kelly formula

ช่วงนี้มีเพื่อน ๆ หลายคนถามกันเข้ามาถึงสูตรของเคลลี่ เลยขอถือโอกาสนำมาลงไว้ใน blog เลยก็แล้วกัน


kelly formula, Kelly criterion, Kelly strategy หรือ Kelly bet เป็นสูตรที่ใช้ในการบริหารเงินหน้าตัก เวลาเดิมพันกับโอกาสและความน่าจะเป็น เพื่อไม่ให้ผู้เล่นหมดตัว และมีโอกาสในการทำกำไรสูงสุด(คนคิดสูตรเขาว่าอย่างนั้น)


สมมุติ ว่ามีหุ้นบริษัท XYZ อยู่ คูณเห็นว่าบริษัทนี้มีโอกาสสูงมากถึง 60% ที่จะมีโอกาสทำกำไรพิเศษเป็นผลให้ราคาหุ้นพุ่งถึง 200% ได้ในเวลา 1 ปี


ใน ขณะเดียวกัน คุณเผื่อ 40% ไว้เป็นโอกาสที่บริษัทจะล้มละลาย สมมุติว่าคุณมีเงินอยู่ 1,000,000 บาท ลองมาหาค่าที่เหมาะสมกับการลงทุนตามสูตรของเคลลี่กันดูครับ


ที่มาของสูตร http://en.wikipedia.org/wiki/Kelly_formula


นิยาม เคลลี่(เงินต้น,อัตราส่วนที่เดิมพัน,อัตราส่วนที่จะได้คืน,โอกาสที่จะได้,โอกาสที่จะเสีย):
 คืน ((((อัตราส่วนที่จะได้คืน/ทศนิยม(อัตราส่วนที่เดิมพัน))*โอกาสที่จะได้/100.0)

- โอกาสที่จะเสีย/100.0)/(อัตราส่วนที่จะได้คืน/ทศนิยม(อัตราส่วนที่เดิมพัน)))*เงินต้น

#ตัวอย่าง การใช้งาน
เงินต้น = 1000000
อัตราส่วนเดิมพัน = 1
อัตราส่วนได้คืน = 3
โอกาสได้ = 60
โอกาสเสีย = 40

แสดงผล (เคลลี่(เงินต้น,อัตราส่วนเดิมพัน,อัตราส่วนได้คืน,โอกาสได้,โอกาสเสีย ))
#ได้ผลลัพท์ = 466666.666667

จาก สูตรเป็นการเทียบโอกาสของกำไร 3ต่อ1 (กำไร 200% + เงินต้น) ในโอกาสที่จะได้กำไรที่มีถึง 60% ส่วน 40% เป็นโอกาสที่เงินทั้งหมดจะหายไป

หาก มีเงินต้น 1000000 บาท เคลลี่แนะนำให้คุณนำเงินไปลงในโอกาสนี้ เท่ากับจำนวน 466666.666667 บาท ที่เหลือเก็บไว้เดิมพันในโอกาสต่อ ๆ ไปหลังการวัดผล

อย่าง ไรก็ดี จะเห็นว่าโอกาสในการทำกำไรยังถือเป็น นามธรรมทีั่่แต่ละคนมี bias ต่าง ๆ กันออกไป ดังนั้นสูตรของเคลี่จะใช้ได้ผลดีก็ต่อเมื่อโอกาสนั้นถูกวัดโดยอัตราส่วนความ น่าจะเป็นที่เหมาะสมเท่านั้น

ในโอกาสต่อ ๆ ไปหากมีโอกาส ผมจะขอลองทำ simulation โดยใช้สูตรของ kelly เอามาแสดงให้ดูกันครับ


จาก สูตรเป็นการเทียบโอกาสของกำไร 3ต่อ1 (กำไร 200% + เงินต้น) ในโอกาสที่จะได้กำไรที่มีถึง 60% ส่วน 40% เป็นโอกาสที่เงินทั้งหมดจะหายไป

หาก มีเงินต้น 1000000 บาท เคลลี่แนะนำให้คุณนำเงินไปลงในโอกาสนี้ เท่ากับจำนวน 466666.666667 บาท ที่เหลือเก็บไว้เดิมพันในโอกาสต่อ ๆ ไปหลังการวัดผล

อย่าง ไรก็ดี จะเห็นว่าโอกาสในการทำกำไรยังถือเป็น นามธรรมทีั่่แต่ละคนมี bias ต่าง ๆ กันออกไป ดังนั้นสูตรของเคลี่จะใช้ได้ผลดีก็ต่อเมื่อโอกาสนั้นถูกวัดโดยอัตราส่วนความ น่าจะเป็นที่เหมาะสมเท่านั้น

ในโอกาสต่อ ๆ ไปหากมีโอกาส ผมจะขอลองทำ simulation โดยใช้สูตรของ kelly เอามาแสดงให้ดูกันครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘