0398: Food Inflation

ปี 2011 เป็นปีของราคาอาหารแพง เพราะเริ่มตั้งแต่ต้นปี ดัชนีราคาอาหารโลกของ FAO ก็พุ่งแตะระดับสูงกว่าจุดสูงสุดของวิกฤตอาหารรอบที่แล้วไปเรียบร้อยแล้ว (เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2008) แม้ว่าในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดัชนีจะเริ่มปรับตัวลงมาบ้าง แต่ก็ยังคงยืนเหนือระดับสูงสุดของปี 2008 อย่างชัดเจน
FAO อธิบายว่าราคาอาหารแพงรอบนี้เป็นผลมาจากผลผลิตที่ล้มเหลวในหลายภาคส่วนของ โลกในช่วงที่ผ่านมาจากสภาวะอากาศที่แปรปรวนขึ้นเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไฟไหม้ใหญ่ที่รัสเซีย ตลอดจนภาวะน้ำท่วมในหลายๆ ภูมิภาคของโลกด้วย ส่วนภาพในระยะยาวนั้น มีความต้องการอาหารของประเทศตลาดเกิดใหม่ที่เพิ่มขึ้นเป็นแนวโน้มสำคัญที่จะ ส่งผลต่อราคาอาหารในระยะยาวอยู่แล้ว
อาหารก็เหมือนกับทรัพยากรธรรมชาติอย่างอื่นของโลกในเวลานี้ ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดแคลนขึ้นในอนาคตได้ อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายอย่างประกอบกัน
ในด้านอุปสงค์ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูงของประเทศเกิดใหม่โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งอินเดียและจีน ทำให้โลกของเรามีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทุกปี เมื่อคนเรามีรายได้สูงขึ้น เราจะบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น และในเวลาเดียวกัน เราจะเริ่มหันมาบริโภคเนื้อสัตว์เป็นหลักมาขึ้นด้วย (คนจนที่สุดจะกินถั่วและหัวมันต่างๆ เป็นหลัก เมื่อรวยขึ้นจะหันมากินข้าวและธัญญาหารต่างๆ แทนและเมื่อรวยที่สุดก็จะกินเนื้อสัตว์เป็นหลัก)
การหันมาบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบไปยังต้นทุนการผลิต อาหารทั้งระบบ เพราะด้วยจำนวนแคลอรีที่เท่ากัน แคลอรีจากเนื้อสัตว์มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าเมล็ดพืชมาก ความต้องการเนื้อสัตว์ยังส่งผลให้ความต้องการถั่วเหลืองและข้าวโพดเพื่อใช้ เป็นอาหารสัตว์เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย แค่พฤติกรรมที่คนเราเลือกบริโภคอาหารเปลี่ยนไปก็ทำให้ต้นทุนการผลิตอาหาร เพิ่มขึ้นได้อย่างมากแล้ว
ราคาพลังงานที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงในปัจจุบัน ยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ต้นทุนอาหารเพิ่มขึ้นด้วยเพราะน้ำมันเป็นองค์ประกอบ สำคัญ ที่ซ่อนอยู่ในทุกๆ กระบวนการผลิตอาหาร ตั้งแต่การใช้เครื่องยนต์ที่กินน้ำมันเชื้อเพลิงในการทำไร่ไถนา ปุ๋ยเคมีก็ผลิตมาจากปิโตรเลียม การขนส่งก็เป็นต้นทุนสำคัญอย่างหนึ่งของอาหาร การปรุงอาหารทั้งหลายก็ต้องใช้ความร้อนเป็นจำนวนมาก มิหน่ำซ้ำราคาพลังงานที่สูงขึ้นยังทำให้เกิดการแย่งชิงพื้นที่เพาะปลูกเพื่อ นำไปผลิตพลังงานทดแทนแทนที่จะผลิตอาหารอีกด้วย
นอกจากน้ำมันแล้ว น้ำก็เป็นต้นทุนที่สำคัญของการผลิตอาหาร ประมาณว่า การผลิตข้าวสาลีหนึ่งกิโลกรัม ต้องใช้น้ำมากถึง 125 ลิตร และการผลิตเนื้อวัวหนึ่งกิโลกรัม ต้องใช้น้ำมากถึง 2,800 ลิตร ถึงแม้ว่าน้ำจะเป็นทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่การเพิ่มปริมาณน้ำใช้ในบริเวณที่มีการชลประทานนั้น ถ้ายิ่งต้องการน้ำมากขึ้นเท่าไร น้ำส่วนที่ต้องการเพิ่มขึ้นก็จะยิ่งมีต้นทุนที่สูงขึ้นเท่านั้น
ปัจจัยสำคัญอันสุดท้ายที่ส่งผลต่อราคาอาหารก็คือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ สภาพอากาศที่ร้อนขึ้นโดยเฉลี่ยทุกๆ หนึ่งองศาเซลเซียส ทำให้ผลผลิตข้าวโพดในสหรัฐฯ และแอฟริกาลดลงราว 5-15% ผลผลิตที่ไม่เป็นไปตามปกติจะทำให้เกิดภาวะขาดแคลนขึ้นชั่วคราว ส่งผลให้ประเทศผู้ผลิตอาหารลดการส่งออกอาหารลง เพื่อความมั่นคงทางอาหารของคนในประเทศตัวเองก่อน การกักตุนสต๊อคอาหารเพื่อเก็งกำไร และป้องกันความเสี่ยงที่ตามมาของทุกประเทศ จะยิ่งทำให้ราคาอาหารโลกมีความผันผวนมากขึ้นไปอีก วิกฤตอาหารนับเป็นปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองที่สำคัญยิ่ง ของบรรดาประเทศยากจนทั้งหลาย อันจะสังเกตได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ราคาอาหารโลกแพง ข่าวความวุ่นวายทางการเมืองในหลายๆ ประเทศมักจะตามมา
ทางออกของวิกฤตอาหารในอนาคตอยู่ที่การหาวิธีการใหม่ๆ ในการเพิ่มผลผลิต (yield) ให้สูงขึ้น ซึ่งที่จริงแล้ว นั่นก็เป็นวิธีการสำคัญที่โลกของเราใช้จัดการกับความต้องการอาหารที่เพิ่ม ขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในช่วงปี 60 นั้น ชาวนาในสหรัฐฯ หนึ่งคนสามารถผลิตอาหารเลี้ยงคนได้ 26 คน แต่ปัจจุบันตัวเลขนี้อยู่ที่ประมาณ 155 คนแล้ว ถ้าหากในอนาคตเราไม่สามารถเพิ่มผลิตภาพในอัตราที่สูงเท่าเดิมหรือมากกว่า เดิมได้ เราอาจต้องเปลี่ยนค่านิยมในการบริโภคอาหารครั้งใหญ่ เช่น กลับมาบริโภคพืชแทนสัตว์มากขึ้น เพื่อลดวิกฤตอาหาร (อันนี้สงสัยอยู่เหมือนกันว่า จะทำได้จริงสักแค่ไหน ถ้าหากไม่เกิดวิกฤตอาหารที่รุนแรงให้เห็นเป็นตัวอย่างกันเสียก่อน)
FAO พยากรณ์ว่า ในช่วงสิบปีข้างหน้านี้ ราคาอาหารโดยเฉลี่ยน่าจะสูงกว่าทศวรรษที่ผ่านมาอย่างแน่นอน เนื่องจากความต้องการอาหารและต้นทุนอาหารที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ราคาอาหารในทศวรรษหน้าก็จะมีความผันผวนที่รุนแรงมากขึ้นด้วย เนื่องจากมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นสำคัญ
เรื่องที่ว่าราคาอาหารจะแพงกว่าในอดีตโดยเฉลี่ยนั้นเป็นเรื่องที่ผมทำใจ ยอมรับได้แล้ว แต่ก็หวังว่า สภาพอากาศที่แปรปรวนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้ราคาอาหารในช่วงนี้ปรับ ตัวขึ้นมาแรงจริงๆ เพราะหากเป็นเช่นั้น เมื่อผลผลิตในภูมิภาคต่างๆ ของโลกกลับสู่ภาวะปกติในอนาคตอันใกล้ ราคาอาหารก็อาจดีดตัวลงแรงๆ ให้เห็นได้บ้าง ขออย่าให้ราคา ณ เวลานี้ เป็นแค่ฐานของระดับราคาอาหารใหม่ในช่วงสิบปีข้างหน้าเลยครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘