คนวิกลจริต

ต่อจาก

http://7meditation.blogspot.com/2011/05/change.html





เห็นcycle ข้างบนแล้ว คิดยังไงกันบ้างคะ

(ภาพนี้ ยืมมาจาก http://www.stock2morrow.com/

ดูแล้ว เข้าใจ ง่ายดี ไม่ต้องอธิบาย ยืดยาว)





(หล่อมั้ย? รูปนี้)


เคยเห็นกันแต่รูปของไอน์สไตน์ ตอนแก่ๆหัวฟูๆ

ลองดูรูปตอนหนุ่มๆ เทียบกันไปด้วย ใครจะรู้

ไอน์สไตน์ ก็มีมุม ที่ดูดีไม่หยอก เหมือนกัน


Albert Einstein ให้นิยามของ 'ความวิกลจริต'

ไว้ว่า 'การทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ว่า...

หวังให้ผล ที่ออกมา เปลี่ยนแปลงไป'


ในกรณีนี้ ก็คือพฤติกรรม ที่ทำอะไรแล้ว

ไม่สำเร็จ แต่ก็ยังคงทำเหมือนเดิม ซ้ำๆ

อยู่นั่นเอง เพื่อที่จะให้มัน สำเร็จขึ้นมาได้

สักวันหนึ่ง...


มีตัวอย่าง คลาสสิค ที่เล่ากันว่า

มีคนทำของหล่นหาย เขาก็พยายาม

จะมองหา ของที่ตกหายไป แต่เนื่องจาก

เป็นเวลา กลางคืน เดือนมืด

จึงมองไม่เห็นอะไรเลย

มีเสาไฟฟ้าต้นหนึ่ง อยู่ข้างถนน

เขาจึงได้แต่เดินหาของ ตามบริเวณ

รอบๆเสาไฟนั้น เพราะเป็นที่เดียว

ที่มีแสงสว่าง พอมองเห็น อะไรได้

มีคำถามว่า ในคืนนั้น เขาจะหาของเจอไหม

ถ้าหากใช้มาตรฐาน ของไอน์สไตน์

คนในเรื่องนี้ ก็หนีไม่พ้นที่จะเป็นคนวิกลจริต


ลองคิดดู คุณเป็นอย่างนั้นมั้ย?

.

.

.

ถ้าการลงทุน ของคุณ เป็นแบบวัฏจักร

ตามภาพ ข้างบน คุณก็อาจเข้าข่ายนี้ได้


ข่าวดี !!! คือ " วิกลจริต แก้ได้ "

โดยคุณ ต้อง Change ไง



ถ้าหากปล่อยให้ ทุกอย่างดำเนินไป

ตามความเคยชิน ปล่อยให้อารมณ์

หรือความเข้าใจ ที่ผิด เป็นตัวขับเคลื่อน

พฤติกรรมทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ คนดี

มีการศึกษา จึงกลายเป็นคนวิกลจริต

ในความหมายของไอน์สไตน์

นักลงทุนที่ดี จึงควรใช้ทั้งสติและปัญญา

หมั่นทบทวน กลยุทธ์การลงทุน อย่างสม่ำเสมอ

ไม่ยอมใช้กลวิธี ที่ล้มเหลวซ้ำสอง

แต่ต้องนำความผิดพลาด ครั้งแรกมาเป็นบทเรียน

หรือต้องต่อยอดสิ่งที่สำเร็จให้พัฒนายิ่งขึ้นไปเสมอ



คราวหน้า เราจะมาต่อกัน ถึงเรื่อง Change

ว่าจะต้องทำยังไง เริ่มจากตรงไหนดี

วันนี้ แค่นี้ก่อนค่ะ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘