HACK#8 การใช้ ซินแท็กซ์ร่วมกันหลายตัว (Mixing )

การใช้งานซินแท็กซ์ร่วมกันใน Google จะช่วยให้ได้ผลการสืบค้นดีขึ้นจริงหรือไม่ คำตอบนั้นรอคุณอยู่
ในบางครั้งคุณก็ไม่สามารถที่จะนำเอาซินแท็กซ์ของ Google มาใช้ร่วมกันได้ (ดูหัวข้อ “ซินแท็กซ์” เพิ่มเติม) เพาะคุณ อาจจะสามารถใช้ซินแท็กซ์นั้นๆได้เพียงตัวเดียวในการสืบค้นแต่ละครั้งเท่า นั้น และแม้ว่า Google จะสร้างซินแท็กซ์ใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการค้นหาออกมาเรื่อยๆก็ตาม แต่หากเราไม่สามารถที่จะใช้งานซินแท็กซ์เหล่านั้นร่วมกันได้ ก็อาจจะทำให้ศักยภาพเหล่านั้นไม่บังเกิดผล
ซินแท็กซ์ที่ไม่สามารถใช้ร่วมกับตัวอื่นๆได้
ซิ นแท็กซ์ประเภทนี้ไม่สามารถใช้ร่วมกับซินแท็กซ์อื่นๆได้ และจะต้องใช้โดยตัวมันเองเท่านั้นจึงจะให้ผลดีที่สุด หากคุณพยายามที่จะใช้มันร่วมกับซินแท็กซ์ตัวอื่น คุณอาจจะไม่ได้ผลลัพธ์อะไรออกมาเลยก็เป็นได้
ซินแท็กซ์ประเภทนี้ได้แก่ตัวที่ต้องการข้อมูลเฉพาะด้านจริงๆ เช่น Stock: (Hack #18), Iphonebook:, bphonebook: และ phonebook: (Hack #17) ทั้งหมดนี้คือซินแท็กซ์ที่ไม่สามารถใช้ร่วมกับตัวอื่นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการได้
อีก ตัวหนึ่งที่ไม่สามารถใช้ร่วมกับใครได้เลยได้แก่ link: ซึ่งเป็นซินแท็กซ์ที่จะบ่งบอกให้คุณทราบว่า Web Page หน้าไหนที่มีการลิงก์ไปที่ URL ที่กำหนดบ้าง จะดีสักเพียงไหน หากคุณจะสามารถกำหนดได้ว่าคุณต้องการผลลัพธ์เป็น Web Page จาก Domain ประเภทไหนบ้าง แต่น่าเสียดายที่คุณไม่สามารถที่ทำเช่นนั้นได้ เพราะซินแท็กซ์กำหนด Domain ดังกล่าวก็ไม่สามารถใช้ร่วมกันกับ link:ได้นั่นเอง
ถ้า หากคุณต้องการหา Web Page ต่างๆที่ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของ O’Reilly & Associates แต่คุณไม่ต้องการ Web Page ที่มาจาก Domain ประเภทสถาบันการศึกษา (.edu) มันจะปัญหาที่ไม่สามารถหาทางออกได้เลย เหตุเพราะว่าซินแท็กซ์ link: นั้นจะไม่สามารถใช้ร่วมกับซินแท็กซ์ตัวใดได้อีก ซึ่งอันที่จริงการพูดเช่นนี้ก็ไม่ถูกต้องทีเดียวนัก เพราะคุณจะได้ผลลัพธ์จากการค้นหาเหมือนกัน แต่จะเป็นวลีที่ว่า “link www.oreilly.com” จาก Domain ที่ไม่ใช่ .edu กลับมาด้วย
หากคุณต้องการสืบค้น Web Link ต่างๆโดยที่ไม่รวมเอา Domain .edu เข้ามาด้วยจริงๆแล้วละก็ พอจะมีทางออกอยู่บ้างเหมือนกัน วิธีแรกก็คือคุณสามารถเลือกหาเอาจากรายการผลลัพธ์ที่ได้กลับคืนมา (Hack #44) และจากนั้นนำไปเรียงลำดับด้วยสเปรดชีทเพื่อเลือกเอา Domain ที่เป็น .edu ออกไป แต่หากคุณอยากจะลองด้วย Google แม้จะไม่มีซินแท็กซ์ที่จะให้ผลลัพธ์เช่นนี้โดยตรง คุณก็อาจจะลองใช้คำสั่งนี้ดูก็ได้
inanchor : oreilly –inurl: oreilly – site:edu
คำ สั่งนี้จะมองหาคำหลักซึ่งคือคำว่า oreilly เป็นคำที่ใช้หา Web Link ซึ่งจะรวบรวมเอา Web Page หน้าที่มีคำว่า oreilly อยู่ด้วยเข้ามาก่อน (ยกตัวอย่างเช่น oreilly.com) และสุดท้ายจะคัดเอา Web Page หน้าที่มี Domain เป็น .edu ออกไป ทว่าการค้นหาแบบนี้มักจะให้ ผลที่ไม่สมบูรณ์นัก เพราะมันเพียงแต่จะหาลำดับที่ไปยังเว็บไซต์ของ O’Reilly ที่มีคำว่า oreilly อยู่ด้วยเท่านั้น และหากใครสร้าง Web Link ที่มีชื่อ ดังเช่น
ก็จะไม่ถูกสืบค้นโดยคำสั่งข้างต้นด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังให้ผลลัพธ์ที่มี Domain อื่นๆ ที่มีคำว่า oreilly อยู่ด้วย และยังมี Domain ที่ลิงก์ไปที่เว็บไซต์ของ oreilly และมีคำว่า oreilly อยู่ด้วย แต่ไม่ใช่ oreilly.com คุณอาจจะเปลี่ยนคำสั่งบ้างเล็กน้อย เพื่อที่จะคัดเอา Web Link ที่ linkไปที่ oreilly.com ซึ่งเป็นตัวมันเองออกไป แต่ยังคงเว็บไซต์อื่นๆ ที่มีคำว่า oreilly เอาไว้ดังนี้
inanchor:oreilly –site:oreilly.com – site:edu
ด้วย คำสั่งนี้คุณก็ยังจะได้ผลลัพธ์ที่รวมเอาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ Oreilly เอาไว้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ไม่ใช่ Oreilly.com เองเท่านั้น สิ่งที่น่าสนใจก็คือ แล้วซินแท็กซ์ใดบ้างที่ใช้ร่วมกันได้ ซึ่งจริงๆแล้วก็คือส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกันได้ทั้งนั้น แต่คุณต้องใช้ให้ถูกวิธีด้วยเท่านั้นเอง
คุณไม่สามารถใช้ ซินแท็กซ์ร่วมกันในกรณีใดบ้าง
  • ห้ามใช้ ซินแท็กซ์ที่ขัดแย้งกันเองในตัว เช่น
site:ucla.edu –inurl:ucla
เพราะ จากคำสั่งนี้ คุณระบุว่าคุณต้องการผลลัพธ์ที่มาจากเว็บไซต์ ucla.edu แต่ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องไม่มีคำว่า ucla อยู่ด้วย จะเห็นว่ามันขัดแย้งกันเองอย่างชัดแจ้ง และแน่นอน คุณคงได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องนัก
  • อย่าใช้ซินแท็กซ์เดิมซ้ำๆกัน เช่น
site:com site:edu
คุณ อาจจะคิดว่า คุณต้องการที่จะหมายถึง เว็บไซต์ที่มี Domain เป็น.com หรือ .edu อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่การใช้คำสั่งเช่นนี้จะหมายความว่าคุณจะได้ผลลัพธ์จากทั้งสอง Domain พร้อมๆ กัน จะเห็นได้ว่าแต่ละผลลัพธ์จะมาจากหนึ่ง Domain เท่านั้น ลองพิมพ์คำว่า perl site:edu site:com คำสั่งนี้จะไม่ให้ผลลัพธ์อะไรแก่คุณเลย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ Web Page ที่ได้ไม่สามารถที่จะมาจาก Domain ทั้งสองประเภทในเวลาเดียวกันได้ หากคุณต้องการผลลัพธ์จาก Domain ประเภทใดประเภทหนึ่ง คุณจะต้องเปลี่ยนรูปแบบคำสั่งเป็นดังนี้
perl (site:edu | site:com)
ด้วยเครื่องหมาย | (pipe) จะช่วยให้คุณระบุได้ว่าคุณต้องการผลลัพธ์ที่มาจาก Domain .edu หรือ .com อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
  • อย่า ใช้ allinurl: หรือ allintitle ร่วมกับ ซินแท็กซ์อื่นๆ เพราะคุณอาจใช้มันแบบผิดๆได้ คุณควรใช้ inurl: หรือ intitle: แทนจะดีกว่า เพราะหากคุณใช้ allinurl: อย่างไม่ถูกต้อง คุณจะได้ผลลัพธ์ที่ไม่เข้าท่านัก ลองดูที่ตัวอย่างคำสั่งนี้
allinurl:perl intitle:programming
เมื่อมองในครั้งแรก มันดูคล้ายๆ กับว่าคุณจะค้นหาคำว่า “perl” ที่ปรากฏอยู่ใน URL ที่ได้ โดยที่มีคำว่า “Programming” เป็น Title ซึ่งการคิดเช่นนี้ก็ไม่ผิดอะไร เพราะคำสั่งนี้จะทำงานเช่นนั้น แต่หากว่าคุณย้ายคำว่า allinurl ไปอยู่ทางขวามือของคำสั่งเช่น
intile:programming allinurl:perl
คำสั่งนี้จะไม่ให้ผลลัพธ์อะไรออกมาเลย ดังนั้นจงใช้แต่ inurl: และ intitle: ซึ่งไม่ค่อยจะมีปัญหาว่าคุณจะสลับที่กันอย่างไรจะดีกว่า
  • อย่าใช้ซินแท็กซ์ร่วมกันมากเกินไปกระทั่งคำค้นหาของคุณจำกัดจนเกินไปเช่น
intitle:agriculture site:ucla.edu inurl:search
คำ สั่งนี้อาจให้ผลลัพธ์ที่เจาะจงมากเกินไป กระทั่งคุณไม่ได้ผลลัพธ์อะไรกลับมาเลย หากคุณกำลังต้องการสืบค้นคำที่เฉพาะเจาะจงมากๆ ซึ่งคุณคิดว่าคุณจะต้องระบุคำสั่งให้ละเอียดที่สุดแล้วละก็ คุณอาจเริ่มจากการค่อยๆ ระบุคำสั่งไปทีละขั้นๆดูก่อน เช่นถ้าคุณต้องการค้นหาฐานข้อมูลของพืชจากมหาวิทยาลัย UCLA แทนที่คุณจะระบุคำสั่งว่า
title:plants site:ucla.edu inurl:database
คุณอาจจะลองใช้คำสั่งนี้แทน
databases plants site : ucla.edu
จากนั้นจึงค่อยๆเพิ่มซินแท็กซ์สำหรับ keyword ที่คุณได้ตั้งขึ้นจากผลลัพธ์ที่ได้จากคำสั่งแรก เช่น
intitle:plants databases site:ucla.edu
หรือใช้คำสั่งว่า
intitle:database plants site:ucla.edu
การใช้ ซินแท็กซ์ร่วมกัน
หากคุณพยายามที่จะระบุคำสั่งเพื่อให้ได้คำตอบที่ใกล้เคียงมากที่สุดทั้ง intitle: และ site: นั้นเป็นซินแท็กซ์ที่ดีที่สุดแล้ว
Title: และ Site: หากคุณอยากจะรู้ว่าคุณจะได้อะไรจากฐานข้อมูลบ้าง ด้วยการค้นหาคำว่า Texas คุณอาจจะลองใช้คำสั่งดังนี้
intitle:search intitle:records site:tx.us
คุณจะได้รับผลลัพธ์ที่ค่อนข้างใกล้เคียงถึง 32 รายการ นอกจากนี้คุณยังสามารถระบุคำสั่งให้ละเอียดลงไปกว่านี้ได้ เช่น
birth intitle:search intitle:records
site:tx.us
การใส่ซินแท็กซ์ไหนก่อนหลังในคำสั่งก็จะไม่มีผลอะไร แต่ในที่นี้จะเลือกใส่เอาไว้ข้างหน้าเพราะมันจำได้ง่ายกว่า
มีข้อแตกต่างสำหรับซินแท็กซ์อย่าง site: ใน Google ซึ่งจะแตกต่างจาก site: ใน Search Engine อื่นๆ เพราะจะยอมให้คุณระบุ Domain Nameทั่วๆไป (เช่น site:com) หรือระบุ Domain ที่ค่อนข้างเฉพาะ หรือ Subdomain (เช่น site:thomas.loc.gov) ได้ ดังนั้นถ้าคุณอยากจะได้ข้อมูลที่เกี่ยวกับเมือง EI Paso คุณสามารถที่จะระบุคำสั่งได้ดังนี้
intitle:records site:el-paso.tx.us
คำสั่งนี้จะทำให้คุณได้ผลลัพธ์ 7 รายการ
Title: และ URL: ในบางครั้งคุณอาจจะต้องการข้อมูลในรูปแบบเฉพาะ แต่คุณไม่ต้องการที่จะจำกัดลงไปถึงชนิดของข้อมูล หากแต่คุณต้องการที่จะจำกัดที่เรื่องหรือเนื้อหาของข้อมูลมากกว่า เช่นคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับวิธีใช้ Search Engine ในกรณีเช่นนี้ คุณควรค้นหาใน URL จะดีกว่า
inurl: จะค้นหาจากข้อความ (string) ทั้งหมดที่ประกอบกันขึ้นเป็น URL นั้นๆ แต่จะไม่ไปค้นหาใน URL ชั้นที่สูงกว่า ยกตัวอย่างเช่น หากคุณใช้คำสั่งว่า inurl:research กรณีนี้ Google จะไม่ไปค้นหา Web Page ที่อยู่ในเว็บไซต์ researchbuzz.com เลย แต่จะไปค้นหา Web Page ในเว็บไซต์ www.research-councils.ac.uk แทน
หากคุณต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับชีววิทยาโดยเน้นการเรียนรู้ หรือการช่วยเหลือ ลองใช้คำสั่งว่า
intitle:biology inurl:help
คำ สั่งนี้จะทำให้คุณได้ผลลัพธ์ที่พอจะรับมือไหว คือประมาณ 162 รายการ สิ่งที่สำคัญก็คือการได้ผลลัพธ์ที่ทำให้คุณได้คำตอบที่ต้องการ แต่ไม่มากจนเกินไปจนกระทั่งดูกันไม่ไหว หากคุณรู้สึกว่าผลลัพธ์ 162 รายการที่ได้ยังมากเกินไปแล้วละก็ คุณอาจจะเพิ่ม site: ลงไปด้วย ซึ่งจะทำให้คุณสามารถจำกัดการสืบค้นให้แคบลงโดยเน้นไปที่เว็บไซต์ ของมหาวิทยาลัย เช่น
intitle:biology inurl:help site:edu
แต่ขอให้ระวังการใช้ซินแท็กซ์หลายตัวเกินไป เช่นที่ได้เตือนไว้ข้างต้น เพราะคุณอาจจะระบุละเอียดจนกระทั่งคุณไม่ได้ผลลัพธ์อะไรเลย
ความ หลากหลายในการใช้งานที่มากเกินจะกล่าวถึง หากจะให้ระบุความเป็นไปได้ของการใช้ซินแท็กซ์พิเศษต่างๆ ลงในหนังสือเล่มนี้ และอธิบายว่ามันจะใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องสุดวิสัยอะไรนัก แต่หนังสือเล่มนี้จะหนามากจนไม่มีที่พอสำหรับกฎการแฮ็กข้ออื่นๆเลย
ดัง นั้นคุณจึงควรใช้วิธีลองผิดลองถูกด้วยตนเองให้มากๆเข้าไว้ โปรดจำไว้ว่าซินแท็กซ์เหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะสามารถใช้ร่วมกับตัวอื่นได้ และคุณจะหาผลลัพธ์ได้รวดเร็วขึ้น ด้วยการใช้ซินแท็กซ์เหล่านี้ร่วมกันแทนที่จะใช้ตัวเดียวโดดๆ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการที่จะทำการสืบค้นแบบไหนด้วย เมื่อคุณฝึกใช้ไปนานๆเข้า คุณจะค้นพบรูปแบบเอง คุณอาจจะพบว่าการเลือกค้นหาเฉพาะเอกสารที่มีรูปแบบไฟล์ชนิด PDF (filetype:pdf) จะทำให้คุณได้ผลลัพธ์ที่ต้องการหรือคุณอาจจะพบว่าคุณควรจะเน้นไปที่รูปแบบ เฉพาะของไฟล์ใน Domain บางประเภทจะดีกว่า (เช่น filetype:ppt site:tompeters.com) ขอให้เลือกใช้งานซินแท็กซ์ร่วมกันให้มากที่สุดเพื่อจะได้เอื้อกับการค้นหา ของคุณมากที่สุดเสมอ และสังเกตดูว่าคุณจะได้ผลลัพธ์อย่างไรบ้าง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘