Strategy & Tactics (ภาษาไทย)


ในเกมหรือการแข่งขันใด ๆ นั้น ส่วนสำคัญในการกำหนดแผนการอาจจำแนกได้เป็นสองส่วนคือ
ยุทธศาสตร์(Strategy) หรือ กลยุทธ์ใหญ่ที่เป็นภาพรวมของแผนการทั้งหมด และ
ยุทธวิธี(Tactics) หรือ กลยุทธ์แยกย่อย ที่ปรับเปลี่ยนไปได้ตามสถานการณ์เฉพาะหน้า

ยุทธวิธี <http://en.wikipedia.org/wiki/Chess_tactics ,http://en.wikipedia.org/wiki/Go_tactics>
มัก ประกอบไปด้วยกลยุทธ์แยกย่อยต่าง ๆ นานา มากมายจนนับไม่ถ้วน ซึ่งการใช้ยุทธวิธีได้อย่างได้ประสิทธิภาพนั้นผู้ใช้ต้องมีความสามารถและ ไหวพริบที่จะดึงเอากลยุทธ์ที่มีอยู่ออกมาพลิกแพลงตามสถานะการณ์ได้อย่าง เหมาะสม ซึ่งถือเป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะที่สูงและต้องการ การฝึกฝนเป็นเวลานาน
ยุทธศาสตร์ <http://en.wikipedia.org/wiki/Chess_strategy http://en.wikipedia.org/wiki/Go_strategy>
เป็นภาพรวมหรือภาพใหญ่ของแผนการที่จะใช้ในการดำเนินเกม ซึ่งภาพรวมนี้มักเป็นแนวทางที่แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาอันสั้น
หาก เปรียบกับเกมกระดานแล้ว ยุทธศาสตร์ เปรียบเหมือนกับการเปิดเกม(Game openning) ส่วน ยุทธวิธีเปรียบได้กับ การรบพุ่งในช่วงกลางเกม(Middle game)
ในชั้นเชิงยุทธวิธีนั้นเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความชำนาญและต้องใช้เวลาในการฝึกฝนนั้น แต่การวัดผลนั้นสามารถทำได้ง่ายและวัดผลได้ทันที
ส่วน ยุทธศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลาในการสังเกตผลลัพท์ และ ในหลาย ๆ ครั้งก็เป็นการยากที่จะบอกได้ว่ายุทธศาสตร์นั้น ๆ เป็นยุทธศาสตร์ที่ดีหรือไม่
ในเกมการแข่งขั้น ทั้ง ยุทธศาสตร์และยุทธวิธี ต่างมีความสำคัญไม่แพ้กัน
แต่ ยุทธศาสตร์ที่ดีนั้นทำให้เกมของยุทธวิธีนั้นง่ายขึ้นมาก ซึ่งในหลายกรณีนั้นยุทธศาสตร์ที่เหนือกว่ามักกำหนดชัยชนะไปกว่าครึ่ง

ในเกมหมากรุกตามภาพตัวอย่างนี้ ถึงแม้จำนวนหมาก(Material) จะสมดุลกัน แต่ฝ่ายขาวถือว่าได้เปรียบทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างมาก
หากฝ่ายดำคิดจะเอาชนะให้ได้นั้น ฝ่ายดำจำเป็นต้องมีทักษะฝีมือทางยุทธวิธีสูงกว่าฝ่ายขาวอย่างน้อย 3-4ขั้น(ขั้นละประมาณ 60-70 ELO)


เช่น เดียวกันกับเกมหมากล้อมดังภาพตัวอย่างนี้ ต่างฝ่ายต่างยังไม่มีกลุ่มที่ตาย และยังไม่มีหมากเชลย แต่ฝ่ายขาวถือว่าได้เปรียบทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างมาก
หากฝ่ายดำคิดจะเอาชนะให้ได้นั้น ฝ่ายดำจำเป็นต้องมีทักษะฝีมือทางยุทธวิธีสูงกว่าฝ่ายขาวอย่างน้อย 3-4ขั้น
ในเกมการลงทุนนั้นหากเราเลือกยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องและเหมาะกับตัวเรา แล้ว ผลลัพธ์ที่คาดหวังก็คงไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม ส่วนเรื่องยุทธวิธีนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการสั่งสมกันอีกที เพื่อผลลัพธ์ที่เหนือกว่า

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘