10หนังสือการลงทุนคลาสสิก (ตอนที่1)

ทุกวันนี้ หากจะศึกษาหาความรู้ ด้านการลงทุน

แทบไม่ต้องใช้เวลานานนัก แค่เปิดอินเทอร์เน็ต

แล้วจัดการ ดึงข้อมูลที่ต้องการได้เลย

ตรงกันข้าม ถ้าต้องการข้อมูลเชิงลึก

และมีรายละเอียดต้องค้นคว้าในหนังสือ

ที่บรรดากูรูด้านการลงทุน

และสัปดาห์นี้ ขอแนะนำหนังสือด้านการลงทุน

นักลงทุนรุ่นใหม่ รุ่นเก่า รวมถึงนักศึกษา

คนทั่วไปที่ต้องหยิบขึ้นมาอ่าน ซึ่งว่ากันว่า

ถ้ายังไม่ได้อ่านหนังสือเหล่านี้

อย่าเพิ่งกระโดดเข้าสู่โลกการลงทุน


The Intelligent Investor” (1949)

โดย Benjamin Graham

หนังสือเล่มนี้ถึงแม้จะรับใช้นักลงทุนมาแล้ว

ราวๆ 60 ปี แต่เนื้อหายังคงใช้ได้กับตลาด

ทุกสภาวะ โดยโครงสร้างของหนังสือ

ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากต้นฉบับเลย

เพราะแก่นของการลงทุนอยู่ที่การวิเคราะห์

กระบวนการลงทุนเก็งกำไร การรับมือกับความผันผวน

การบริหารพอร์ตลงทุน วิเคราะห์หุ้น การลงทุนใน

กองทุนรวม และการป้องกันความเสี่ยง

หลักการลงทุนของ Benjamin Graham

จะเน้นถึงการลงทุน ในระยะยาวและหลีกเลี่ยง

การเก็งกำไรบ้าคลั่ง เขาให้ความสำคัญ

กับระเบียบวินัย ในการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

รู้จัก “นายตลาด” และสร้างประโยชน์

จากพฤติกรรมของ “นายตลาด”

พิจารณาอย่างรอบคอบในการลงทุน

ความคาดหวังที่นักลงทุนควรมีต่อการลงทุน

มีคนบอกเอาไว้ว่า หลักการลงทุนของเขานั้น

ทำได้ไม่ยากเย็น แต่ใครที่คิดจะทำตามนั้น

ช่างยากเย็นนัก โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นของการลงทุน

เพราะต้องเอาชนะใจตัวเอง แต่ที่เห็นๆ กันทั่วตลาด

ล้วนแต่มีความ “โลภ” กันทั้งนั้น



Common Stocks and Uncommon Profits

(1958) โดย Philip Fisher เขาเคยบอกว่าในการศึกษา

สถิติการลงทุนทั้งหมด ทั้งของตัวเองและคนอื่น

มี 2 สิ่ง ที่มีอิทธิพลสำคัญ ในการที่ทำให้เขาเขียนหนังสือ

เล่มนี้ขึ้นมา อันแรกคือ ความจำเป็นที่จะต้องอดทน

ถ้าจะทำกำไร ให้ได้มากจากการลงทุน พูดง่ายๆ คือ

เป็นเรื่องง่ายกว่า ที่จะบอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับราคาหุ้น

มากกว่าว่า จะใช้เวลาเท่าไรมันถึงจะเกิด

และลักษณะประจำตัว ที่มักจะทำให้เราหลงผิด

ของตลาดหุ้น นั่นก็คือ การทำในสิ่งที่คนอื่นกำลังทำ

ในขณะนั้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณมีความรู้สึก

อยากจะทำอย่างทนไม่ไหว จึงมักเป็นสิ่งที่ผิด

หนังสือนี้จะสอนให้ นักลงทุนพิจารณาปัจจัย

ทางคุณภาพ มากกว่าปัจจัยทางปริมาณ

ซึ่งหลักการนี้ ต่างจากหลักการของเกรแฮม

ที่สอนให้นักลงทุนศึกษาปัจจัยทางปริมาณ

ปัจจุบันมีแนวคิด และหลักการต่างๆ ประยุกต์

และแตกแขนงออกไป จากหลักการพื้นฐาน

แต่ทุกแนวคิด ก็ยังต้องอิงกับปัจจัยทางปริมาณ

และปัจจัยทางคุณภาพ ร่วมกันเพื่อประเมิน

มูลค่าหุ้นที่เหมาะสม


Learn To Earn” (1995) โดย Peter Lynch

แม้ว่า Peter Lynch จะเขียนให้เด็กวัยรุ่นอเมริกันอ่าน

แต่จริงๆ แล้วใช้ได้กับเด็กทั่วโลก เพราะเนื้อหา

ไม่ได้เน้น แค่เรื่องตลาดหุ้นอย่างเดียว แต่จะเน้น

พื้นฐานของความมั่งคั่ง ว่าต้องเริ่มจากการเก็บออม

ไม่ฟุ่มเฟือย แต่เมื่อมีเงิน ควรจะนำไปเก็บออมอย่างไร

ถึงจะออกดอก ออกผล รวมถึงมีเนื้อหากับการอ่าน

งบการเงินเบื้องต้นด้วย ซึ่งสามารถกระตุ้น

ต่อมสำนึกด้านการออมของเด็กๆ ด้วย

อย่างเช่น เมื่อถึงวันเกิดแทนที่จะขอเงินคุณพ่อ

คุณแม่ไปซื้อรองเท้าไนกี้ ลองเปลี่ยนความคิด

ด้วยการขอเงินไปซื้อหุ้นไนกี้แทน

ผู้เขียนพยายามสอน ให้เด็กๆ มีความสนใจ

ที่จะลงทุนตั้งแต่ อายุยังน้อย เริ่มตั้งแต่เล่าถึง

ประวัติศาสตร์ด้านตลาดเงินตลาดทุน

สไตล์สนุกสนาน ที่ไม่ค่อยจะมีใครสอน

ตลอดจนพัฒนาการต่างๆ กว่าจะมาเป็นตลาดหุ้น

ที่เห็นกันทุกวันนี้ จากนั้นก็เล่าถึงหัวใจสำคัญ

ของการลงทุน ซึ่งก็คือเรื่องของเวลา

ที่เขาแนะนำให้ทุกคนเริ่ม ลงทุนทันทีที่มีโอกาส

และยังย้ำด้วยว่า ถ้าใครมีเวลาในการลงทุนมากๆ

สามารถลงทุนในหุ้นได้เลย ไม่ต้องซื้อตราสารหนี้

ให้เสียโอกาส แถมยังบอกด้วย ว่ากองทุนที่ลงทุน

ในหุ้นจะเป็นเครื่องมือที่ดี จากนั้นก็บอกวิธีเ

ลือกหุ้น 5 วิธีตั้งแต่วิธีที่แย่ที่สุด ไปจนถึงวิธี ที่ดีที่สุด


A Random Walk Down Wall Street” (1973)

โดย Burton G. Malkiel

หนังสือที่ให้แนวคิด ด้านการลงทุน

ที่ไม่ได้เขียนโดยนักขาย หรือ Salesman

แต่เขียนโดยนักเศรษฐศาสตร์การเงิน (Financial Economist)

ว่ากันว่า เป็นหนังสือที่สอนด้านการลงทุน ที่ดีที่สุด

ตั้งแต่ยุคบุกเบิก ของคอมพิวเตอร์จนถึงการล่มสลาย

ของ ธุรกิจดอตคอม

คำว่า “Random Walk” หมายความว่า

ราคาของหุ้น ในระยะสั้นไม่สามารถทำนายได้

หรือการเคลื่อนไหว ของราคาในระยะสั้น

เอาแน่เอานอนไม่ได้ พูดง่ายๆ ใครที่คิดจะทำกำไร

ด้วยการเก็งกำไรไปวันๆ ในระยะยาวแล้ว

อาจจะขาดทุนมากกว่ากำไร

หนังสือเล่มนี้สอนให้เป็นนักลงทุนที่แท้จริง


Common Sense on Mutual Funds” (1999)

โดย John Bogle ใครที่กำลังให้เงินทำงาน

ผ่านกองทุนรวม ควรอ่านหนังสือเล่มนี้ก่อน

เพราะจะทำให้รู้ ถึงการทำธุรกิจกองทุนรวม

ตั้งแต่ต้นจนจบ ว่าพวกเขาทำกันอย่างไร

แล้วเราในฐานะลูกค้า (เจ้าของเงิน)

มีเกราะป้องกันตัวเอง อย่างไร เพื่อไม่ให้

ถูกเอารัดเอาเปรียบ

พฤติกรรม ของกองทุนรวมที่เป็นอยู่ในตลาด

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าธรรมเนียมที่สูง

ค่าใช้จ่ายเกินจริง การเปลี่ยนผู้จัดการบ่อย

เพื่อแย่งตัวกัน และกองทุนที่ออกมา

ตามใจตลาดเกินจำเป็น แล้วพูดถึงผลตอบแทน

และความเสี่ยง ที่ระบุในหนังสือนี้

เป็นสิ่งที่สามารถ พบเห็นได้ทั่วไป

ในธุรกิจกองทุนรวม บอกได้เลยว่าผู้เขียน

บอกเล่าถึงกองทุนรวมได้อย่างถึงพริกถึงขิง

และไม่ได้มองแค่ด้านดีเท่านั้น แต่ยังบอก

เอาไว้ว่า ไม่ว่าธุรกิจไหนก็ตาม คำว่า “กำไรสูงสุด”

คือสิ่งที่ปรารถนา ส่วนลูกค้า (ผู้บริโภค)

มักจะมาตามหลังตลอดเวลา

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘