10หนังสือการลงทุนสุดคลาสสิก(ตอนจบ)

สัปดาห์ที่แล้วได้แนะนำ 10 หนังสือการลงทุน

สุดคลาสสิกไปแล้ว 5 เล่ม สัปดาห์นี้มาต่อกัน

อีก 5 เล่ม ซึ่งแต่ละเล่มบอกได้เลยว่า

ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนหรือไม่ก็ตาม

หากได้อ่านหนังสือเหล่านี้แล้ว เชื่อขนมกิน

ได้เลยว่าการออมเงิน การลงทุนทำได้ ทุกคน

เพียงแต่จะเริ่มต้นเมื่อไรเท่านั้น


Stocks For The Long Run (1994) โดย Jeremy Siegel

หนังสือเล่มนี้ มีสถิติ เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น

อย่างน่าสนใจ และสามารถ พิสูจน์ให้เห็นว่า

ถ้าหากต้องการผลตอบแทนอย่างน่าประทับใจในตลาดหุ้น

ต้องลงทุนในระยะยาว ไม่ใช่ซื้อเช้า ขายบ่าย

และผู้เขียน เปิดเผยเคล็ดลับทั้งเครื่องมือ เทคนิค

กลยุทธ์ทุกอย่างกับการเอาชนะตลาดหุ้น



“The Essays Of Warren Buffett: Lessons For Corporate America”

(2001) โดย Warren Buffett และ Lawrence Cunningham

เป็นหนังสือ ที่รวบเอาจดหมายที่ Warren Buffett

เขียนถึงผู้ถือหุ้นเป็นประจำ ซึ่งมีใจความ ทั้งปรัชญา

และแนวคิด ด้านการทำธุรกิจของเขา มาเรียบเรียง

แล้วตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มนี้ โดยพูดถึงหลักธรรมาภิบาล

ของการทำธุรกิจ ซึ่ง Warren Buffett มองว่า

ผู้บริหาร คือ ผู้พิทักษ์เงินทุนของผู้ถือหุ้น

และผู้บริหารที่ดีที่สุด ต้องทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของบริษัท

ไม่ว่าจะตัดสินใจทำอะไร ที่สำคัญเขาเลี่ยงการคาดการณ์อนาคต

เพราะเชื่อว่ามักนำไปสู่การตกแต่งตัวเลข

นอกจากนี้ยังพูดถึงการเงิน และการลงทุนของบริษัทอีกด้วย

รับรองใครได้อ่านจะเข้าใจได้ทันทีเลย ว่าควรจะซื้อหุ้นบริษัท แบบไหน


“How To Make Money In Stocks” (2003) โดย William J. O'Neil

หากอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว ใครที่เป็นนักลงทุนอยู่แล้ว

คงจะทำการสำรวจ สไตล์การลงทุนของตัวเองดู

ว่ามีความผิดพลาดอะไร และควรจะแก้ไขอย่างไร

เพื่อให้เงินลงทุนไม่สูญสิ้นออกไป ส่วนใครที่กำลัง

เริ่มต้นเข้าสู่โลกของการลงทุน ข้อปฏิบัติในหนังสือเล่มนี้

จะเป็นเกราะป้องกันได้เป็น อย่างดี เพราะผู้เขียนกำลัง

จะบอกถึงความผิดพลาด) เป็นโหลๆ ที่นักลงทุนส่วนมากกระทำ

และเมื่อรู้แล้วว่าไม่ดีก็ไม่ควรทำ อีกต่อไป


“Rich Dad Poor Dad” (1997) โดย Robert T. Kiyosaki

คงไม่มีใครปฏิเสธว่า หนังสือเล่มนี้สุดยอดขนาดไหน

บอกได้ คำเดียวว่าเด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี

เพราะให้ความสำคัญ กับการวางแผนทางการเงิน

โดยผู้เขียน ได้ออกแบบโปรแกรมการวางแผนทางการเงิน

เป็นขั้นเป็นตอน สำหรับคุณพ่อคุณแม่ ในการให้ คำอธิบาย

กับลูกๆ เกี่ยวกับพื้นฐานมาตรการบริหารเงิน ในฐานะการเป็นลูกจ้าง

เจ้าของกิจการ นายทุน และนักลงทุน ภายใต้การมองเห็นปัญหา

และความสามารถในการแก้ไขของเด็กๆ จากความช่วยเหลือของผู้ใหญ่

ที่จะส่งผลตามมาด้วยความสามารถในการทำกำไรในอนาคต


“Irrational Exuberance” (2000) โดย Robert J. Shiller

เมื่อหนังสือเล่มนี้ออกวางตลาด ผู้เขียนได้รับการยอมรับ

ว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เขาเชื่อว่าเศรษฐศาสตร์

มิใช่เรื่องของข้อมูลและตัวเลขเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของจิตวิทยา

และอารมณ์ความรู้สึกด้วย ฉันใด ฉันนั้น ดัชนีของตลาดหุ้น

ไม่ใช่ผลพวงของข้อมูลและตัวเลข แต่เป็นผลพวงของ

อารมณ์ความรู้สึกของนักลงทุน ซึ่งผูกพันอยู่กับการเก็งกำไร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีของการพุ่งสูงขึ้นของดัชนี

ของตลาดหุ้นนิวยอร์ก ผู้เขียนไม่เชื่อทฤษฎีประสิทธิภาพของตลาด

ทฤษฎีนี้บอกว่า ราคาของหลักทรัพย์ทั้งหมด จะสะท้อนซึ่งข้อมูล

ทั้งหมดที่เปิดเผย เป็นสาธารณะอย่างแม่นยำเสมอ

นั่นคือ หากเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นสาธารณะอย่างเสรีแล้ว

ราคาหลักทรัพย์นี้ จะสะท้อนความจริงออกมาเสมอ

ราคาหลักทรัพย์ จะมีราคาที่เป็นไปตามความเป็นจริง

ของข้อมูลในเรื่องผลตอบแทน ศักยภาพ และความมั่นคง

เขาบอกว่าทฤษฎีนี้ เป็นเรื่องไร้สาระ โดยเขาพิสูจน์ในเชิงสถิติ

ว่าความผันผวนของราคาหุ้นนั้น สูงกว่าความผันผวน

ของเงินปันผลเป็นอย่างมาก แสดงว่าราคาหุ้นไม่ได้เคลื่อนไหว

ตามที่ทฤษฎีระบุ เขาเห็นว่าราคาหุ้นผันผวนไปตามจิตวิทยา

ความรู้สึก และอารมณ์ของนักลงทุนมากกว่า

โดยเป็นอารมณ์ร่วมกันของคนหมู่ใหญ่ ซึ่งเชื่อว่าอะไรก็เป็นได้ทั้งนั้น

โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับเงินปันผลแต่อย่างใด

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘