0394: โลกที่มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี

โลกที่มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนแบบเสรี
โลกของเราทุกวันนี้แตกต่างจากโลกที่อยู่ในตำราของนักเศรษฐศาสตร์ค่อนข้างมาก กระแสโลกาภิวัฒน์ได้ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของสินค้า เงินทุน และข้อมูลข่าวสาร ข้ามพรมแดนไปมาอย่างรวดเร็ว ภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศจึงได้รับอิทธิพลจากภาวะเศรษฐกิจโลกด้วย ปัจจุบันยังไม่มีนักเศรษฐศาสตร์คนไหนที่สามารถสร้างแนวคิดหรือหลักการอะไร ที่จะใช้อธิบายความเป็นไปของระบบเศรษฐกิจที่ได้รับอิทธิพลจากโลกภายนอกมาก ถึงขนาดนี้
ระบบเศรษฐกิจในตำราเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่เราได้เรียนกันมักจะตั้งอยู่บน สมมติฐานว่าระบบเศรษฐกิจเป็นระบบปิดที่ ไม่มีการติดต่อกับโลกภายนอกมากนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีการไหลเข้าออกของ เงินทุนระหว่างประเทศ แต่ โรเบิร์ต มัลเดล (Robert Mundell: 1932-) นักเศรษฐศาสตร์ชาวแคนาดาเจ้าของรางวัลโนเบลดูเหมือนจะเป็นคนแรกๆ ที่พยายามบุกเบิกเรื่องนี้ และสามารถสร้างแนวคิดที่สามารถอธิบายระบบเศรษฐกิจแบบเปิดได้อย่างชัดเจนและ น่าสนใจมาก
ตามแนวคิดของมัลเดล เศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่ในโลกอาจมองได้ว่าเป็นระบบเศรษฐกิจขนาดเล็กแบบ เปิด (small open economy) หมายความว่าเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศมาก ทำให้ต้องมีนโยบายเสรีเรื่องการไหลเข้าออกของเงินทุน การไหลเข้าออกของเงินทุนอย่างรวดเร็วจะทำให้ประเทศเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจาก ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกมาก มัลเดลอธิบายว่า การไหลเข้าออกของทุนได้อย่างเสรีจะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงภายในประเทศ เหล่านี้วิ่งเข้าหาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของโลก เนื่องจากเงินทุนข้ามชาติจะวิ่งออกจากบริเวณที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำไปสู่ บริเวณที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเพื่อแสวงหาผลตอบแทนทำให้อัตราดอกเบี้ยทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะวิ่งเข้าหากัน ปรากฎการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศ
สมมติว่ามีประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งที่มีการติดต่อกับโลกภายนอกมากๆ พยายามส่งเสริมการส่งออกและการลงทุนด้วยการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบผูก ไว้กับค่าเงินสกุลหลักของโลก ได้แก่ เงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ในขณะเดียวกันก็เปิดให้มีการไหลเข้าออกของเงินทุนได้อย่างเสรี เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนต่างประเทศอีกทางหนึ่ง ปกติแล้วในการผูกค่าเงิน ธนาคารกลางของประเทศนี้จะต้องใช้ทุนสำรองเข้าไปซื้อ(ขาย)เงินของประเทศตัว เองในตลาดโดยใช้ทุนสำรองที่มีอยู่เพื่อรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน การลดลง(เพิ่มขึ้น)ของเงินทุนสำรองจะส่งผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจภาย ในประเทศลดลง(เพิ่มขึ้น) ตามไปด้วยเสมอ ดังนั้นธนาคารกลางจึงไม่มีอิสระในการควบคุมปริมาณเงินในประเทศเนื่องจาก ปริมาณเงินภายในประเทศต้องเพิ่มหรือลดไปตามการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน
เพื่อลดผลกระทบของปริมาณเงินภายในประเทศจากการดูแลค่าเงิน ธนาคารกลางอาจใช้วิธีทำธุรกรรมหักล้าง (Sterilization) การดูแลค่าเงินโดยการซื้อ(ขาย)พันธบัตรในตลาดพันธบัตรร่วมด้วยเพื่อให้ ปริมาณเงินในประเทศที่เปลี่ยนไปเพราะการดูแลค่าเงินกลับมาอยู่ที่จุดเดิม ก่อนที่ธนาคารกลางจะใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอีกที
อย่างไรก็ตาม ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด แม้ธนาคารกลางจะพยายามทำธุรกรรมหักล้างก็จะไม่ได้ผล เนื่องจากมีการไหลเข้าออกของเงินทุนได้อย่างเสรี ไม่ว่าธนาคารกลางจะพยายามทำให้อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศเป็นเท่าไร ก็มีจะมีเงินทุนไหลเข้าและออกเพื่อทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงภายในประเทศ วิ่งเข้าหาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของโลกอยู่ดี ธนาคารกลางจึงสูญเสียความสามารถในการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยจากการเปิดเสรีเรื่องเงินทุน
ถ้าหากประเทศนี้ยังต้องการมีนโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นของตนเองอยู่ ประเทศนี้จะต้องเปลี่ยนไปใช้นโยบายควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุน หรือมิฉะนั้นก็ต้องหันไปใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแทน อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวจะช่วยป้องกันอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศไม่ให้วิ่ง เข้าหาอัตราดอกเบี้ยของโลกได้เพราะ เมื่อธนาคารกลางประกาศลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เงินทุนจะไหลออกจากประเทศไปหาที่ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า แต่การไหลออกของเงินทุนจะทำให้ค่าเงินอ่อนลงด้วย เมื่อค่าเงินอ่อนลง การส่งออกก็จะดีขึ้น เมื่อการส่งออกดีขึ้น เศรษฐกิจภายในประเทศก็จะดีขึ้นตาม การลดดอกเบี้ยจึงช่วยทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้นได้ผ่านทางการส่งออกที่ ดีขึ้น นโยบายดอกเบี้ยจึงยังคงมีประสิทธิผลอยู่
มัลเดลสรุปว่า ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด ประเทศจะไม่สามารถมีเป้าหมายสามอย่างต่อไปนี้ได้พร้อมกัน จำเป็นต้องสละเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งออกไปเพื่อให้อีกสองเป้าหมายที่เหลือ เป็นไปได้
1. นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่
2. นโยบายเปิดเสรีเรื่องการไหลเข้าและออกของเงินทุน
3. นโยบายอััตราดอกเบี้ยสำหรับบริหารจัดการเศรษฐกิจภายในประเทศ
ก่อนที่ประเทศไทยจะเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ประเทศไทยเคยใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบผูกค่าเงิน และมีการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนมาก่อน ซึ่งทำให้ประเทศไทย
สามารถมีนโยบายอัตราดอกเบี้ยของตัวเองได้ แต่อยู่ดีๆ การมีการผ่อนคลายเรื่องการไหลเข้าออกของเงินทุนผ่านทาง BIBF เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน ทำให้นโยบายอัตราดอกเบี้ยใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อสูงด้วยการขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยในประเทศ ความปั่นป่วนของปริมาณเงินภายในประเทศก็เกิดขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในบ้านเราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนอกประเทศมาก เงินทุนต่างประเทศพากันไหลเข้ามาเก็งกำไรส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อ เนื่อง เงินที่ไหลเข้ามาทำให้ปริมาณเงินในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะ ฟองสบู่ในตลาดสินเชื่อและเกิดการเก็งกำไรในตลาดสินทรัพย์ประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดอสังหาริมทรัพย์ จนฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกในเวลาต่อมา
ปัจจุบัน ประเทศไทยหันมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแล้ว ทำให้ประเทศไทยสามารถมีนโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นของตัวเองได้ทั้งที่ปล่อยให้ มีการไหลเข้าออกของเงินทุนได้อย่างเสรีตามแนวคิดของมัลเดล ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวเป็นระบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะทุกวันนี้นักค้าเงินข้ามชาติมีเงินทุนรวมกันมากกว่าเงินทุนสำรองของ ประเทศใดๆ ในโลก การปกป้องค่าเงินด้วยการผูกค่าเงินจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากเพราะจะตก เป็นเป้าหมายของการโจมตีค่าเงินในที่สุด ทุกวันนี้ประเทศไทยก็มีการติดต่อกับโลกภายนอกเป็นอย่างมาก เพราะประเทศไทยมีการส่งออกเป็นจำนวนมหาศาล การปล่อยให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีจึงนับว่าเป็นนโยบายที่เหมาะสม กับประเทศไทยด้วย
หากพิจารณาจากแนวคิดของมัลเดล ทุกวันนี้ ถ้าหากประเทศไทยยังต้องการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ ภายในประเทศ ประเทศไทยก็ควรปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวอย่างแท้จริง การพยายามแทรกแซงค่าเงินให้อ่อนกว่าความเป็นจริงเพื่อเป็นการสร้างความได้ เปรียบในการส่งออกจะส่งผลให้้้นโยบายดอกเบี้ยภายในประเทศขาดประสิทธิภาพ
. . . .
นอกจากนี้ มัลเดลยังค้นพบด้วยว่า ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวและการไหลเข้าออกของเงินทุนอย่างเสรี การใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากเมื่อรัฐบาล กู้เงินมาใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยในประเทศก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามามาก ค่าเงินก็จะแข็ง ทำให้การส่งออกแย่ลง เมื่อการส่งออกแย่ลงก็จะไปหักล้างผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาล นโยบายการคลังจึงไม่มีประสิทธิภาพ ประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวและมีการไหลเข้าออกของเงินทุนได้ อย่างเสรีจึงควรใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือหลักในการกระตุ้น เศรษฐกิจภายในประเทศ และใช้นโยบายการคลังให้น้อยที่สุด
ในทางตรงกันข้ามประเทศที่เลือกใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่แต่มีการ ไหลเข้าออกของเงินทุนอย่างเสรี นโยบายการเงินจะเป็นนโยบายที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างที่กล่าวมาแล้ว ในกรณีเช่นนี้ รัฐบาลควรหันมาใช้นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจแทน จะได้ผลมากกว่า เพราะการกู้เงินของรัฐบาลจะไม่ทำให้ค่าเงินแข็งภายใต้ระบบนี้
. . . .
แนวคิดของมัลเดลยังช่วยทำให้เราเข้าใจว่า สำหรับประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวอย่างแท้จริงโดยปราศจากการ แทรกแซงใดๆ จากธนาคารกลาง และมีการไหลเข้าออกของเงินทุนได้อย่างเสรี การขาดดุลการค้าจะถูกชดเชยด้วยการไหลเข้าของเงินทุนเป็นจำนวนที่เท่ากันเสมอ (ถ้าขาดดุลการค้าก็จะเกินดุลบัญชีทุนเป็นจำนวนเท่ากัน หรือถ้าเกินดุลการค้าก็จะขาดดุลบัญชีทุนเป็นจำนวนเท่ากันด้วย) ในทางตรงกันข้าม การได้ดุลการค้าก็จะถูกหักล้างด้วยการไหลออกของเงินทุนเป็นจำนวนที่เท่ากัน ด้วย ประเทศที่ใช้ระบบนี้จึงมีดุลการชำระเงินของประเทศที่สมดุลเสมอ และการที่ประเทศเหล่านี้จะขาดดุลการค้ามากหรือน้อย (ซึ่งหมายถึงจะมีเงินทุนไหลเข้าออกมากหรือน้อยด้วยโดยอัตโนมัติ) จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการส่งออกสินค้า (เพราะค่าเงินแข็งและอ่อนตามความเป็นจริง อัตราแลกเปลี่ยนจึงไม่มีผลต่อการส่งออก) แต่จะขึ้นอยู่กับส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศ กับอัตราดอกเบี้ยของโลกเป็นสำคัญ หากธนาคารกลางใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เงินจะไหลออกมาก ทำให้ประเทศต้องได้ดุลการค้าโดยอัตโนมัติ (เพราะดุลการค้าต้องชดเชยกับเงินที่ไหลออกเสมอ) ในทางตรงกันข้าม หากธนาคารกลางกำหนดอัตราดอกเบี้ยในประเทศให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยโลก เงินก็จะไหลเข้า ทำให้ประเทศต้องขาดดุลการค้าด้วย เพราะฉะนั้นในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด การได้ดุลการค้าจะไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกถึงความสามารถในการส่งออกของประเทศ เหมือนอย่างที่เคยเข้าใจกันอีกต่อไป แต่หมายถึง ในช่วงเวลานั้น มีเงินไหลออกจากประเทศ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศถูกกำหนดไว้ให้ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของ โลก

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘