เข้าลงทุนครั้งแรก กับ Dollar cost averaging

เมื่อกลางปีที่แล้วผมได้เริ่มเข้าตลาดหุ้นครั้งแรก ด้วยความรู้และจำนวนเงินที่มีไม่มากนัก แต่ก็เป็นจำนวนเงินเกือบทั้งหมดที่มีอยู่ในมือ
ดังนั้นจึงได้กำหนด ยุทธศาสตร์(Strategy) ให้กับการลงทุนไว้ตั้งแต่แรกเพื่อให้เผชิญกับความเสี่ยงอย่างน้อยที่สุด และต้องมีผลตอบแทนเป็นบวกในระยะยาวอย่างน้อย 10% ต่อปี
การที่ได้เข้ามาในตลาดใหม่ ๆ นั้นผมตระหนักถึง“ความไม่รู้” ของตัวเองเป็นอย่างดีจึงได้วางกลยุทธ์ในการจัดพอร์ตไว้ว่า จะจัดพอร์ตแบบกระจายความเสี่ยงไว้ในหุ้นที่ตัวเองมองว่าดีอย่างน้อย 10 ตัวขึ้นไปโดยมีสัดส่วนของหุ้นในพอร์ตไม่ต่างกันมาก
หลายท่านคงเคยได้ยิน แนวทางการลงทุนจากปรมจารย์แห่งการลงทุนหลาย ๆ  ท่านได้กล่าวไว้ว่า การลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงสุดนั้นต้องมาจากการลงทุนแบบมุ่งเน้น(Focus) หรือเลือกลงทุนไว้ในหุ้นเพียงไม่กี่ตัวนั้น ผมเองก็เชื่อว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่สุด แต่ว่าผมคิดว่าตัวเองยังไม่เจ๋งพอที่จะไป Focus กับเค้าได้ครับ :)
ส่วน วิธีการซื้อขายนั้นได้วางเอาไว้ว่าจะเป็นการลงทุนระยะยาว คือ อย่างน้อย 1 ปี อาจจะไม่ขายหุ้นเลยถ้าปัจจัยพื้นฐานของหุ้นไม่แย่ลงมาก โดยจะทะยอยเข้าซื้อแบบ Dollar cost averaging <http://en.wikipedia.org/wiki/Dollar_cost_averaging> (ตอนนั้นยังไม่รู้จัก Dollar cost averaging แต่ตั้งใจไว้ว่าจะต้องทำแบบนี้ หลังจากนั้นก็มาอ่านเจอวิธีนี้ทีหลัง ซึ่งแถวบ้านเราเรียกว่า “ถัวเฉลี่ย”) ซึ่งจะเข้าชื้อเป็นประจำทุกเดือน จากเงินที่เหลือใช้จากเงินเดือน

วิธีการแบบ Dollar cost averaging นี้หากใช้อย่างถูกต้อง และ ใช้อย่างมีวินัยในช่วงตลาดขาลงแล้ว จะทำให้เรามีผลตอบที่สูงกว่าตลาดเสมอหากตลาดสามารถฟื้นตัวกลับมาได้
นอก จากนั้นแล้วเรายังได้เห็นความเป็นไปของหุ้นแต่ละตัวในตลาดขาลงอยู่เป็นระยะ ๆ และมีโอกาสดี ๆ ที่จะเข้าไปเก็บหุ้นที่มี upside สูง ๆ ได้
สำหรับมือ ใหม่อย่างผมแล้วผมใช้โอกาสนี้ฝึกฝนและปรับตัวไปเรื่อย ๆ จนรู้ว่าตัวเองต้องเลือกหุ้นแบบไหน และ คาดหวังผลตอบแทนได้เท่าไหร่ ซึ่งสิ่งนี้นำไปสู่”การปรับพอร์ตครั้งใหญ่”ของผม ซึ่งถ้าหากมีโอกาสจะได้เล่าให้ท่านผู้อ่านฟังต่อไป
หลังจากกำหนด ยุทธศาสตร์การลงทุนของตัวเองได้แล้วผมก็ปฎิบัติตามแนวทางที่ตัวเองเป็นผู้ เลือกอย่างเคร่งครัด ตลอดระยะเวลา 1 ปี ไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง (คือซื้อไปเรื่อย ๆ แม้จะเห็นเงินตัวเองมีมูลต่าตลาดลดลงไปเรื่อย ๆ )
จำ ได้ว่า ครึ่งปีแรกกราฟแท่งสีแดงในรูปมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละอันยาว ๆ กว่าสีเขียวทั้งนั้น ส่วนสีเขียวมีให้เห็นอยู่ประปรายเหมือนหย่อมหญ้าบนภูเขาหัวโล้น
สำหรับแผนภูมิทรงกลมนี้เป็น สัดส่วนการจัดพอร์ตการลงทุนที่ได้รับการปรับพอร์ตครั้งใหญ่แล้วหลังจากสรุปภาวะการลงทุนในปีแรกได้
stock01b

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘