Hack#39 Google คิดอะไรอยู่

Google คิดอะไรเกี่ยวกับ คุณ เพื่อนของคุณ คนรอบ ๆ ตัวคุณ หรือแม้แต่หนังเรื่องโปรดของคุณ
คุณ เคยสงสัยบ้างไหมว่าผู้คนนั้นคิดอย่างไรกับเมืองที่คุณอยู่ วงดนตรีที่คุณชอบ อาหารว่างที่คุณโปรดปราน หรือแม้แต่คิดอย่างไรเกี่ยวกับตัวคุณ ที่เว็บไซต์ http://www.googlism.com อาจจะมีคำตอบให้ก็เป็นได้
หน้าตาของเว็บ
หน้า ตาของ googlism.com นั้นแสนจะเรียบง่าย เพียงแต่ใส่คำถามเข้าไป แล้วก็เลือกกดปุ่มเพื่อระบุว่าสิ่งที่กำลังมองหานั้นอยู่ในคำถามประเภท ใคร อะไร ที่ไหน หรือเมื่อไร นอกจากนั้นคุณอาจจะเลือกดูที่แถบว่า คนอื่นๆเขาสืบค้นเรื่องอะไรกันบ้าง หรือไม่ก็หัวข้ออะไรที่เป็นที่นิยมกัน อย่างไรก็ตาม มีคำเตือนอยู่ว่าบางสิ่งบางอย่างใน googlism.com นั้นไม่เหมาะในการเอาไปใช้งานจริงจังนัก
สิ่งที่คุณได้กลับมา
Googlism นั้นก็จะตอบกลับด้วยสิ่งต่างๆที่ Google เชื่อเป็นข้อๆ โดยอิงตามคำถามที่ถามมา ไม่ว่าจะเป็นบุคคล สถานที่ สิ่งของ หรือแม้แต่ช่วงหนึ่งของเวลา เช่น หากสืบค้นด้วยคำว่า Pearl และ “What” จะได้คำตอบกลับเรียงกันดังนี้
Pearl is a fairly straightforward
Pearl is aesthetically pleasing
Pearl is just plain fun
และผลตอบกลับซึ่งน่าขบขัน หากมองหาด้วยคำว่า Steve Jobs และ “Who” คือ
steve jobs is my new idol
steve jobs is at it again
steve jobs is apple’s focus group
ถ้า หากต้องการระบุว่าข้อความเหล่านั้นมาจากเว็บไหน ทำได้ง่ายๆด้วยการก๊อบปี้แล้ววางในกรอบสืบค้นของ Google เช่น ตัวอย่างนี้มาจากบทความที่ชื่อว่า “Innovation: How Apple does it” ที่ http://www.gulker.com/ra/appleinnovation.html
การใช้งานในทางปฏิบัติ
โดย รวมๆแล้ว การแฮกหัวข้อนี้ ดูจะเหมาะกับการเล่นสนุกๆเสียมากกว่า เพราะเป็นการนำคำกล่าวจากที่ต่างๆมารวมกันเป็นข้อความไร้สาระข้อความหนึ่ง นั่นเอง
ถึงแม้ นั่นจะเป็นส่วนใหญ่ของการแฮกในหัวข้อนี้ แต่ว่า Googlism ยังสามารถนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงอย่างรวดเร็วได้ด้วย คุณสามารถหาคำตอบสำหรับคำถามที่ไม่ซับซ้อนได้จากที่นี่ หรือเพียงแต่ถาม Googlism ด้วยประโยคที่สามารถลงท้ายด้วยคำว่า is ได้ (แต่ไม่จำเป็นต้องใส่ is ก็ได้) เป็นต้นว่า หากต้องการหาเมืองหลวงของรัฐเวอร์จิเนีย ให้ถามด้วยคำว่า capital of Virginia หากต้องการรู้ว่าทำไมท้องฟ้าจึงมีสีฟ้า ให้ลองคำว่า The reason the sky is blue แต่บางทีแฮกนี้ก็ไม่ค่อยได้เรื่องนัก เช่น หากลองใส่คำว่า the oldest person in the world คุณก็จะได้คำตอบที่ไปคนละเรื่องเลยทีเดียว ดังนั้นคุณต้องเข้าไปเยี่ยมเว็บไซต์ที่เป็นที่มาของผลลัพธ์ดังกล่าว เพื่อหาคำตอบที่เข้ากับที่คุณต้องการมากที่สุด
การขยายการใช้งาน
แอพพลิเคชัน ตัวนี้ให้ความสนุกสนานได้มากมาย แถมยังอาจขยายขอบเขตการใช้งานได้ด้วย โดยเคล็ดลับก็คือการจะดูว่าผู้สร้างเว็บเพจนั้น สร้างคำกล่าวทั้งหลายได้อย่างไร
หาก จะหาคำอธิบายชื่อย่อ หลายๆคนมักจะใช้คำว่า “stands for” ดังนั้น คุณจึงอาจผสมผสานใช้คำที่ต้องการหา และคำว่า “stands for” ใน Googlism ได้ อย่างเช่น อาจระบุในการสืบค้นว่า “SETI stands for” หรือ “DDR stands for” และคุณจะได้เห็นว่าผู้เขียนหมายถึงอะไร
เมื่อ กล่าวถึงสัตว์ พืช หรือแม้แต่ก้อนหิน มักจะใช้วลี “are found” เพื่อที่จะหาผลลัพธ์จาก Googlism ว่าสิ่งที่กล่าวถึงนั้นอยู่ที่ใด ลองใช้วลี sapphires are found หรือ jaguars are found ในการสืบค้นดู แล้วสังเกตว่าคุณได้ผลลัพธ์ออกมาเช่นไร
ลอง นึกถึงวลีที่ใช้กันทั่วๆไป แล้วลองทดสอบดูใน Googlism และดูว่าแต่ละวลีต่างๆจะให้ผลลัพธ์ออกมาเท่าไร หลังจากทดลองแล้วคุณอาจจะเข้าใจด้วยตัวเองได้ว่า เครื่องมือ Googlism นั้นคืออะไร

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘