9 เหตุผลที่คุณลดน้ำหนักไม่สำเร็จสักที ตอน 6

เหตุผลข้อที่ 6 - ลด (น้ำหนัก) ไม่ได้เพราะโรคประจำตัว

ขึ้นชื่อว่าป่วยเป็นโรค.. คงไม่มีใครอยากจะได้หรืออยากจะเป็น เหล่าบรรดาโรคทั้งหลายจึงต้องโหมโปรโมชั่น ลดแลกแจกแถม บางโรคถึงขั้นแจกเงินเป็นล้านๆ ล่อให้เราเป็น ล่อให้เราป่วยเพื่อให้สมอารมณ์หมายของเหล่าบรรดาโรคทั้งหลาย คุณคงจะคิดว่า.. บ้า!!! ใครมันจะไปยอม แต่เชื่อหรือไม่ว่าทุกวันนี้หลายๆ คนกลับมีพฤติกรรมที่เหมือนเปิดประตูให้โรคภัยเข้าสู่ตัวเพื่อแลกกับของ รางวัลเล็กๆ น้อยๆ เช่น...

...กิน xxx ครบ 2,000 บาทลุ้นตัวเครื่องบินไปเกาหลีเหนือ (-....-)
...มา 5 จ่าย 3 ...ซัดให้เรียบไม่ต้องยั้ง.... ล้วงคออ๊วกแล้วมากินกันต่อก็ได้ (-__-)
...กินเท่าไรก็จ่ายแค่ 229.... กินเสร็จวิ่งไปอึ กลับมากินอีกรอบก็ไม่ว่ากัน (*O*)
...ชวนเพื่อนมากินมากที่สุด รับไปเลยบัตรกำนัล xxxxx บาท (ใช้กินในครั้งต่อไป.. เทพจริงๆ!!!)
ฯลฯ

การกิน (ยัด) สารพัดสิ่งอย่างเข้าไปโดยสิ่งที่ยัดเข้าไปนั้น มันอาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการ หรือยัดเกินความจำเป็นของร่างกาย นอกจากจะทำให้มันแปรเปลี่ยนเป็นไขมันแล้ว บางครั้งมันยังมีวาระซ่อนเร้นแถมมาอีกด้วย เช่น ภาวะคลอเลสเตอรอลสูง ไขมันที่เพิ่มมากขึ้นอาจไปเกาะตามผนังลำไส้, เส้นเลือดต่างๆ จนทำให้การทำงานของร่างกายไม่ปกติ ในขณะที่บางคนกลัวอ้วนจัดแต่ก็ยังเลิกกินตามใจปากไม่ได้เลยตัดสินใจเลือกใช้ วิธี "รักพี่เสียดายน้อง .. งั้นก็เก็บเธอไว้ทั้งสองคนละกัน" คือ กินเยอะๆ ตามที่อยากแล้วให้มันจากไปด้วยการล้วงคออ๊วกจะได้ผอม!!! ยิ่งทำแบบนี้มากเท่าไร ยิ่งทำให้ร่างกายผิดปกติมากกว่าเดิม เพราะเป็นเหมือนการสอนให้ร่างกายไม่ยอมรับอาหาร ทุกครั้งที่กินอาหารเข้าไปต้องอ๊วกออกมา เมื่อทำบ่อยๆ เข้า ร่างกายก็จะเชิ่อไปเองว่า เมื่อไรที่คุณกินอาหาร ให้อ๊วกออกมาโดยดี ทำให้คุณไม่สามารถกินอาหารตามปกติได้แล้ว เพราะกินเท่าไรก็ไม่ย่อย มันจะพยายามอ๊วกออกมาทุกที... เศร้าจริงๆ

เคยมีฝรั่งบอกว่า "You are what you eat" หมายถึงว่า คุณคือผลลัพท์ของสิ่งที่คุณได้กินลงไปในอดีต.. โรคประจำตัวหลายๆ โรค เช่น ภาวะต่อมไร้ท่อ, ต่อมใต้สมอง หรือต่อมที่ผลิตฮอร์โมนต่างๆ ที่มีส่วนในการเผาผลาญ รวมไปถึงขบวนการย่อยอาหาร ปัญหาข้อเข่าต่างๆ ล้วนได้รับอานิสงค์มาจากอาหารที่คุณกินเข้าไปทั้งสิ้น

ดังนั้นโรคประจำตัว ทั้งความดัน, เบาหวาน, คลอเลสเตอรอล และอีกสารพัดสิ่งอย่างที่ผิดปกตินั้น ล้วนเกิดจากการกินอาหารที่ผิดปกติ ซึ่งภาวะผิดปกติเหล่านี้บางอย่างก็มีผลต่อการลดน้ำหนักเช่นกัน ตัวอย่างเช่น

คนที่มีปัญหาความดัน หรือมีปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ อาจจะเลือกวิธีออกกำลังกายเพื่อสร้างมวลกล้ามเนื้อด้วยการเล่นโยคะ (บางท่าที่ต้องก้มๆ เงยๆ ก็อาจจะงดไปก่อนช่วงแรก จนกว่าร่างกายจะเริ่มปรับตัวได้) หรือเน้นไปที่การยกดัมเบล หรือการว่ายน้ำ (ถ้าว่ายไม่เป็นก็ใช้การเกาะขอบสระแล้วตีขาลอยตัวเบาๆ หรือเดินไปเดินมาในน้ำหลายๆ รอบก็ได้) แทนการเต้นแอโรบิค หรือปั่นจักรยาน เพราะจะทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป (ในช่วงแรก) เมื่อร่างกายเริ่มปรับตัวได้ (ผ่านไปสัก 1-3 เดือน) ค่อยเริ่มออกกำลังกายที่เน้นให้หัวใจทำงานดีขึ้น เช่น การเดินเร็ว การวิ่งเบาๆ เป็นต้น จากนั้นเมื่อร่างกายเริ่มปรับตัวได้มากขึ้น ค่อยปรับเพิ่มรูปแบบการออกำลังกายอีกครั้ง

ทั้งนี้ผู้ที่มีโรคประจำตัวใดๆ ก็ตาม ควรจะปรึกษาแพทย์ที่ดูแลตัวเองก่อนว่า รูปแบบการออกกำลังกายแบบใดที่เหมาะกับท่านมากที่สุด

คนที่ต้องการลดน้ำหนัก แต่มีปัญหาโรคประจำตัวนั้น สามารถลดน้ำหนักได้ ถ้าเลือกวิธีที่เหมาะสม แต่มีโรคประจำตัวอยู่โรคหนึ่งที่ถ้าใครเป็นเป็นจะลดน้ำหนักไม่ได้เลย โรคนั้นคือ... โรคขี้เกียจ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘