หุ้นปั่น-ปั่นหุ้น 4

5) การปล่อยหุ้น

เมื่อหุ้นขึ้นมาได้ 80% ของ

ราคาเป้าหมายแล้ว ระยะทาง

ที่เหลืออีก 20%ของราคา

คือช่วงของการทยอยปล่อยหุ้น

ช่วงนี้จะเป็นช่วง ชี้เป็นชี้ตาย

การลงทุนของนักปั่นหุ้น ถ้าทำพลาด

นักลงทุนรายย่อยรู้เท่าทัน

หรือตลาดไม่เป็นใจ เช่น เกิดสงคราม

โดยไม่คาดฝัน นักปั่นหุ้นเอง ที่จะเป็น

ผู้ติดหุ้นอยู่บนยอดไม้ จะขายก็ไม่มีใคร

มารับซื้ออาจต้องรออีก 6 เดือนถึง 1ปี

กว่าจะมี ภาวะกระทิง เป็นจังหวะ

ให้ออกของ ได้อีกครั้ง อีกทั้งอาจจะไม่ได้

ราคาดีเท่าเดิม หรือถึงกับขาดทุนก็ได้



วิธีการปล่อยหุ้น เริ่มจากการรอจังหวะ

ที่ข่าวดีจะประกาศออกมาเป็นทางการ

นักปั่นหุ้นซึ่งรู้มาก่อนแล้ว จะเริ่มไล่ราคา

อย่างรุนแรง 4-5 ช่วงราคา

มีการโยนหุ้น เคาะซื้อ เคาะขาย กันเอง

ครั้งละ หลายแสนหุ้น ปริมาณซื้อขาย

เพิ่มขึ้น อย่างเห็นได้ชัด เพื่อดึงดูด

ความสนใจของรายย่อย


เมื่อรายย่อย เริ่มเข้าผสมโรง

นักลงทุนรายใหญ่ จะตั้งขายหุ้น

ในแต่ละช่วงราคา ไว้หลายๆ แสนหุ้น

และจะเริ่มเคาะนำ ส่งสัญญาณไล่ซื้อ

ครั้งละ 100 หุ้นบ้าง 3,000 หุ้นบ้าง

หรือแม้แต่ครั้งละ 100,000หุ้น

หลายๆ ครั้ง เมื่อหุ้นที่ตั้งขาย

ใกล้หมด เขาจะเคาะซื้อยกแถว

พร้อมกับตั้งซื้อยัน รับที่ราคานั้นทันที

ครั้งละหลายแสนหุ้น


ถามว่าเขาตั้งซื้อ ครั้งละหลายแสนหุ้น

เขากลัวไหม ว่าจะมีคน หรือนักลงทุน

สถาบันขายสวนลงมา คำตอบคือ กลัว

แต่เขา ก็ต้อง วัดใจ ดูเหมือนกัน

หากมีการขายสวน ก็ต้องใช้วิธีเคาะซื้อ

แต่ไม่ใช้วิธีตั้งซื้อ


นักลงทุนรายย่อย เมื่อสังเกตว่า

มีการไล่ซื้อ จะเข้ามาซื้อตาม

นักลงทุนรายใหญ่ ซึ่งคอยนับหุ้นอยู่

พอเห็นมีเหยื่อมาติด จะเคาะนำ

ที่ราคาใหม่ที่สูงขึ้นอีก

แต่เพื่อให้ ไม่ต้องซื้อหุ้นเข้ามาเพิ่ม

เขาจะเคาะซื้อไม้หนักๆ ก็ต่อเมื่อหุ้น

ที่ตั้งขายอยู่เป็นหุ้นในกลุ่มของตนเอง

สมมติตนเองตั้งขายไว้500,000 หุ้น

เมื่อได้รับการยืนยันจากเทรดเดอร์ว่า

เริ่มมีการเคาะซื้อ จากนักลงทุนอื่น

ถึงคิวหุ้นของตนแล้ว เช่นอาจมีคนเคาะ

ซื้อเข้ามา 10,000 หุ้น เขาจะทำที

เคาะซื้อเองตามอีก 200,000 หุ้น

เพื่อให้รายย่อยฮึกเหิม เมื่อซื้อแล้ว

เขาก็จะเอาหุ้น 200,000 หุ้นนี้

มาตั้งขายใหม่ ยอมเสียค่านายหน้า

ซื้อมาขายไปเพียง 0.5% แต่ถ้าสำเร็จ

จะได้กำไรตั้ง 50-100%

เพราะฉะนั้น การไล่ซื้อช่วงนี้

จึงเป็นการซื้อหนัก ก็ต่อเมื่อ ซื้อหุ้นตนเอง

ตบตา รายย่อยขณะที่ค่อยๆเติมหุ้น

ขายไปทีละแสนสองแสนหุ้น


ส่วนการตั้งซื้อ ( BID ) ที่ตบตารายย่อย

ว่าแรงซื้อแน่นนั้น หากสังเกตดีๆจะพบว่า

เมื่อตั้งซื้อเข้ามาสองแสนหุ้น สามแสนหุ้น

สักพัก จะมีการถอนคำสั่งซื้อออก

แล้วเติมเข้ามาใหม่ เพื่อให้การซื้อนั้น

ไปเข้าคิวใหม่อยู่คิวสุดท้าย

และจะทำอย่างนี้หลายๆ ครั้ง

นักลงทุนรายย่อยที่ตั้งซื้อเข้ามา

จะถูกดันไปอยู่คิวแรกๆ หมด

และถ้าเขาเห็นว่านักลงทุนอื่น

มีการตั้งซื้อเข้ามามากพอสมควรแล้ว

นักลงทุนรายใหญ่ก็จะมีการเทขาย

สลับเป็นบางครั้ง เรียกได้ว่ามีทั้งการตั้งขาย

และเคาะขายพร้อนกันเลยทีเดียว


หากจะสรุปวิธีการ ที่ใช้ในช่วงปล่อยหุ้นนี้

สามารถแบ่งออกได้ 4 วิธีการย่อย

มีการตั้งขายหุ้น ( OFFER ) ไว้ล่วงหน้า

หลายแสนหุ้นในแต่ละขั้นเวลา

เริ่มเคาะซื้อนำครั้งละ 100หุ้น 2-3 ครั้ง

และจะเคาะซื้อหนักๆ ก็ต่อเมื่อ

หุ้นที่ตั้งขาย ( OFFER ) เป็นหุ้น

ในกลุ่มของตน เมื่อซื้อได้จะรีบนำ

มาตั้งขายต่อ และจะมีการเติมขายหุ้น

ตลอดเวลา เมื่อหุ้นที่เสนอขาย ( OFFER )

ใกล้หมด จะเคาะซื้อยกแถว

แล้วตั้งเสนอซื้อ ( BID )เข้ามายัน

หลายแสนหุ้น แต่จะทยอยถอนออก

แล้วเติมเข้าตลอดเวลา


เมื่อหุ้นของคนอื่นที่ตั้งซื้อ ( BID )

มีจำนวนมากพอ จะมีการเทขาย

สวนลงมาเป็นจังหวะๆ เขาจะทำอย่างนี้

ไปเรื่อยๆ หุ้นในพอร์ตของตนเอง

จะค่อยๆ ถูกระบายออกไป

และในสุดท้าย เมื่อข่าวดีได้รับ

การตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ในวันรุ่งขึ้น

เขาจะทำทีเคาะไล่ซื้อหุ้นตนเอง

อย่างหนักแต่จะไม่ตั้งซื้อแล้ว

เพราะกลัวถูกขาย ดังนั้นจึงเป็นภาพ

เหมือนมีคนมาไล่ซื้ออย่างรุนแรง

แล้วอยู่ๆก็หยุดไปเฉยๆ

ถามว่าแล้วเขาปล่อยหุ้นไปตอนไหน

คำตอบคือเขาทยอยตั้งขายไป

ในระหว่างที่เขาทำทีซื้อนั่นเอง

ผู้เคราะห์ร้าย คือ รายย่อยที่ไป

เคาะซื้อตาม แต่รีรอที่จะขาย

เพราะเห็นว่ายังมีแรงซื้อแน่นอยู่

สุดท้ายต้องติดหุ้นในที่สุด

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘