ตอนที่ 2 : เส้นทางสู่ Prop Trader

พอดี ได้ขอบทความ ของ คุณ Kiatเอามาเเชร์ ซึ่งเป็น Prop trader เหมือนผมเเต่ทำงานอยู่กันคนละที่ครับ เนื่องจากผมมองว่าเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจจะเข้ามาทำงาน สาย Trader ......

ก่อนที่เราจะทำความเข้าใจว่าเราจะเข้าไปทำงานได้ยังไง
และทำอะไรบ้างต้องเข้าใจก่อนว่า กองทุน ในโลกนี้นั้นมีหลักๆ ลักษณะอยู่กี่แบบนะครับ
ใน ปัจจุบันนี้นั้นสามารถแบ่งลักษณะกองทุนตามเกณฑ์ ได้หลากหลายเกณฑ์มากขึ้นอยู่กับนโยบาย ของแต่ละที่ แต่ละประเทศ ซึ่งค่อนข้างหลากหลายหลักๆ ของนโยบายการลงทุน จะมีผลต่อลักษณะเนื้องานและอำนาจหน้าที่ที่เทรดเดอร์จะได้รับ

1) กองทุนที่ Focus หนักไปทางการลงทุนในพื้นฐาน และมักจะพิจารณาการลงทุนจากข้อมูลปัจจัยทางด้าน Fundamental เป็นหลักกองทุนประเภทนี้จะมีอยู่มากในไทยหลักๆ จะลงทุนพวกหุ้น และตราสารทางการเงินทั่วไป บางแห่ง จะเอาไปลงทุน พวกดัชนีหรือบางแห่งจะเอาไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศอีกที อำนาจหลักของการลงทุนโดยมากจะอยุ่ที่ผู้จัดการกองทุน ซึ่งโดยมากจะต้องเป้นพวกที่ได้ใบ CFA และจบสายเศรฐศาสตร์มาเทรดเดอร์นั้น แทบจะไม่มี หรือถ้ามีก็เป้นแค่ลูกมือที่ทำตามคำสั่งอย่างเดียวถ้าคิดจะไปอยู่กองทุนสาย นี้ ก็ต้องจบและสอบใบ CFA มาถึงจะดีที่สุดเก็บประสบการณ์แล้วไต่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆจนเป้น ผุ้จัดการกองทุนในบั้นปลายชีวิต(แต่ส่วนมากกองทุนพวกนี้ในไทย ทำกำไรได้น้อย)

2)กองทุนที่เป้นลักษณะ Global Macro พวกนี้นั้นเน้นหนักไปทางด้านการวิเคราะห์และดูภาพองค์รวม โดยลงทุนตามวงจรขึ้นลงของเศรฐกิจของแต่ละประเทศกองทุนพวกนี้ส่วนมากจะมีใน ต่างประเทศ ในไทยเท่าที่รู้มีแค่ที่เดียวมั้งนะครับลักษณะการลงทุน จะมีพวก CFAผุ้จัดการกองทุนคอยกำหนด นโยบายว่า ปีนี้ ช่วงนี้จะไปลงทุนอะไร ลงทุนที่ไหนและมีฝ่าย Risk Management คอยคลุมและออกกฎวงเงิน ประกอบกับจำนวนยอดการเทรดเป็นกฎประจำช่วงนั้นๆ คือง่ายๆ ฝ่ายบนเค้าจะมีนโยบายออกมาให้เราแล้วว่า จะไปเทรดอะไรเทรดเท่าไหร่ เมื่อไหร่ ส่วนหน้าที่เทรดเดอร์จะมีหน้าที่เก็งกำไร ในสินค้าตัวที่เค้ากำหนดให้เราในวงเงินและความเสี่ยงที่เค้าระบุมากองทุน ลักษณะนี้ เทรดเดอร์จะค่อนข้างมีอำนาจขึ้นมาเยอะหน่อยผิดกับตัวแรกมากลักษณะการลงทุนจะ กึ่งๆ ฝ่ายบนคิดตัดสนิใจจาก Fundamentalส่วนฝ่ายเทรดเดอร์ก็เทรดไปตามเทคนิคคอล แต่บางที่ ก็จะเป็น Fundamental ทั้งสองฝ่ายเลย
แล้วแต่ลักษณะกองทุนไป ที่ในต่างประเทศหลายๆแห่งก็เป็นลักษณะนี้

3) กองทุนที่เป็นสายเก็งกำไรจัดๆ (Market Speculate) พวกนี้จะมีหน่วยลงทุน หลายทีมและเยอะและกระจายความเสี่ยงโดย จำนวนทีมที่มากเข้าไว้ โดยแต่ละทีมก้ต้องมีแผนการเทรดและบริหารการลงทุนที่แตกต่างกันไป ส่วนมากจะมาทางด้าน Technical จัดๆบางที่จะออกแนวๆ Scalping เลยด้วยซ้ำไป บางที่จะเทรดแบบ Market makerในไทยจะมีอยู่หลักๆ สี่ ห้าแห่ง และแนวโน้มระยะยาว จะเริ่มมีเปิดตามๆมาอีกในอนาคต ส่วนมากในไทยกองทุนพวกนี้ จะเทรด TFEX, หุ้น และ บางที่อาจจะมีไปเทรด Gold future,ตราสารหนี้บ้างบางส่วน กองทุนในลักษณะนี้ ตัวเทรดเดอร์เองค่อนข้างมีอำนาจตัดสินใจค่อนข้างเยอะ และเป็นเอกเทศ กว่ากองทุนสองแบบแรก แต่ความกดดันจะสูงมาก
เนื่องจากผลงานและตัวเงิน ออกมาและวัดกันได้แบบเห็นๆเลย ในแต่ละไตรมาศ
แต่ผลตอบแทนก็จะเยอะเช่นกันกองทุนประเภทนี้ ก็มีพอสมควรที่ต่างประเทศเช่นกัน
บาง ที่จะมีเงินเดือน Fix + %shareแต่บางที่ก็ไม่มี และส่วนมากถ้าเป็นที่ สิงคโปร์หรือฮ่องกง จะไม่มีเงินเดือนเลย ส่วนตัวผมเองนั้น ทำงานในกองทุนกลุ่มนี้ครับตำแหน่ง Proprietary trader

4) กองทุนสาย Quant บางที่เรียก Quant fund กองทุนลักษณะนี้ คนที่มีอำนาจในกองทุนเยอะจะเป็นพวก เทรดเดอร์ และ คนพัฒนา ระบบเทรด กองทุนแบบนี้นั้นใช้คนน้อย แต่ถือเงินก้อนใหญ่ หลักๆ จะมีเทรดเดอร์ และ Programmer ที่พัฒนาระบบเทรดและให้ พวก EA รันไป บางที่เรียก ATS บางที่เรียก Bot บางที่เรียก Automate trade สายนี้ส่วนมากจะเป็น Technical analysis จัดๆโดยบวกกับหลักการณ์ทางสถิติศาสตร์ และคำนวน และประมวลออกมาเป็น ระบบเทรดอัตโนมัติกองทุนแบบนี้ ในเมืองไทยเท่าที่รู้มี แค่ที่เดียวแต่เป็นเถื่อนไม่ถูกกฎหมายที่สำคัญจะเข้าค่อนข้างยากส่วนมากจะ ต้องเป็นคนที่มีแนวคิดระบบดีแล้วและเอาไปเสนอเขาถึงจะได้รับเข้าทำงาน

กอง ทุนลักษณะนี้ จะมีที่ต่างประเทศเยอะ แต่ในไทยยังไม่เปิดรับและยังไม่เปิดกว้างพอ เพราะสังคมเรายังตามไม่ทันเขา ถ้าอยากจะได้เข้าทำงานมีหนทางสองทางคือ เทรดประสบความสำเร็จแล้ว และ มีระบบที่ทำเงินจริงไอเดียดี ไปเสนอ หรือ ควรจะต้องไปเรียนสาย Finance engineering statisticซึ่งมีเปิดโทที่เอมริกา กับอังกฤษครับ


5) กองทุนสาย HFT เป็นกองทุนที่พัฒนามาอีกขั้นจากกองทุนสาย Quantแต่เน้นหนักไปทางด้านการเทรดที่ใช้ความเร็วสูงมาก ในระดับ milli sec., nano secซึ่งวินาทีนึง บางครั้งจะส่งคำสั่งเทรด เป็นร้อยๆ คำสั่ง และเทรดเยอะมากๆแข่งกันที่ความเร็วและความไวของการประมวลผลด้วย Super computerกองทุนลักษณะนี้ก็เป็นแนวโน้มที่กำลังมาแรงอีกตัว พวกที่แข่งเทรด EA โลกเวลาชนะก้มักจะได้ถูกซื้อตัวไปทำงานกับพวกนี้ซะเยอะเงินเดือนเริ่มต้นถ้า เป็นที่อเมริกา จะอยู่ที่ราวๆ 250,000 $ / ปี
นอกจากนี้แล้วนั้น ตำแหน่งเทรดเดอร์นั้น ยังมีระดับแยกย่อยออกไปอีกตามแต่สายงานและกองทุนหลักๆ นั้น พอเราก้าวข้าวระดับเทรดเดอร์ไปนานๆ ถ้าไปสมัครตามฮ่องกง หรือเซี่ยงไฮ้ เค้าจะมีรับตำแหน่งMarket maker ซึ่งเป็นอีกระดับของเทรดเดอร์ขึ้นไปอีกขั้น โดยจะมีวงเงินมากพอที่จะเคลื่อนตลาดได้แต่เราก็ไม่ใช่จะมีอิสระสร้างราคา ตลอดเวลาส่วนมาก เขาจะทำก็ต่อเมื่อมีนโยบายออกมาจากเบื้องบน โดยมากจะเป็นการร่วมมือกับทีมข่าวและทีมปั่นเทรดเดอร์อื่นๆ ในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมจะสร้างราคา

บางครั้งอาจจะเป็นยโยบายจากทางแบงค์เองออกมา
- ช่วงที่ตลาดสุกงอมสมควรแก่การเคลื่อนราคาตลาดเพื่อให้ทีมเทรดเดอร์อื่นๆที่ มี Position ค้างอยู่เยอะ สามารถทำกำไรได้โดยมากจะต้องมีการพิจารณาประกอบจากฝ่ายบนด้วย

หรือ บางแห่ง จะเป็นในลักษณะแบบ ทีมเทรดแบบสามขาฝ่ายคิดระบบ ทำหน้าที่คิดระบบแต่ไม่เทรด ไม่หาเงินเจ้าของเงิน หาเงินมาให้ ไม่คิดระบบและไม่เทรด แต่บางครั้งก็ทำหน้าที่กำหนด risk / position / period
ฝ่ายเทรด เทรดอย่างเดียวแต่ไม่คิดระบบ และไม่หาเงิน


นอกจากนี้ กองทุนยังสามารถจำแนกแยกย่อย เป็น
กองทุนแบบเปิด - รับเงินและขายหน่วยลงทุนโดยหาเงินมาจากบุคคล เอกชน รายย่อยทั่วไป
กองทุนแบบปิด - ไม่เปิดขายหน่วยลงทุนแก่บุคคลทั่วไป (ผมทำงานในกองทุนแบบนี้ครับ)
กองทุนแบบ Fund of fund คือเป็นกองทุน ที่ทำตัวเพื่อไปเสนอเอาเงินทุนจากกองทุนที่อื่นๆ มาอีกทีหนึ่ง
กองทุนแบบ CTA คือกองทุนลักษณะรับบริหารพอร์ตให้รายย่อยเป้นรายๆไปผ่าน Platform ที่มีการกึ่งอนุมัติอำนาจจาก เจ้าของเงินแล้ว

ตำแหน่งเทรดเดอร์ยังสามารถไปทำงานในสายของแบงค์ได้อีกโดยจะอยุ่ในแผนก Treasury และบางแห่งจะมีชื่อเรียกอื่น ตำแหน่ง
ส่วนมากจะเรียก Dealer หรือ  traderหน้าที่หลักส่วนมาก จะเป็นการ Square position

ให้ กับทางแบงค์โดยวันหนึ่งๆ จะมีหน้าที่รับออเดอร์จำนวนเงินเข้ามาว่ามีเงินเท่าไหร่ที่ต้องการแลกเป็น สกุลเงินอื่นๆต่างๆเราก็ทำหน้าที่
เอาไป short sell ในตลาดตามแต่เรทที่ได้รับมา อาจจะมีเก้งกำไรได้นิดหน่อยแต่ไม่ใช่หน้าที่หลักของ เทรดเดอร์พวกนี้ ส่วนมากจะมีแบ้งละ สามสี่คนเท่านั้นถ้าอยากเข้าทำงาน ส่วนมากต้องผ่านการไต่ระดับ หรือได้ทุนเรียนของแบ้ง
ไปต่อนอกแล้วกลับมาหรือถูกซื้อตัวมาจากแบ้งต่างประเทศ มักจะรับสมัครน้อยมากๆ

ทีนี้ส่วนคำถามว่าจะเข้าไปทำงานในสายนี้ได้อย่างไรนั้น

1) ผลงานเดิมที่ผ่านมา คือเราต้องเทรดกำไรมาพอสมควรแล้วและมี portfolioให้เค้าดูอย่างน้อยๆ ต้องปีถึงสองปีขึ้นไป
2) หรือผ่านการประกวดแข่งขันการเทรดต่างๆ แล้วถูกดึงตัว
3) หรือจากการแนะนำจากคนใน ซึ่งบางแห่งก็มีผลค่อนข้างมากจาก การบอกปากต่อปาก

ปล.: เทรดเดอร์รุ่นใหม่ๆในไทยที่เก่งๆ ส่วนมากอายุน้อยๆทั้งนั้นครับสืบเนื่องจาก วงการนี้ในไทยยังแคบ และเพิ่งจะมามีหลังประเทศอื่นๆเค้าพัฒนาไปหลายปีส่วนมากก็จะวนเวียนไปๆมาๆ ครับ ผมประมาณการณ์เอา
เองว่าในไทย น่าจะมีไม่ถึง 500 คนมั้งอาชีพนี้

ที่มา : Face book ของคุณ Kiat ครับ
-ผมได้ตัดเนื้อหาบางส่วนออกไปเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวไว้ให้คุณ Kiat นะครับ






สำหรับวิธีการที่ผมเข้าสู่ บล.ในฐานะ Prop trader นี่เรียกว่า เส้นทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเลยครับ มันขรุขระเอามากๆ

- ผมส่ง Resume ของผมไปตาม บ.ล หลายที่ ที่คิดว่าน่าจะมี เเผนก Proprietary Department อยู่ครับ >>> อาจจะโชคดีที่ผมรู้จักเพื่อนที่เคยเป็น Prop trader เลยพอรู้ว่ามีบล ที่ไหนบ้างที่น่าจะมีเเผนกนี้ ผมชวนเพื่อนไปสมัคร

- ในที่สุดผมกับเพื่อนก็ถูกเรียก ไปสอบข้อเขียน (ใน Resume ที่ส่งมากว่า 100 ใบ นั้นจะถูกเรียก มาสอบเพียงเเค่ประมาณ 50%) ข้อสอบที่ผมทำนั้นถ้าตอบผิดติดลบ นั่นเเสดงว่าถ้าไม่รู้จริงเเล้วไปเดา ก็จะโดนคะเเนนติดลบเอาได้ครับ โดยข้อสอบเป็น 2 ส่วน ตัวเลือก + ข้อเขียน >>>> โดยส่วนข้อเขียนจะถามเกี่ยวกับเรื่องของระบบ หรือวิธีการเทรดของเรา รอบนี้ผมทำได้ค่อนข้างดีครับ คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา เเละก็เป็นไปตามคาด ผมสามารถเข้าสู่รอบถัดไป

-จากข้อสอบข้อเขียน ก็จะเหลือผู้ผ่านเข้ารอบประมาณ 15-20 คน เพื่อเข้าสู่รอบสัมภาษณ์ ในรอบนี้ ผมตอบได้ทุกคำถาม เเทบจะ 100% พี่ที่สัมภาษณ์บอกว่าตอบคำถามได้ดี เเนวคิดได้ ขอดูเรื่องสุดท้ายว่าสามารถเข้ากับทีม + นโยบายบริษัทได้รึป่าว >>>> ผ่านไป 2 วันฝ่ายบุคคลโทรมาครับ ผลออกมาผิดคาดไปมากๆ ผมตกรอบนี้ >>> ณ ตอนนี้ผมมึนงง ทำอะไรไม่ถูก อาจจะด้วยความคาดหวังที่สูง เเล้วมันผิดคาด ส่วนเพื่อนของผมเข้ารอบ 5 คนสุดท้ายครับ

- เท่ากับว่า จาก 100 กว่าคน >>>> 50 คน >>>> 15 คน ( ผมหยุดที่รอบนี้) >>>>> 5 คน >>>> 2 คน ( รับเข้าเป็น Trader 2 ตำเเหน่ง ครับ)เพื่อนของผมสามารถทะลุเข้าสู่รอบการเป็น Trader ได้สำเร็จ ส่วนผมหลุด

- ผมยังอยากรู้ถึงเกณฑ์การตัดสินของกรรมการ เลยส่งE-mail ถามอย่างสุภาพ ว่าผมมีจุดบกพร่องตรงไหน >>> พี่เค้าก็ใจดีตอบมาให้ครับ ว่าตอนสัมภาษณ์ ผมมีลักษณะอาการที่เรียกว่า Super Ego คือเชื่อมั่นในคำตอบมาจนเกินไป อาจจะคุมให้อยู่ในระเบียนวินัยได้ยาก ก็เลยตัดให้ตกรอบ ผมเลยเขียนE-mail ตอบกลับไปว่า ถ้าคราวหน้ามีโอกาสอีกครั้ง ผมจะขอกลับเข้าไปสัมภาษณ์ใหม่

......เวลาก็ผ่านไป อีก 1-2 เดือน .................
-ผมเริ่มเขียน Blog  + ทำเวบไซด์ให้ความรู้เกี่ยวกับการเทรด

- ทางฝ่ายบุคคลของบล ติดต่อผมมาอีกครั้งให้เข้าไปคุยเพื่อเข้ารับการทดสอบรอบใหม่ >>>> คราวนี้มีเกณฑ์ใหม่ให้ทดสอบ คือ ให้นั่งเทรด TFEX ของจริงอยู่บ้านโดยทดสอบที่พอร์ตตัวเอง + เขียนบันทึกการเทรด + วิเคราะห์ ตลาด 1 เดือน ถ้าผ่านเกณฑ์จะเรียกกลับเข้าไปสัมภาษณ์อีกครั้ง ( ตรงนี้ต้องไปตามอ่านช่วงวันเเรกๆของการเดินทางครับที่ tradetory.com จะพบว่าเจอความท้าทายมากมายจริงๆ ผมเจอขาดทุนด้วย)

-เเละเเล้วเวลา 1 เดือนก็ผ่านไป..........
-ณ เวลานั้นเพื่อนผมที่ไปทำ Prop trade เริ่มเครียด + รู้สึกไม่มั่นคง จึงขอลาออก ถือเป็นเรื่องที่น่าตกใจกๆครับ
-วันประกาศผลก็มาถึง ผมโชคดีมากๆครับ ที่ทางหัวหน้าเเผนก Prop ให้โอกาสผมกลับไปสัมภาษณ์อีกครั้ง
-วัน สัมภาษณ์ >>> สัมภาษณ์ เป็นภาษา Eng ประมาณ 2.5 ชั่วโมง เเละ 1 วันจากวันสัมภาณ์ ทางฝ่ายบุคคลก็โทรเรียกให้ไปตรวจสุขภาพ ต่อ

-ทุกอย่างเหมือนจะเป็นไปได้ด้วยดี
-เเต่ เมื่อเริ่มมาเป็น Trader จริงๆ เดือนเเรก ผมทำกำไรได้นิดหน่อย จากนั้นเดือนที่ 2 นั้นขาดทุนเกือบทุกวัน จนกราฟกำไรสะสมตกลงอย่างน่าตกใจ ถึงตอนนี้ผมถูกทางหัวหน้าให้หยุดเทรด กลับไปเทรดกระดาษ (เรียกว่า Paper Trading) เพราะผมยังจับทางในการเทรดไม่เจอเลย ถ้าปล่อยเเบบนี้อีกเเค่ 1-2 อาทิตย์ ผมคงจะไม่รอดเเน่ๆเเล้ว เพราะเริ่มถูกทางผู้บริหารเพ่งเล็ง
-โชค ดีที่พี่ในเเผนกช่วยเเนะวิธีการบางอย่าง+ การนำ Model เทรดมาประคองตัวทำให้ผมสามารถหยุดการขาดทุนไว้ได้ จนในที่สุดก็เริ่มปรับตัวให้เข้ากับจังหวะของตลาด เเละเริ่มทำกำไร ...............กว่าจะอยู่รอด เเละเริ่มทำกำไรในสาย Prop trader สำหรับผมเเล้วต้องเชื่อมั่น ฝึกฝน เเละก็ฝึกฝนครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘