0405: การออมเพื่อเกษียณต้องออมในหุ้นด้วยเสมอ

แนวคิดออมเงินเพื่อให้เกษียณได้อย่างสุขสบาย สำหรับคนธรรมดาทั่วไป ที่ไม่ได้เกิดคาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิดนั้น ดูเหมือนจะต้องออมโดยมีเงินออมส่วนหนึ่งอยู่ในตลาดหุ้นด้วยเท่าน้ัน มิฉะนั้นจะเป็นเรื่องที่ไม่มีทางเป็นไปได้เลย ผมจะลองคำนวณให้ดูเป็นตัวอย่างนะครับ
ผมจะลองสมมติตัวอย่างของ Typical Person คนหนึ่ง ที่จบปริญญาตรี แล้วก็ทำงานในองค์กรเอกชนไปเรื่อยๆ ตั้งแต่อายุ 22 ยัน 60 ปี และตำแหน่งสุดท้ายในองค์กรคือ mid-level manager นะครับ
เรื่องนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสมมติฐานว่าต้องพยายามทำให้ realistic ที่สุด เริ่มต้นด้วยเงินเดือน Start ซึ่งผมตั้งไว้ที่ 10,000 บาท ซึ่งน่าจะพอเป็นไปได้สำหรับ คนจบปริญญาตรี เริ่มทำงานเมื่ออายุ 22 และเกษียณเมื่ออายุ 60 ก็แสดงว่า Mr.Typical มีเวลาออมเงิน 38 ปีนะครับ
สมมติฐานต่อมาที่ยากคือ อัตราการขึ้นเงินเดือนตลอดช่วงวัยทำงาน ในช่วงชีวิตของคนเรามักขึ้นเงินเดือนเป็นขั้นๆ ไม่ใช่อัตราที่คงที่ทุกปี เช่นปีไหนในขีวิตที่ได้เลื่อนตำแหน่ง ก็อาจจะได้ขึ้นเยอะหน่อย แต่ปีอื่นๆ ก็คงขึ้นแบบทีละนิด ทำให้การใส่สมมติฐานค่อนข้างยุ่งยาก อย่างไรก็ตาม ผมเลือกใช้วิธีใส่อัตราการขึ้นเงินเดือนแบบคงที่ที่ 6% ต่อปีดู แล้วเช็คดูว่า เงินเดือนสุดท้ายตอนที่เกษียณจะเป็นเท่าไร สมเหตุผลรึเปล่า ปรากฏว่า ตอน 60 Mr.Typical จะได้เงินเดือนประมาณ 91,500 บาท ซึ่งก็ถือว่าสมเหตุผลสำหรับผู้จัดการ เมื่อผมลอง cross check ดูจากพวกแบบสำรวจเงินเดือนนะครับ
ตำราการเงินมักแนะนำว่า คนเราควรออมเงินหนึ่งในสามของรายได้ทุกเดือน ดังนั้น Mr.Typical ของเราก็จะกันเงินเดือนไว้ 1 ใน 3 ของทุกปีตลอดชีวิตเพื่อการออมเพื่อวัยเกษียณ ตามคำแนะนำทางการเงินเปี๊ยบ
ทีนี้ลองมาตั้งเป้าหมายสุดท้ายดูว่า เขาควรมีเงินเก็บเท่าไรเมื่อถึงปีเกษียณ ตามตำราเขาบอกว่า คนเราควรมี passive income เท่ากับ 50% ของเงินเดือนสุดท้าย นั่นก็คือประมาณ 45,750 บาท จึงจะเกษียณได้อย่างมั่นคง ถ้าเช่นนั้น สมมติว่าเมื่อ Mr.Typical อายุครบ 60 เขาจะย้ายเงินออมทั้งหมดที่ได้ของเขา (ไม่ว่าเขาจะออมไว้ที่ไหนมาก่อน) เข้าพันธบัตรรัฐบาลให้หมด เพื่อความมั่นคงสูงสุด ในวัยที่ทำงานหนักไม่ไหวแล้ว แล้วก็รอรับดอกเบี้ยจากพันธบัตรให้ได้เท่ากับ 45,750 บาทต่อเดือน พอดี
เป้าหมายนี้จะต้องมีการกำหนดสมมติฐานเรื่องอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรด้วย ซึ่งการคาดเดาอัตราดอกเบี้ยในเวลานั้นคงเป็นเรื่องยากเกินคาดการณ์ แต่คิดว่าร้อยละ 3% ต่อปี น่าจะสมเหตุผมและอนุรักษ์มากพอ ลองคำนวณกลับเข้าไปจะได้ว่า เมื่ออายุ 60 ปี Mr.Typical จะต้องมีเงินออมประมาณ 18.3 ล้านบาท เพื่อนำไปซื้อพันธบัตร เขาจึงจะมี passive income 45750 บาทต่อเดือน ตามเป้าหมายที่ต้องการนี้ได้
ได้สมมติฐานทุกอย่างมาครบแล้ว ลองใช้ Excel คำนวณดูโดยใช้สูตร IRR จะพบว่า ในการออมเงิน 38 ปี ตามแผนนั้น Mr.Typical จะต้องทำผลตอบแทนของเงินออมเฉลี่ยให้ได้ 7.5% ต่อปี ถึงจะบรรลุเป้าหมายการเงินได้

ตัวเลขผลตอบแทนเฉลี่ย 7.5% ต่อปีนี้ นับว่าไม่มีทางเป็นไปได้เลยสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ เพราะฉะนั้น แนวคิดเรื่องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีการออมเงินส่วนหนึ่งไว้ในตลาดหุ้นด้วยเท่านั้น ถือเป็น a must สำหรับ typical person ทุกคนเลย ครับ อาจไม่จำเป็นต้องออมไว้ในหุ้นทั้งหมด แต่อย่างน้อยจะต้องมีส่วนหนึ่งเสมอ เพื่อให้เฉลี่ยผลตอบแทนของทั้งพอร์ตแล้วได้ 7.5% ต่อปี ตามเป้าหมาย
โปรดสังเกตว่า เวลาทดสอบสมมติฐาน ผมไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อเลย ซึ่งทำได้ครับ เพราะเป้าหมายที่เรากำหนดก็มองเป็นมูลค่าเงินในปัจจุบันด้วยเหมือนกัน (ได้ดอกเบี้ยเดือนละ 4 หมื่นกว่าบาทน่าจะพอใช้สำหรับมูลค่าเงินสมัยนี้) ในการวางแผนการออมจึงใช้เป็นค่าเงินปัจจุบันด้วยนะครับ ไม่ผิดครับ
ส่วนใครบังเอิญเริ่มต้นออมช้าหรือฐานเงินเดือนต่ำกว่า Mr.Typical ก็คงต้องเพิ่มสัดส่วนการออมต่อเดือนให้มากหน่อย ถ้าใครจะลอง plug-in สมมติฐานใหม่ให้ตรงกับของกรณีของตัวเองดู ก็ลองดาวน์โหลดไฟล์ Excel ของผมไปดูได้นะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘