Psychoanalysis in Behavioral finance

จากตัวอย่างในตอนที่แล้วเราได้เห็นมุมมองของกลุ่มที่สังเกตุจาก สิ่งเร้าที่นำไปสู่การตอบสนองกันไปแล้ว
คราวนี้ลองมาดูมุมมองของกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับ กระบวน(process)ของของจิตใจเป็นหลัก ในขณะที่กลุ่มพฤติกรรมจะมองข้ามส่วนนี้ไป
การวิเคราะห์กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในจิตจะเป็นเรื่องละเอียดซับซ้อน ไม่ตรงไปตรงมาเหมือนกลุ่มพฤติกรรมนิยม ผมเชื่อว่าพอได้อ่านทฤษฎีหรือแนวคิดของกลุ่มนี้แล้วอาจมีหลายคนที่ไม่เห็นด้วย
เมื่อหุ้นที่ตัวเองถืออยู่เริ่มมีมูลค่าลดลงเรื่อย ๆ จิตใจของนักลงทุนจะได้รับสิ่งเร้าทางลบเกิดเป็นความคับข้องใจ ที่จุดนี้จะเป็นที่ ๆ ความกลัวในจิตใต้สำนึกของเขาต้องต่อสู้กับหลักการหรือตัวอย่างการลงทุนต่าง ๆ ที่เขาได้เรียนรู้มาซึ่งหากความกลัวชนะพวกเขาจะขายทันที
แต่หากหลักการหรือสิ่งยึดเหนี่ยวของเขาเอาชนะความกลัวได้ ความกลัวหรือความคับข้องใจของเขาจะถูกเก็บกด(Repression)เอาไว้ในระดับจิต ใต้สำนึก
นักลงทุนทุกคนไม่ว่าจะมือเก่าหรือมือใหม่ ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นระยะยาว VI หรือ VS ทุกคนต่างเก็บกดความคับข้องใจเอาไว้ในลักษณะต่าง ๆ กันรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
ความคับข้องใจจากการที่หุ้นในมือมีมูลค่าลดลงนั้น หากมีในปริมาณที่พอดี จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลิคภาพ/ทักษะในการลงทุน
แต่หากมีมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดปัญหา
เมื่อหุ้นลงหนักขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่นักลงทุนยังคงมีหุ้นอยู่ในมือ ความกลัวความคับข้องใจของเขาจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในจุดนี้เองที่กลไกในการป้องกันตัวของจิตใจจะเข้ามามีบทบาท เมื่อความคับข้องใจของเขามีมากเกินไป
กลไกในการป้องกันตัวของจิตใจถึงแม้ชื่อจะบอกว่าเป็นการป้องกัน แต่ผมมองว่ามันกลับเป็นตัวสร้างปัญหามากกว่า ที่สำคัญคือคนเรามักไม่รู้ตัวเวลาจิตใต้สำนึกของพวกเขากำลังส่งผลต่อ พฤติกรรมของเขาเอง
บุคคลที่กำลังป้องกันจิตใจของตัวเองอยู่มักไม่รู้สึกถึงความไร้เหตุผล หรือ การแสดงออกที่ไม่ปกติ ของพฤติกรรมของพวกเขา
หากเห็นคนที่ตกรถไฟที่มักจะบอกว่าหุ้นแพงเกินพื้นฐานไปแล้ว แล้วมาเชียร์ให้หุ้นลง
หรือคนเล่นมาร์จิ้นเต็มพอร์ตออกมาเชียร์เย้ว ๆ เวลาหุ้นขึ้น หรือวาดฝันว่าดัชนีจะไปเท่านั้นเท่านี้
หรือคนที่ถัวเฉลี่ยหุ้นตัวเดียวพอมันลงต่อเรื่อย ๆ แล้วหาเหตุผลสารพันมาสนับสนุนตัวเอง
ก็ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าพวกเขากำลังระเหิดความคับข้องใจจากจิตใต้สำนึกออกมาโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว
สำหรับนักลงทุนที่ขาดความหนักแน่นในหลักการ อันได้แก่ นักลงทุนที่ไม่ได้วิเคราะห์ธุรกิจด้วยตนเอง หรือ นักเทคนิคที่ไม่ได้ทดสอบโมเดลของเขามาดีพอ มักจะพ่ายแพ้ต่อความกลัว ในกรณีของนักลงทุนเขาจะขายมันออกไปในที่สุด ในกรณีของนักเทคนิคเขาจะไม่ปฎิบัติตาม หรือ ปฎิบัตินอกเหนือจากแผนการที่วางเอาไว้ตามรูปแบบที่ควรจะเป็น โดยที่กลไกในการป้องกันตัวของเขาจะหาทางออกเป็นรูปธรรมให้ โดยเขามักจะมีเหตุผลต่าง ๆ มาสนับสนุนตัวเองเสมอ  นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้นักลงทุนรายย่อยหลาย ๆ คน ที่ไม่รีบ cutloss แต่เนิ่น ๆ กลับมาขายเอาตอนที่หุ้นลงมามากแล้ว

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘