HACK#22 การหาคำนิยามของศัพท์ทางเทคนิค

หากคุณติดอยู่กับ “ภาษาทางเทคนิค” Google อาจช่วยหาคำตอบให้คุณได้
โดย ปกติแล้วคำศัพท์ที่เป็นคำเฉพาะส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงความหมายบ่อยนัก แต่ศัพท์แสงทางคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะจะมีคนคิดคำใหม่ๆ หรือคำนิยามใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตแทบจะทุกๆ 12 นาทีเลยก็ว่าได้ และในอีก 12 นาทีต่อมามันก็กลายเป็นคำล้าสมัยหรือมีความหมายเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง และมักจะมีความหมายมากกว่าหนึ่งอย่างซะอีกด้วย จริงๆแล้วมันอาจจะไม่เลวร้ายขนาดนั้นก็ได้ เพียงแต่ว่ามันทำให้เรารู้สึกเช่นนั้นต่างหาก
Google มีวิธีที่จะช่วยคุณได้สองวิธีได้แก่ การช่วยสืบค้นหาคำที่คุณต้องการและช่วยคุณหาความหมายของคำที่คุณต้องการทราบ แต่ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับคำนี้เลย
คำนิยามของศัพท์ทางเทคนิค
สมมติ ว่าคุณเพิ่งจะออกจากห้องประชุม และมีคำใหม่ๆประดังเข้ามาในสมองของคุณเต็มไปหมด ปัญหาก็คือว่าในขณะนั้นคุณยังไม่รู้แน่ว่าคำที่คุณได้ยินนั้นเป็นคำสแลงหรือ เป็นคำนิยามใหม่ๆ ทางฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ หรือเป็นคำนิยามทั่วๆไปกันแน่ แล้วคุณจะแยกออกได้อย่างไรว่าคำไหนเป็นคำไหน?
ใน ทำนองเดียวกัน คำศัพท์ใหม่ๆอื่นๆคุณคงจะต้องใช้วิธีเดาจากรูปแบบการใช้คำเช่น คำนี้ถูกใช้ในช่วงไหนของการสนทนา หรือถูกใช้เพื่อหมายถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นส่วนใหญ่ และมีคนเดียวที่ใช้ศัพท์คำนี้หรือไม่ เพราะมันอาจจะเป็นคำสแลงก็ได้ (Hack #4) หรือว่ามีการเขียนคำนี้เอาไว้ที่ไหนบ้าง พยายามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคำดังกล่าวให้มากที่สุด หากคุณไม่สามารถหาข้อมูลได้ และเจ้านายของคุณก็ยื่นศีรษะเข้ามาในส่วนที่กั้นเป็นที่ทำงานของคุณ และพูดว่า “เรากำลังจะทุ่มเม็ดเงินถึง 20 ล้านเหรียญเพื่อโครงการนี้ ด้วยการใช้… คุณมีความเห็นว่าอย่างไร?” ขอให้คิดไว้ก่อนว่าเจ้าสิ่งทีเจ้านายคุณจะใช้เป็นคำที่เป็นศัพท์ทั่วไป
Google Glossary
ก่อนที่คุณจะเริ่มการสืบค้นจาก Google ตรวจสอบดูเสียก่อนว่าบริการ Google Labs (Hack # 35) นั้นยังให้บริการ Google Glossary อยู่หรือเปล่า (http://labs.google.com/glossary/) ซึ่ง Google Glossary จะให้คำนิยามทั้งศัพท์เทคนิคและศัพท์ทั่วไป และหากว่าคุณไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ให้กลับไปใช้ Google ตามปกติ
การสืบค้นศัพท์บัญญัติจาก Google
ก่อน อื่นกรุณาอย่าใส่คำย่อลงไปในช่องคำสั่ง เช่น คำว่า XSLT นั้นจะให้ผลการสืบค้นถึง 900,000 รายการเลยทีเดียว และแม้ว่าคุณจะได้รับคำตอบจากการเข้าไปหาข้อมูลจากเว็บไซต์เหล่านั้นก็ตาม ทว่ามันยังมีวิธีที่ง่ายกว่านั้นอีก ด้วยการแทรกคำว่า “stands +for” ลงไปในช่องคำสั่งหากคุณกำลังสืบค้นคำย่อหรืออักษรย่อ เช่น คำสั่ง “XSLT Stands +for” นั้นจะให้ผลการสืบค้นเพียง 29 รายการ และรายการแรกจะเป็นอภิธานศัพท์ หากว่าคุณยังได้ผลลัพธ์มากเกินไปแล้วละก็ (เช่น “XML stands +for” จะให้ผลลัพธ์เกือบ 1,000 รายการ) ให้ลองใส่คำว่า beginners หรือ newbie ลงไปด้วยเช่น “XML Stands +for” beginners จะเหลือผลลัพธ์เพียง 35 รายการเท่านั้น โดยรายการแรกคือ “XML for beginners”
หาก คุณยังไม่ได้คำตอบที่ต้องการ ลองพิมพ์คำว่า “What is X?” หรือ “X + is short + for” หรือ X beginners FAQ (X คือคำย่อหรือศัพท์บัญญัติที่คุณต้องการ) วิธีนี้น่าจะถือเป็นการสืบค้นขั้นที่สอง เพราะเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะไม่ใช้คำที่ใช้กันโดยทั่วไป และ X นั้นก็อาจจะแปลกใหม่จนเกินไป (หรืออาจจะเชยไปแล้วก็เป็นได้) และยังไม่มีปรากฏอยู่ในส่วนที่เป็น FAQ อย่างไรก็ตามคุณอาจใช้เวลาแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละวิธีการ ทว่ามันก็คุ้มค่าที่จะลองดู เพราะมีคำนิยามรอให้คุณค้นหาอยู่มากมายเหลือเกิน หากคุณมีศัพท์บัญญัติในหมวดของฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ หรือคำที่เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ ลองระบุคำนั้นร่วมกับการใช้งานเท่าที่คุณทราบ เช่น Dynaloader เป็นศัพท์บัญญัติที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ มันคือโมดูลหนึ่งของ Perl จากความรู้เท่านี้คุณก็สามารถที่จะระบุคำสั่งสืบค้นเป็น
dynaloader Perl
หาก ผลการสืบค้นของคุณได้คำตอบที่ยากเกินไป เพราะมีข้อสมมติฐานว่าคุณรู้จักคำว่า Dynaloader ดีอยู่แล้ว ในกรณีนี้ลองใช้คำว่า beginners newbie และคำอื่นๆ เพื่อทำให้คุณได้ข้อมูลใกล้เคียงสำหรับผู้เริ่มต้น เช่น
Dynaloader Perl Beginners
หาก คุณยังไม่พบคำที่ต้องการอีก ก็อาจะเป็นเพราะสาเหตุต่อไปนี้คือ คำสแลงนั้นอาจจะเป็นคำที่เฉพาะสำหรับสาขาอาชีพของคุณ หรือไม่คุณก็อาจจะถูกเพื่อนร่วมงานแกล้ง หรือคุณอาจจะได้ยินมาผิดๆก็ได้ (หรืออาจจะมีการสะกดคำผิดในเอกสารที่คุณได้รับ) หรือไม่มันอาจจะเป็นคำใหม่เอามากๆเลยทีเดียว
คุณจะสืบค้นได้จากที่ไหนอีกหากไม่ใช่จาก Google
แม้ ว่าคุณจะได้ความพยายามอย่างที่สุดแล้ว คุณก็ยังไม่สามารถที่จะหาคำนิยามที่ดีจาก Google ได้ ยังมีเว็บไซต์อีกหลายแห่งที่คุณจะสืบค้นได้ คือ
เป็น อินเด็กซ์การสืบค้นที่เกี่ยวกับศัพท์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ไปจนถึงโทร คมนาคม เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์มากหากคุณต้องการสืบค้นคำศัพท์ที่เกี่ยวกับ ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เพราะจะแบ่งคำนิยามออกเป็นหมวดหมู่ และคุณสามารถที่จะเห็นที่เป็นลักษณะการเรียงตามตัวอักษรจาก A ถึง Z ได้ มีการให้คำอธิบายประกอบที่ดี และมักจะมีการจัดทำอินเด็กซ์ที่อ้างอิงกลับไปกลับมาได้ด้วย
สามารถ สืบค้นได้ด้วย keyword หรือเลือกหาจากหมวดหมู่ที่จัดทำไว้ นอกจากนี้ยังมีรายชื่อของคำใหม่ๆอยู่ในหน้าแรกให้คุณได้สืบค้นหาคำใหม่ๆด้วย
เว็บไซต์ แห่งนี้จะปรากฏขึ้นพร้อมด้วยคำทางด้านซ้ายมือ โดยมีคำต่างๆอยู่ทางด้านซ้ายและมีคำนิยามอยู่ทางด้านขวา ซึ่งจะมีคำอ้างอิงให้มากมายรวมถึงคำสแลงเก่าๆด้วย
มี คำนิยามและข้อมูลอื่นๆกว่า 20,000 คำ นอกจากนี้ยังแสดงคำที่ถูกสืบค้นมากที่สุด 10 อันดับแรก ซึ่งจะทำให้คุณได้เห็นว่ามีใครบ้างที่สนใจคำๆเดียวกับคุณอยู่
คุณ อาจจะเห็นศัพท์ในภาษากรีกปรากฏมากขึ้นเรื่อยๆพอๆกับ Web Page ต่างๆ จงอย่ากังวลใจกับมันมากนัก ทางที่ดีคุณควรจะใช้ Google เพื่อเป็น “แหล่งอ้างอิงสำเร็จรูป” สำหรับคำนิยามที่คุณต้องการจะดีกว่า
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนนี้ โปรดดูที่
  • คำำศัพท์เฉพาะ : คำสแลงและศัพท์บัญญัติ ( Hack # 4)
  • บริการ Google Labs (Hack #35)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘