สูตรของ kelly กับการลงทุน

ในคราวที่แล้วที่ผมได้กล่าวถึง สูตรเคลลี่ ซึ่งหลาย ๆ คนอาจเริ่มสงสัยกันบ้างแล้วเกี่ยวกับที่มาที่ไปของสูตร รวมถึงการประยุกต์ใช้ เพราะสูตรเคลลี่ ดูไม่ค่อยจะเหมือนสูตรที่จะเอามาใช้ในการลงทุนทั่ว ๆ ไปสักเท่าใดนัก

ที่จริงแล้วสูตรของเคลลี่หากจะให้พูดกันตรง ๆ แล้วคือ คิดขึ้นมาสำหรับใช้ bet กับการพนันนั่นแหละครับ ส่วนคนที่เอาไปทดลองจนโด่งดังขึ้นมาก็เอาไปทดลองกับ poker จนร่ำรวย
(แต่ผมไม่สนันสนุนการพนันนะครับ)

ที่ต่างกับตลาดหุ้นหรือการลงทุนทั่วไปก็คือ
1. การ bet ของเคลลี่ไม่ขึ้นกับเวลา ก็คือการ bet แต่ละครั้งสามารถวัดผลได้เกือบจะทันที ส่วนในตลาดจะมีเรื่องของจังหวะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถ้าเราต้องการตัดข้อจำกัดนี้ก็ทำได้โดยการกำหนดเวลาวัดผลตายตัว
เช่น 1วัน, 1 ไตรมาส,  1 ปี ฯลฯ
2. การ bet ในการพนัน ส่วนใหญ่สามารถหาค่าความน่าจะเป็นที่แม่่นยำได้อย่างตายตัว แต่ตลาดหุ้นมีปัจจัยแวดล้อมมากมายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งอันนี้คงต้องบอกว่าเป็นศิลปะของแต่ละตัวบุคคล

ส่วนเรื่องน้ำหนักนั้นถ้าว่ากันตามสูตร ของเคลลี่แบบเป๊ะ ๆ แล้ว ต้นทุนที่เหลือต้องเก็บไว้ในที่ ๆ มีสภาพคล่องสูงและผันผวนต่ำ เพื่อให้สามารถนำมาถอนทุนคืนได้ในกรณีที่เราเสียเงินก้อนแรกไป (อัันนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญของสูตรเพื่อบริหารหน้าตักเลยก็ว่าได้ คือต้องมีเงินสำรองไว้เพื่อให้ถอนทุนคืนได้เสมอ)

มีบางคนเข้าใจไปว่า หากจะลงทุนโดยใช้สูตรของ Kelly เป็นมูลฐานนั้น จำเป็นต้องกู้มาร์จิ้นมาเล่นเพิ่มสำหรับการเล่นหุ้นหลาย ๆ ตัว เพื่อที่จะเป็นการจัดสรรค์เม็ดเงินลงทุนได้อย่างทั่วถึงตามสูตรของเคลลี่ ซึ่งถือเป็นการเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ เนื่องจากการบริหารหน้าตักนั้นมีไว้เพื่อให้เหลือเงินสำรองในการ “แก้มือ” จากการเดิมพันที่มีความเสี่ยง ในอัตราที่เหมาะสม ไม่ใช่การเพิ่มความเสี่ยงด้วยการทุ่มจนเกินเงินหน้าตักในมือ

แม้จะเป็นแค่สูตรที่ดูเรียบ ๆ ง่าย ๆ ส่วนตัวผมนับถือเคลลี่ที่สามารถนำเอาสมมุติฐานที่ถูกประเมินไว้ในหัว กลั่นกรองออกมาเป็นสมการที่จับต้องได้ นำไปทดลองพิสูจน์ เพื่อถกเถียงได้ และที่สำคัญ สามารถถ่ายทอดความคิดของเคลลี่เองสู่คนรุ่นหลังอย่างผมได้ :D

สุดท้ายนี้ขอสรุปว่า ในตลาดหุ้นมีสภาพต่าง ๆ ที่ซับซ้อนกว่าสูตรง่าย ๆ ของเคลลี่มาก แต่ผมเชื่อว่า แนวคิดน่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับผู้ที่สนใจศึกษาเพื่อนำไปประยุกต์ ใช้ให้เหมาะกับแต่ละตัวบุคคลเองครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘