เซียนหุ้น J.L.

เซียนหุ้นระดับโลก ชื่อ J.L.  กลยุทธ์การเก็งกำไรของเค้าสรุปดังนี้ (เสียชีวิตไปแล้ว )

กฎข้อ 1 อย่าขาดทุน
นักเก็งกำไรที่ไม่มีเงินก็เหมือนกับเจ้าของร้านที่ไม่มีสินค้าอยู่ในสต็อก ดังนั้นถ้าคุณไม่มีเงิน คุณก็จะไม่มีธุรกิจ เก็งกำไรไม่ได้
JL บอกว่า การซื้อหุ้นเต็มจำนวนในคราวเดียวที่ราคาเดียวนั้นอันตราย คุณควรทยอยซื้อเมื่อแน่ใจว่าสิ่งที่คิดไว้ถูกต้อง  ตัวอย่างเช่น  ถ้าคุณต้องการซื้อหุ้น 1,000 หุ้น คุณควรจะเริ่มที่ 200 หุ้น ซื้อแล้วดูว่าราคาขึ้นหรือไม่  ถ้าใช่ ทยอยซื้อเพิ่มอีก 200 หุ้น  แล้วก็รอดูว่าขึ้นไหม  ถ้าใช่ก็ซื้ออีก 200 หุ้น และถ้าขึ้นอีก คราวนี้ให้ซื้อไปอีก 400 หุ้น จนเต็ม 1,000 หุ้น สรุปก็คือ  ทยอยซื้อเมื่อราคาขึ้น  ห้ามซื้อเฉลี่ยเมื่อหุ้นลง

กฎข้อ 2  กำหนดจุดตัดขาดทุน
ถ้าซื้อหุ้นแล้วขาดทุน  ต้องกำหนดว่า จะยอมขาดทุนได้ไม่เกินกี่เปอร์เซ็น  สำหรับ JL จะไม่ยอมให้ขาดทุนเกิน 10% เพราะ JL คิดว่าเวลาขาดทุนนั้น  การจะเอาทุนคืนได้ จะต้องกำไรมากกว่าเปอร์เซ็นที่ขาดทุน จึงจะเสมอตัว เช่น ถ้าขาดทุน 50%  กว่าจะคืนทุน ก็ต้องกำไร 100%  อีกอย่างก็คือ ถ้าซื้อแล้วหุ้นลง  แสดงว่า สิ่งที่คุณคิดไว้คงผิดอย่าไปฝืนกระแส  ตัดขาดทุนเสียแล้วไปเล่นตัวใหม่เมื่อเห็นโอกาส

กฎข้อ 3 จะต้องมีเงินสดสำรองเสมอ
เงินสดนี้ จะมีความสำคัญมาก เมื่อถึงจุดที่โอกาสในการเก็งกำไรเปิด และเมื่อมีโอกาสดี  เราก็จะต้อง อัด  หรือลงเงินให้เต็มที่  JL เชื่อว่า คุณไม่จำเป็นต้องลงทุนตลอดเวลา  และไม่ควรลงตลอดเวลา จะเล่นต่อเมื่อมีโอกาสเท่านั้น

กฎข้อ 4  อย่ารีบทำกำไร
คือ ต้องให้ let profit run  นั่นคือ  ถ้าหุ้นยิ่งวิ่งไปเรื่อย ๆ   อย่ารีบขายเสียก่อน  ตรงกันข้าม ถ้าซื้อหุ้นแล้วขาดทุน หุ้นตกลงไปเร็ว
อย่ารอ หรือพยายามหาเหตุผลที่มันตก  ต้องรีบขายทันที  JL บอกว่า กำไรดูแลตัวมันเองได้  แต่ขาดทุนไม่เคย อย่างไรก็ตาม  การ let profit run  ไม่ได้แปลว่า ซื้อแล้วถือแบบนักลงทุน  เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องขาย

กฎข้อ 5  เมื่อได้กำไรต้องเก็บเป็นเงินสด
ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าได้กำไรมาร้อยดอลล่าร์  ก็ต้องเก็บเป็นเงินสดไว้ในแบงก์  50 ดอลล่าร์  อย่าจมอยู่ในหุ้นหรือไปเล่นต่อทั้งหมด
นี่ก็เหมือนกับเวลาเล่นไพ่  ถ้าได้กำไรก็เก็บเงินเข้ากระเป๋าเอาทุนคืนมาก่อน   และนี่ก็เป็นกฎที่ JL  บอกว่า ตนเองผิดพลาดที่ไม่ได้ทำเท่าที่ควร  ทำให้เงินที่ได้มามาก ๆ  ในที่สุด ก็เสียคืนกลับไปหมด

และทั้งหมดนั้นก็คือ ชีวิตและหลักการเก็งกำไรของ  ลิเวอร์มอร์  ในช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่นั้น  ชื่อของเขาดูเหมือนจะร้อนแรงและเป็นที่กล่าวขวัญถึงเสมอ  แม้ว่าโดยธรรมชาติของเขาแล้ว  เขาเป็นคนที่เก็บตัวและทำตัวลึกลับ  การใช้ชีวิตและแนวความคิดในการลงทุนของ JL นั้น   value investor หลายคนอาจไม่เห็นด้วย และไม่เชื่อว่ามันเป็นหลักการที่ถูกต้อง  อย่างไรก็ตาม การศึกษาทำความเข้าใจนั้น  น่าจะมีประโยชน์ไม่น้อย เหนือสิ่งอื่นใด  นักลงทุน กับ นักเก็งกำไร ต่างก็เล่นอยู่ในตลาดเดียวกัน  บางครั้ง ก็เล่นหุ้นตัวเดียวกัน เส้นแบ่งระหว่าง นักเก็งกำไร กับ นักลงทุน บางครั้งก็ไม่อาจรู้ได้ว่า สิ่งที่เราทำนั้น เก็งกำไรหรือลงทุนกันแน่ ???

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘