HACK#35 Google Labs


ชื่อ ก็บอกอยู่แล้ว ว่าคงเกี่ยวกับการทดลองอะไรบางอย่างแน่นอน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการทดลองนวกรรมใหม่ๆที่ช่วยให้ผู้ใช้งาน Google สามารถเข้าถึงประสิทธิภาพการใช้งาน Google Engine และ Google Database ได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
Google Labs เป็นอีกบริการหนึ่งของ Google ที่คุณไม่ควรพลาด สาเหตุที่เราต้องพูดถึง Google Labs (http://labs.google.com/) ก็เนื่องจากว่านวกรรมต่างๆใน Google มักจะเกิดขึ้นใหม่ หายไป หรือเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นในขณะที่คุณได้อ่านหนังสือเล่มนี้ สิ่งที่เราพูดถึงอาจจะเปลี่ยนแปลงไปแล้วก็เป็นได้ แม้กระนั้นก็ตามการกล่าวถึงสิ่งที่มีอยู่ในขณะนี้ก็ยังนับว่ามีประโยชน์อยู่ บ้างพอควร เพราะคุณอาจจะได้ค้นพบว่าเครื่องมือบางอย่างของ Google สามารถช่วยให้คุณเกิดความคิดใหม่ๆขึ้นมาก็เป็นได้เหมือนกัน
ในขณะที่เราเขียนหนังสือเล่มนี้ มีการทดลองเกิดขึ้นใน Google Labs 4 เรื่อง ดังต่อไปนี้
Google Glossary (http://labs1.google.com/glossary )
Google Glossary คือ Search Engine สำหรับคำย่อ มันอาจจะสืบค้นเจอคำว่า TMTOWDI และคำว่า Ventriculoperitoneal Shunt แต่กลับไม่พบคำว่า MST3K และคำว่า google.whack เป็นต้น ซึ่งการแสดงผลลัพธ์ออกมาจะมีทั้งความหมายของคำโดยย่อนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีลิงก์ที่นำคุณไปยังข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งลิงก์ที่นำคุณไปหาคำจำกัดความในเว็บไซต์ dictionary.com และเว็บไซต์ของ Merriam-Webster รวมไปถึงตัวอย่างวลีต่างๆ ที่ใช้คำนี้ด้วย
คุณ ลองระบุคำอะไรก็ได้สักสองสามคำลงไปเป็นคีย์เวิร์ดสืบค้น จากนั้น Google จะพยายามไปหากลุ่มวลีที่เกิดจากคำเหล่านี้มาให้ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณระบุว่า Amazon และ Borders กรณีนี้ Google ก็จะแสดงเว็บไซต์ของ Borders, Amazon, Barns Noble, Buy Com, Media Play, Suncoast, Samgoody หรืออี่นๆมาให้คุณเป็นต้น ซึ่งมันอาจจะไม่ให้ผลการสืบค้นตามที่คุณคาดเอาไว้เลยก็ได้ หรือหากคุณระบุคำว่า vegan และ vegetarian คุณก็จะได้ผลการสืบค้นที่มีคำว่า veal หรือ Valentine’s day หรือ Tasmania แทน และอาจจะเลยเถิดไปอีกไกล ส่วนการคลิกที่คำใดคำหนึ่งจากรายชื่อในผลลัพธ์ก็จะทำให้คุณไปที่หน้า Google Regular Search
Google Voice Search (http://labs1.google.com/gvs.html)
เมื่อ คุณระบุหมายเลขโทรศัพท์ลงไปในเว็บเพจนี้ คุณจะถูกถามในสิ่งที่ต้องการสืบค้น ให้ออกเสียงคำที่คุณจะใช้เป็นคีย์เวิร์ดสำหรับการค้นหา แล้วจึงคลิกที่ลิงก์ที่ระบุเอาไว้ และเมื่อคุณออกเสียงคำใหม่เข้าไปค้นหาแทนคำเดิม มันก็จะแสดงเว็บเพจที่เป็นผลลัพธ์ของคำนั้นให้ สำหรับการค้นหาด้วยเสียงพูดเช่นนี้ คุณจะต้อง enable JavaScript ใน Browser ของคุณด้วย มันจึงจะทำงานได้
น่า เสียดายที่การสืบค้นด้วยเสียงพูดเช่นนี้มักไม่ค่อยได้ผล เพราะในบางครั้ง Search Engine ก็ไม่เข้าใจเสียงพูดของคุณ เมื่อเราทดลองด้วยการพูดคำว่า Eliot Ness และ George Bush ปรากฏว่ามันสามารถทำงานได้ถูกต้อง แต่เมื่อเราพูดคำว่า Fred มันกลับเข้าใจว่าเป็นคำว่า Friend ไป ส่วนคำว่า Ethel Merman ก็กลายเป็น Apple Mountain ไปเลย
Google Keyboard Shortcuts (http://labs1.google.com/keys/)
หาก คุณใช้ Browser บางตัวเช่น Opera โปรแกรมนี้ก็อาจจะไม่ทำงาน คุณอาจจะลองใช้มันใน Mozilla, IE หรือ Netscape ดูก็ได้ สำหรับ Google Keyboard Shortcuts ก็คือวิธีที่จะเลื่อนเคอร์เซอร์ไปตามผลลัพธ์ที่ได้ด้วยการใช้คีย์บอร์ดแทน การใช้เมาส์ คุณจะเลื่อนไปตามกลุ่มลูกบอลเล็กๆที่อยู่ตรงขวามือของจอภาพ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยคีย์บอร์ดโดยการใช้ปุ่มอักษร I และ K บนแป้นคีย์บอร์ดแทนสำหรับการเลื่อนขึ้นและลง และใช้ปุ่มตัวอักษร J และ L แทนการเลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางซ้ายและขวา
Google WebQuotes (http://labs.3google.com/cgi-bin/webquotes/)
ใน บางครั้งคุณอาจจะเรียนรู้เกี่ยวกับเว็บเพจใดเว็บเพจหนึ่ง จากการที่เว็บเพจอื่นๆพูดถึงมัน ดังนั้น Google WebQuotes จึงอาศัยข้อเท็จจริงนี้ด้วยการเสนอสิ่งที่เว็บไซต์อื่นๆพูดถึงลิงก์ใดลิงก์ หนึ่ง ก่อนที่คุณจะเข้าไปในเว็บไซต์นั้นจริงๆ
จาก หน้าโฮมเพจ คุณสามารถระบุได้ว่าคุณต้องการ WebQuotes สักกี่รายสำหรับการสืบค้นนี้ (ค่าเริ่มต้นจะอยู่ที่ 3 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ทำงานได้ดี) จากนั้นจึงระบุคีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นหาลงไป จากนั้น Google WebQuotes จะแสดงชื่อเว็บไซต์ 10 แห่งแรก (หรือหากคุณต่อท้าย URL ที่ได้ด้วยคำสั่ง &num=100 คุณก็จะได้รายชื่อของ 100 เว็บไซต์แรก) โดยมีจำนวน WebQuotes มากที่สุดในเว็บเพจเท่าจำนวนที่คุณได้ระบุเอาไว้ แต่ทั้งนี้พึงระลึกไว้ว่า ไม่ใช่เว็บเพจทุกหน้าที่จะมี WebQuote
การ ใช้ WebQuotes จะเป็นประโยชน์เมื่อคุณกำลังสืบค้นแบบทั่วๆไป และคุณต้องการที่จะทราบในทันใดว่าผลการสืบค้นตรงกับสิ่งที่คุณต้องการหรือ ไม่ เมื่อคุณสืบค้นหาบุคคลที่มีชื่อเสียง คุณก็สามารถที่จะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้วยวิธีนี้เช่นกัน โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องละทิ้งเว็บเพจที่แสดงผลนั้นไปไหน!
Google Viewer (http://labs.google.com/gviewer.html)
Google Viewer จะแสดงผลการสืบค้นในรูปแบบของสไลด์ แต่คุณจะต้องใช้ Browser ที่ทันสมัยสักหน่อย Google แนะนำให้ใช้ IE 5 เป็นต้นไป หรือ Netscape 6 เป็นต้นไป สำหรับผู้ใช้แม็กอินทอชและพีซี ส่วนผู้ใช้ยูนิกซ์แนะนำให้ใช้ Mozilla
การเรียก Google Viewer มาใช้งาน สามารถทำได้โดยการเข้าไปที่โฮมเพจของ Google Viewer (http://labs.google.com/gviewer.html) แทนที่จะใช้โฮมเพจปกติของ Google จาก นั้นก็สามารถทำการสืบค้นตามปกติ เว็บเพจที่แสดงผลการสืบค้นก็จะมีหน้าตาเหมือนปกติที่คุณรู้จัก แต่มีข้อสังเกตอยู่ว่าทูลบาร์จะอยู่ในส่วนบนของเว็บเพจ ให้ใช้ปุ่มบนทูลบาร์เพื่อเคลื่อนเคอร์เซอร์ไปข้างหน้าหรือข้างหลัง หรือไปที่ผลลัพธ์รายการแรกก็ได้ คุณสามารถที่จะปรับความเร็วของการแสดงสไลด์ หรือสืบค้นใหม่ได้ การแสดงสไลด์นั้นจะเริ่มเองโดยอัตโนมัติ แต่หากมันไม่ทำงานตามนี้ให้คลิกที่สามเหลี่ยมสีเขียวซึ่งเป็นปุ่ม Play บนทูลบาร์
Google จะแสดงผลการสืบค้นแรกไปพร้อมๆกับภาพของเว็บเพจ และจะนิ่งอยู่ประมาณ 5 วินาที จึงจะเปลี่ยนไปแสดงผลการสืบค้นที่สองและที่สามตามลำดับ คุณสามารถที่จะหยุดการแสดงสไลด์ได้ด้วยการคลิกที่ปุ่มสี่เหลี่ยมสีแดงซึ่งก็ คือปุ่ม Stop และสามารถสั่งให้แสดงใหม่โดยคลิกที่ปุ่ม Play
น่าเสียดายที่ไม่มี Scroll Bar สำหรับเว็บเพจ ดังนั้นคุณจึงต้องคลิกที่ภาพของเว็บเพจแทนและลากเม้าส์เพื่อการเคลื่อนไหวไปมา
การ ทดลองใน Google Labs นี้มีที่ใช้งานค่อนข้างจำกัด นอกเสียจากว่าคุณระบุคำถามที่ดีมากๆเท่านั้น (หรือได้คำตอบที่แคบมากๆ) แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ Google นำเอา Google Viewer มาใช้งานร่วมกับ Google News ล่ะก็ คุณคงจะได้เห็นอะไรดีๆเป็นแน่
Google Labs และ Google API
ในขณะที่เขียนหนังสือเล่มนี้ ยังไม่มีเครื่องมือตัวใดที่อยู่ใน Google Labs ที่สามารถใช้งานร่วมกับ Google API ได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘