'dictionarying: - - สนุกและท้าทาย !
[407] 1,000 คำศัพท์ไทยที่ใช้บ่อย (พร้อมคำแปล)
3 พันคำ ศัพท์ไทยเป็นอังกฤษ ที่น่ารู้

และวันนี้ผมขอแนะนำอีก 1 ครั้ง เชิญคลิกที่ลิงค์ข้างล่างนี้ครับ

Dictionarying Thai to English

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘