ใบสำคัญแสดงสิทธิ์อนุพันธ์ (Derivatives Warrant: DW) ต่อจากคราวที่แล้ว

จากบทความ ทีเคยเขียนไว้ ในคราวก่อน ในเรื่องของ
ใบสำคัญแสดงสิทธิ์อนุพันธ์ (Derivatives Warrant: DW)
สามารถ หาอ่านได้ ตาม link ข้างล่างนี้

http://7meditation.blogspot.com/2011/05/derivatives-warrant-dw-9-2552.html

เราลองอ่านทบทวนดูแล้ว เห็นว่าข้อมูล ยังหยาบไป
เลยอยากเพิ่มเติม ข้อมูล ในบางประเด็น อีกครั้งค่ะ
เริ่มเลย ละกันนะ...


พรีเมี่ยม คือ ราคาที่ผู้ถือ DW เป็นผู้จ่าย เพื่อซื้อสิทธินี้
(ก็เหมือนกับ ราคาที่เราซื้อ Warrant นั่นแหละ)



ลักษณะมูลค่าที่แท้จริง

ATM : ราคาใช้สิทธิ = ราคาปัจจุบัน

ITM : ราคาใช้สิทธิ < ราคาปัจจุบัน

OTM : ราคาใช้สิทธิ > ราคาปัจจุบัน



ประเภทของระยะเวลาการใช้สิทธิ

1)European ใช้สิทธิได้ครั้งเดียว ณ วัน
ครบกำหนดอายุ เท่านั้น

2)American ใช้สิทธิ ได้ทุกวัน จนกระทั่ง
ถึงวัน ครบกำหนดอายุ



ภาษี

1)Capital Gain Tax ได้รับยกเว้น
ภาษี เหมือนกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ใน ตลท.

2)การใช้สิทธิ
-การซื้อสินค้าอ้างอิง ไม่เสียภาษี เหมือนการ
ใช้สิทธิ Warrant ปกติ

-เงินได้จากการใช้สิทธิ (Cash Settlement)
คิดเป็นเงินได้พึงประเมิน (ต้องจ่ายภาษี บุคคลธรรมดา)



ความเสี่ยง

-ผู้ถือ DW ใช้สิทธิ แต่ผู้ออก DW ผิดนัด
ไม่สามารถ ส่งมอบเงินสด หรือส่งมอบสินค้าอ้างอิงได้

-Gearing Risk อัตราผลตอบแทนสูง
แต่ก็ "เจ๊งหนัก" ได้เหมือนกัน

-มีอายุจำกัด

-ราคา(พรีเมี่ยม) ของ DW อาจไม่เคลื่อนไหว
ตามทฤษฎี ในระยะสั้น เพราะมี แรงซื้อ หรือขาย
ตามกลไกตลาดเข้ามากระทบ


ลองดูตารางเปรียบเทียบ ระหว่าง DW กับ Warrant
ตามภาพข้างล่างนี้นะคะ


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘