HACK#26 Quick Search Toolbar

สาเหตุที่คุณควรติดตั้งให้ Browser ของคุณทำการสืบค้นจาก Google ได้ ก็เพราะ Toolbar นี้จะทำให้คุณสืบค้นจาก Google และจาก Search Engine อีกกว่า 100 แห่งจาก status bar ของวินโดว์ได้

เพราะ เหตุใดคุณจึงต้องติดตั้งให้ Browser ของคุณสามารถสืบค้นข้อมูลกว่า 2 พันล้านหน้าจาก Google ได้? จริงๆแล้วคุณไม่ต้องทำเช่นนั้นก็ได้ หากคุณต้องการที่จะสืบค้นให้มากกว่าที่ทำได้จาก Browser ให้มากที่สุดโดยที่ไม่ต้องละไปจากคอมพิวเตอร์ของคุณ ลองดูที่เว็บไซต์ Dave’s Quick Search Deskbar (http://www.dqsd.net/) ดังแสดงไว้ในภาพ 1-18

นอก จากไฟล์ขนาดเพียง 322K ที่คุณคงใช้เวลาดาวน์โหลดเพียงชั่วอึดใจ สิ่งที่คุณจะต้องมีนอกจากนี้ก็คือวินโดว์ 95 หรือเวอร์ชั่นที่สูงกว่านี้ และ IE ตั้งแต่เวอร์ชัน 5.5 ขึ้นไป เมื่อคุณได้ดาว์นโหลดและติดตั้งเครื่องมือนี้แล้ว ให้คลิกขวาที่เม้าส์ของคุณตรงทาสก์บาร์ของวินโดว์ที่อยู่ด้านล่างของหน้าจอ และเลือก
Toolbar --> Add Quick Search


ภาพที่ 1-18 Quick Search Deskbar ของ Dave
การใช้งานในเบื้องต้น
เครื่อง มือ Quick Search Tool นั้นมีคุณสมบัติที่หลากหลายราวกับมีดเอนกประสงค์ของสวิสต์เลยทีเดียว แต่ในที่นี้เราจะเริ่มจากคุณสมบัติพื้นฐานด้วยการใส่คำสั่งลงในช่องคำสั่ง และกดปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ดของคุณ จาก Browser ที่คุณติดตั้งไว้ก็จะแสดง Web Page ที่เป็นผลการสืบค้นจาก Google ออกมา
จาก นั้นเรื่องที่ยากก็จะไม่ยากอีกต่อไปแล้ว และหากคุณต้องการตรงไปยังผลลัพธ์รายการแรกที่ได้จากการสืบค้นเลย (ด้วยการใช้ฟีเจอร์ I’m feeling Lucky ของ Google) คุณก็สามารถทำได้ด้วยการเพิ่มเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) ลงไปในคำสั่งของคุณ เช่น
“washington post”!
ขอ ให้สังเกตว่าเครื่องหมายอัศเจรีย์จะต้องใส่เอาไว้ข้างนอกวลี (ไม่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด) นอกจากนี้คุณยังสามารถใส่เครื่องหมายอัศเจรีย์ต่อท้ายคำหลายๆคำได้ด้วยเช่น
yahoo what’s new!
คำสั่ง Trigger และคำสั่ง Switch
เครื่อง มือ Quick Search Deskbar นั้นทำงานได้โดยคำสั่ง Trigger เพียงไม่กี่คำสั่งและคำสั่ง Switch อีกหลายคำสั่ง โดยที่คำสั่ง Trigger จะบอกว่าส่วนไหนของ Google ที่จะถูกสืบค้น และคำสั่ง Switch จะบอกว่าส่วนไหนของ Google จะถูกสืบค้นหรือบอกถึงรูปแบบของผลลัพธ์ที่จะได้กลับมา และทั้งสองคำสั่งนี้จะใช้ใช้งานร่วมกันได้
Trigger คืออักขระที่ใส่ไว้ข้างหน้าคำสั่งค้นหา โดยจะเป็นตัวเปลี่ยน Domain ที่คำสั่งค้นหารวมถึงรูปแบบของคำสั่งที่สร้างขึ้นมา
> Trigger ตัวนี้จะสั่งให้ทำการสืบค้นขั้นสูง (ดู “การสืบค้นขั้นสูง”) โดยสืบค้นจากคำสั่งที่คุณระบุเอาไว้ โปรดจำไว้ว่า การสืบค้นขั้นสูงของ Google จะไม่สามารถรองรับคำสั่งที่ซับซ้อนได้ หากคุณพยายามที่จะระบุคำสั่งที่มีความซับซ้อน เช่น > fiscal responsibility –site:com –site:org มันจะไม่ทำงานไปตามที่คุณได้ระบุไว้ จึงควรใช้คำสั่งแบบง่ายๆ เช่น
> cholestorol drugs + site:edu
?? Trigger ตัวนี้จะสั่งให้สืบค้นจาก Google Directory (Hack #29) ตัวอย่างเช่น
?? “George Bush”
, Trigger ตัวนี้จะทำการสืบค้น Google Groups (Hack #30) คุณสามารถที่จะใช้ซินแท็กซ์เฉพาะกลุ่มได้ด้วยคำสั่งนี้ ตัวอย่างเช่น
, group:sci.med* dermatology
Switch คือเงื่อนไขในรูปอักขระที่ใส่ไว้ต่อท้ายคำสั่งสืบค้น โดยจะทำหน้าที่ช่วยเปลี่ยนวิธีการสืบค้นให้กับคำสั่งของคุณไปในรูปแบบต่างๆ ที่ต้องการ
/ifl
switch ตัวนี้จะมีค่าเท่ากับการใช้ฟีเจอร์ I’m feeling Lucky ของ Google ซึ่งจะนำพาคุณตรงไปยังผลลัพธ์แรกที่คุณได้จาก Google หนทางลัดในการได้ผลการสืบค้นแบบนี้ ก็คือการใส่เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) ต่อท้ายที่คำสั่งสืบค้นของคุณ เช่น
yahoo what’s new/ifl yahoo what’s new!
/advanced
switch ตัวนี้จะทำงานคล้ายคำสั่ง Trigger เพื่อการสืบค้นขั้นสูงข้างต้น
/groups
switch ตัวนี้จะทำงานคล้ายคำสั่ง Trigger เพื่อการสืบค้น Google Group ข้างต้น
/directory
จะทำงานคล้ายคำสั่ง Trigger เพื่อการสืบค้น Google Directory ข้างต้น
/images
switch ตัวนี้จะสืบค้นเฉพาะรูปภาพจากแหล่งต่างๆเท่านั้น โดยคุณสามารถจะแทรกซินแท็กซ์พิเศษของ Google เข้าไปได้ด้วย ดังนี้
intitle:cat /images
/news
จะสืบค้นข้อมูลข่าวจาก Google News คุณสามารถที่จะใช้ซินแท็กซ์สำหรับ Google News ดังนี้
intitle: “Tony Blair” /news
/since:days
จะสืบค้น Web Page ที่ได้จัดทำอินเด็กซ์ไว้เท่ากับจำนวนวันที่ระบุเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่น
หาก คุณต้องการหาเว็บไซต์ที่มีเรื่องเกี่ยวกับ จิมมี่ คาร์เตอร์ ซึ่งจัดทำอินเด็กซ์เอาไว้เมื่อปีที่แล้ว คุณอาจจะใช้คำสั่งว่า “Jimmy Carter” /since:365 แต่ก็มีวิธีลัดอยู่เหมือนกัน คือ /since:t ซึ่งจะสืบค้นสิ่งที่ได้จัดทำอินเด็กซ์ในวันนี้ /since:y สำหรับสืบค้นสิ่งที่ได้ทำอินเด็กซ์ไว้เมื่อวานนี้ /since:w หมายถึงข้อมูลของเมื่อเจ็ดวันก่อน /since:m (“m” หมายถึง month) หมายถึงข้อมูลเมื่อ 30 วันก่อน
/cache
จะไปหาข้อมูลสำรองของ URL(Cached Version) ที่ระบุไว้ หรือส่งข้อความรายงานข้อผิดพลาด หากไม่มีข้อมูลสำรองของ Web Page หน้าดังกล่าว ตัวอย่างเช่น
http://www.oreilly.com /cache
/related
จะสืบค้น Web Page หน้าที่ Google คิดว่าเกี่ยวข้องกับ URL ที่ระบุไว้มากที่สุด หากไม่พบ ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก Google จะรายงานข้อผิดพลาดให้ทราบ ตัวอย่างเช่น
http://www.researchbugg.com /related
/link
จะไปหา Web Page หน้าที่ลิงก์กับ URL ที่ระบุไว้ ตัวอย่างเช่น
http://www.oreilly.com /link
Switch ที่ระบุสถานที่ (location switch)
เป็น switch ที่จะอนุญาติให้คุณระบุว่าอยากจะได้ผลลัพธ์จากที่ไหน (หรือไม่อยากได้ผลลัพธ์จากที่ไหน) เช่น
/canada (Canada)
/deutschland (Germany)
/france (France)
/italia (Italy)
/uk (United Kingdom)
/language:xx
language switch จะอนุญาตให้คุณเปลี่ยนภาษาที่ใช้ใน Google ไปเป็นภาษาที่คุณต้องการ โดยระบุเป็นชื่อรหัสของภาษาแทนที่ xx หากคุณต้องการรายชื่อของรหัสของภาษาที่มีทั้งหมด คุณสามารถเข้าไปที่Google Language Tools (http://www.google.com/language_tools) ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการระบุคำสั่งเป็นภาษามาเลเซีย คุณก็จะต้องแทรกคำสั่ง /language:ms ลงไป ดังนี้
python /language:ms
ทดลองใช้และฝึกผน
จาก switch ที่มากมายข้างต้น คุณคงคิดว่าคราวนี้คุณอาจจะต้องลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้งในการฝึกฝนใช้งาน เป็นแน่ ซึ่งนั่นก็เป็นความคิดที่ถูกต้องแล้ว
ทว่า เครื่องมือการสืบค้นเองก็จะมีทางเลือกในการสืบค้นด้วยวิธีการต่างๆ ด้วยการให้คุณคลิกที่ช่องการสืบค้น (search box) และกดซ้ำๆที่ปุ่มลูกศรชี้ลง (down arrow key) บนคีย์บอร์ดของคุณ
คำสั่งที่เหลือ
เราได้ถกปัญหาเกี่ยวกับการใช้ Quick Search Deskbar ของ Dave ในส่วนที่เกี่ยวกับ Google เพราะมันคือเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ทว่าเครื่องมือของ Dave ทำงานได้มากกว่า Google หากคุณลองคลิกที่เครื่องหมาย >> ที่อยู่ติดกับ Text Box คุณ จะได้รายชื่อของเครื่องมือสืบค้นที่แบ่งหัวข้อออกเป็นประเภท ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ไปจนถึงข้อมูลอ้างอิงต่างๆ จนถึงการช้อปปิ้ง เมื่อคุณได้สำรวจดูว่าเครื่องมือนี้สามารถใช้งานได้ดีเพียงใดกับ Google จนพอใจแล้ว จะสำรวจ search infterface แบบอื่นๆที่เหลือ ที่มีมากมายกว่าหนึ่งร้อยแบบด้วยก็ได้
ดูเพิ่มเติม
  • Google Toolbar (Hack #24)
  • Google Toolbar สำหรับ Mozilla-based Browser (Hack #25)
  • Huevos (http://ranchero.com/software/huevos/) เป็นโปรแกรมสืบค้นเฉพาะสำหรับระบบปฏิบัติการ OSX ของแม็คอินทอซ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘