รู้จักกับ Carboxy Therapy กันชัดๆ

การใช้ ก๊าซคาร์บอน-ไดออกไซด์ หรือ CARBOXY THERAPY ในการบำบัดเซลล์ลูไลท์และรอบแผลเป็นที่ใช้มานานกว่า 70 ปี ในประเทศฝรั่งเศษ อิตาลี จนเป็นที่แผร่หลายมาในปัจจุบันเนื่องประสิทธิภาพที่ชัดเจนและความทันสมัยของ CARBONIZE ในด้านความปลอดภัยต่อผู้รับบำบัด


ก๊าซคาร์บอน-ไดออกไซด์จะส่งผ่านเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนังของ วร่างกาย ในระดับที่เราจะรับรู้สึกตึง ๆ เล็กน้อย หรือไม่รู้สึกอะไรเลย เนื่องจากการใช้เข็มที่มีขนาดเล็กมาก และยังมีตัวควบคุมแรงดันของก๊าซ เมื่อลงชั้นผิว จะทำให้ไม่เกิดความแรงดันมากจนเกินไป เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งมีระบบ TEMPERATURE CONTROL เพื่อให้ CO2 ที่ผ่านสู้ชั้นผิว มีระดับอุณหภูมิ เท่ากับของร่างกายเราทำให้เกิดการไหลเวียนอันเนื่องมาจากหลอดเลือดขยายตัว ได้ดีไม่เกิดอาการ เหน็บชา หรือ ปวดขณะที่ทำCO2 เข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนัง ส่งผลให้หลอดเลือดดำและแดงขยายตัว เส้นใยผังผืดที่ยึดระหว่าง เซลล์ไขมันจะค่อย ๆ จางหายไป และเมื่อมีการไหลเวียนของหลอดเลือดดีขึ้น ปริมาณออกซิเจนก็เพิ่มขึ้นมากตามระดับด้วย เช่นกัน การเผาผลาญของเสียออกจากร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพพร้อม ๆ กัน การเกิดขบวนการ LYPOLYSIS หรือการกระตุ้นการนำพาไขมันส่วนเกินออกไป กล่าวคือการเพิ่มของก๊าซคาร์บอน-ไดออกไซด์และออกซิเจนที่ผ่านเข้ามาทางการ ไหลเวียนที่ดีขึ้นของหลอดเลือด จะทำให้ไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนังถูกดึงออกมาใช้งานมีการแปรรูปเป็นพลังงานและ สลายตัวโดยทันที จากนั้นจึงขับถ่ายออกทางร่างกายทางต่อมน้ำเหลือง และระบบขับถ่ายของร่างกาย
เป็นการฉีดก๊าซ คาร์บอน-ไดออกไซด์ในชั้นผิวหนัง ซึ่งเดิมทีใช้ร่วมกับการผ่าตัดแบบส่องกล้องเพื่อขยายพื้นที่ภายในบริเวณรอบ ๆ จุดที่จะทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนอวัยวะอื่นๆ แต่ด้านความสวยงาม เชื่อว่า การฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านเข็มขนาดเล็กจะกำจัดเซลล์ไขมันเฉพาะส่วน เพิ่มการไหลเวียนของเลือด แก้ไขปัญหาเซลลูไลท์และผิวลาย
มีรายงานวิจัย แสดงการตรวจชิ้นเนื้อไขมันใต้ผิวหนังภายหลัง การฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่าเซลล์ไขมันถูกทำลายโดยตรง และเพิ่มการไหลเวียนโลหิตมายังบริเวณที่ก๊าซแทรกซึมไปขณะรักษาจึงช่วยแก้ไข ปัญหาเซลลูไลท์และผิวแตกลาย
วิธีนี้ ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาว่าปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ยกเว้นหลังการฉีดจะรู้สึกอุ่น แสบและตึงๆ ผิวบริเวณชั้นไขมันใต้ผิวหนัง และควรระมัดระวังในผู้มีปัญหาโรคปอด(1)
จากการสืบค้นพบข้อมูลการศึกษาที่แสดงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ คาร์บอกซีเทอราปี (carboxy-therapy) ดังนี้

การ ศึกษาเรื่อง Carbon Dioxide Therapy in the Treatment of Localized Adiposities: Clinical Study and Histopathological Correlations(2)
ใน การศึกษานี้ใช้ carbon dioxide (CO2) therapy ในการรักษาผู้หญิง 48 คน ที่มีไขมันสะสมบริเวณต้นขา หัวเข่า และ/หรือหน้าท้อง โดยใช้ เครื่องมือ คือ Carbomed Programmable Automatic Carbon Dioxide Therapy ซึ่งคาดว่าการฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดการสลายของไขมัน การศึกษานี้มุ่งหมายที่จะหาผลของการรักษาและผลข้างเคียงต่อการรักษาไขมัน เฉพาะส่วน วัดผลการรักษาโดยดูการลดลงของเส้นรอบวงบริเวณดังกล่าว วัดผลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลต่อการไหลเวียนของเลือดโดยดูการเปลี่ยน แปลงของสัญญาณเลเซอร์และวัดความดันของก๊าซออกซิเจน นอกจากนี้ยังทำการตัดชิ้นเนื้อของผู้หญิงจำนวน 7 คน ก่อนและหลังการรักษาเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทั้งในเนื้อเยื่อไขมันและเนื้อ เยื่อเกี่ยวพัน

ผลการศึกษา พบผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อย และทุกอาการสามารถหายไปในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งมีรายงาน ดังนี้
- พบว่ามีรอยแตกใต้ผิวหนังในผู้ป่วยทุกคน ซึ่งจะพบในชั่วโมงแรกของการรักษาเท่านั้น
- 30% ของผู้ป่วยพบก้อนเลือดขังเล็กน้อย จากการฉีดยาและจะค่อยๆหายไปเองโดยไม่ทำให้เกิดแผลเป็น
- 70% ของผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งจะเกิดในระยะเวลาสั้นๆและไม่รุนแรง

ผลการรักษา
- พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณเลเซอร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังการรักษา (บ่งชี้ว่าการรักษาช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณเส้นเลือดเส้นเล็ก ๆ)
- พบว่าความดันของก๊าซออกซิเจนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หลังการรักษา
- จากการวัดเส้นรอบวงของต้นขา หัวเข่า และหน้าท้อง ก่อนและหลังการรักษา พบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
- จากการดูชิ้นเนื้อที่ตัดออกมาด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่าเนื้อเยื่อไขมันแตกออกและปลดปล่อย triglyceride ออกมา
- พบว่าผิวหนังชั้น dermis(ชั้นหนังแท้) หนาขึ้น เมื่อได้รับการรักษา และพบว่า collagen มีการกระจายตัวมากขึ้น

การ ศึกษานี้สรุปผลว่า carbon dioxide (CO2) therapy มีประสิทธิภาพในการลดไขมันเฉพาะส่วน และไม่พบว่าทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการรักษาที่รุนแรง
การศึกษาเรื่อง Carbon Dioxide Therapy: Effects on Skin Irregularity and Its Use as a Complement to Liposuction (3)
เนื่อง จากการรักษาด้วยวิธีการดูดไขมันคงทนอยู่ได้ไม่นานก็จะเกิดการสะสมของไขมัน ใหม่ จึงมีการนำ carbon dioxide therapy มาใช้เพื่อช่วยยืดช่วงเวลาการเกิดการสะสมของไขมัน
โดยทำการศึกษาในผู้ ป่วย 42 คน ที่มีไขมันสะสมบริเวณต้นขาและหัวเข่า ผู้ป่วยหญิง 24 คน อายุเฉลี่ยประมาณ 41 ปี ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม A และกลุ่ม B และอีก 18 คน ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม C ซึ่งอายุเฉลี่ยประมาณ 40 ปี
แบ่งผู้ป่วย 42 คน เป็น 3 กลุ่ม คือ A, B และ C ซึ่งจะให้การรักษาต่างกัน ดังนี้
กลุ่ม A : รักษาด้วยการดูดไขมัน
กลุ่ม B : รักษาด้วยการดูดไขมันร่วมกับ carbon dioxide therapy
กลุ่ม C : รักษาด้วย carbon dioxide therapy อย่างเดียว

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
เพื่อ ประเมินประสิทธิภาพของการรักษาด้วย carbon dioxide therapy และประเมินการรักษาประสิทธิภาพของการรักษาด้วยวิธีการดูดไขมันร่วมกับ carbon dioxide therapy โดยดูผลการเปลี่ยนแปลงของเส้นรอบวงอวัยวะดังกล่าวและความยืดหยุ่นของผิวหนัง

การ ศึกษานี้สรุปผลว่า carbon dioxide therapy ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผิวหนังและลดไขมันที่สะสม โดยพบว่าเมื่อรักษาด้วยวิธีการดูดไขมันช่วยลดขนาดของเส้นรอบวงของต้นขาและ หัวเข่าได้มากกว่าการรักษาด้วยวิธีการดูดไขมันร่วมกับ carbon dioxide therapy แต่เหตุผลที่ใช้ carbon dioxide therapy เนื่องจากช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการดูดไขมันได้ดี ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าความยืดหยุ่นของผิวหนังในกลุ่มที่รักษาด้วยวิธีการดูด ไขมันร่วมกับ carbon dioxide therapy จะมีค่ามากกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยวิธีการดูดไขมันอย่างเดียว และจากการศึกษายังไม่พบผลข้างเคียงที่สัมพันธ์กับการใช้ carbon dioxide therapy จึงสรุปว่าสามารถใช้ carbon dioxide therapy ได้อย่างปลอดภัย
จาก การศึกษาทั้งหมดที่กล่าวมา สรุปได้ว่า การรักษาไขมันเฉพาะส่วนด้วยวิธี carbon dioxide (CO2) therapy มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง อาจต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มประชากรที่มากกว่านี้และติดตามถึงผลที่ อาจเกิดขึ้นในระยะยาวหลังการรักษาเพื่อเพิ่มความมั่นใจต่อการรักษาต่อไปใน อนาคต
อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยสลายไขมันนี้สามารถคงทนอยู่ประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการดำรงชีวิต หากมีการออกกำลังกาย และควบคุมอาหารร่วมจะช่วยให้เซลลูไลท์ก่อตัวช้าขึ้น นอกจากนี้การตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีเพื่อลดเซลลูไลท์ ควรได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ประจำสถาบันต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์หรือวิธีการที่มีความเหมาะสมมากที่สุด เพราะผู้ที่มีน้ำหนักมากหรือมีโรคประจำตัวบางประเภทอาจไม่เหมาะสมกับบางวิธี หรือบางคนอาจต้องใช้หลาย ๆ วิธีประกอบกัน(1)
เอกสารอ้างอิง
1. Carboxy Therapy. Available at: URL: http://www.bangkokhealth.com/consult_htdoc. Accessed September 4,2006.
2. Brandi C, Aniello CD, Grimaldi L, Bosi B, Dei L, Lattarulo P, et al. Carbon dioxide therapy in the treatment of localized adiposities: clinical study and histopathological correlations. Aesth. Plast. Surg. 2001;25:170-4.
3. Brandi C, Aniello CD, Grimaldi L, Bosi B, Dei L, Lattarulo P, et al. Carbon Dioxide Therapy: Effects on Skin Irregularity and Its Use as a Complement to Liposuction. Aesth. Plast. Surg. 2004;28:222-5.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘