HACK#19 Google Interface สำหรับนักแปล

สร้างแบบฟอร์มการสืบค้นเส่วนตัว สำหรับการแปลภาษา

หาก คุณต้องทำการสืบค้นข้อมูลลักษณะเดิมๆอยู่ทุกวัน การสร้างแบบฟอร์มเพื่อการสืบค้นส่วนตัวขึ้นมา จะช่วยทำให้คุณทำงานได้ง่ายขึ้นมาก และหากคุณได้ใช้เวลาทำความรู้จักกับมันมากพอ คุณอาจจะพบว่ามันมีความยืดหยุ่นพอที่จะให้ประโยชน์กับผู้ใช้คนอื่นๆได้เช่น กัน
Search Interface บน World Wide Web สำหรับนักแปลอย่างเช่น http://www.multilingual.ch จะมีเครื่องมือเพื่อการสืบค้นข้อมูลสำหรับงานแปลภาษาถึงสามแบบด้วยกัน เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นโดย ทันยา ฮาร์วีย์ ซิแอมบิ (Tanya Harvey Ciampi) จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์แห่งนี้ มีเครื่องมือซึ่งสามารถเรียกใช้งานจากทั้ง AltaVista และ Google ได้ และคำสั่งการสืบค้นของผู้ใช้

(user-defined query term) จะผูกเอาไว้กับเงื่อนไขทางการสืบค้นที่เฉพาะเจาะจง (specific search criteria) ซึ่งจะช่วยให้ได้ผลการค้นหาแคบลงและได้ผลใกล้เคียงมากขึ้น
เครื่อง มือตัวแรกดังภาพ 1-14 เป็นเครื่องมือที่จะช่วยหาอภิธานศัพท์ (glossary) โดยมีเมนูตัวเลือกซึ่งจะช่วยหาคำที่มีความหมายเหมือนกันกับคำใดคำหนึ่ง ในส่วนต่างๆของผลลัพธ์แต่ละรายการ เช่นใน Title , ใน URL หรือในส่วนอื่นๆนอกจากนี้ โดยปกติคุณอาจจะต้องสืบค้นจากดิกชันนารีคำศัพท์ทางคอมพิวเตอร์มากมายหลาย แหล่ง ก่อนที่จะพบดิกชันนารีที่มีคำว่า “firewall” อยู่ในนั้น ซึ่งเครื่องมือช่วยหาอภิธานศัพท์นี้จะช่วยลดงานของคุณไปได้ ด้วยการกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจนว่า “Find a glossary that contains my term!”
หากคุณ สืบค้นอภิธานศัพท์แล้วได้รับผลลัพธ์มากเกินไป คุณอาจจะใช้วิธีเลือกสืบค้นโดยจำกัดให้คำที่ต้องการมีอยู่ใน Title ของผลลัพธ์เสมอแทนก็ได้ เช่นคำว่า firewall คุณอาจจะลองใช้คำสั่งว่า intitle:firewall เป็นต้น
เครื่อง มือตัวที่สอง ดังภาพ 1-15 เป็นเครื่องมือที่จะช่วยสืบค้น “เนื้อหาที่เหมือนกัน” ของ Web Page ในภาษาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการสืบค้นงานที่ต้องการผลลัพธ์ในหลายๆภาษาได้
จริงๆ แล้วการจะสืบค้นเพื่อให้แสดงผลเป็นหลายๆภาษานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ทว่ายังมีที่หนึ่งที่คุณสามารถใช้งานในลักษณะนี้ได้โดยง่าย คือจาก Web Page ของรัฐบาลของประเทศแคนาดา ซึ่งจะให้ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังเสนอบริการสืบค้นที่มีทางเลือกระหว่างภาษาต้นทางหรือ SL (source language) และภาษาปลายทางหรือ TL (target language) ที่หลากหลายอีกด้วย
ภาพที่ 1-14 หน้า WWW Search Interface สำหรับเครื่องมือช่วยหาอภิธานศัพท์
การสืบค้นกลุ่มที่หนึ่งนั้นจะทำงานภายใต้ AltaVista ซึ่ง จะมีการจับคู่ภาษาที่ต้องการการแปลอยู่หลายคู่ (เช่นระหว่าง ภาษาอังกฤษ-เยอรมัน อังกฤษ-สเปน อังกฤษ-ฝรั่งเศส และอื่นๆ) นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกสำหรับการค้นหาย่อยลงไปอีก (เช่น SL ใน URL หรือลิงก์ไปที่ TL หรือ Web Page ที่อยู่ในประเทศเจ้าของภาษาของ TL เป็นต้น)
การสืบค้นกลุ่มที่สองจะทำงานภายใต้ Google และ เช่นกันที่นี่ก็มีการจับคู่ภาษาและวิธีการที่หลากหลายสำหรับการสืบค้น (คุณสามารถที่จะเลือกสืบค้นได้สามวิธีเพื่อการสืบค้นภาษาต้นทางใน URL หรือหา keyword ใน Web Page ที่ใช้ภาษาที่ต้องการเป็นต้น) ในบางกรณีเครื่องมือนี้อาจจะยอมให้คุณระบุประเทศที่ใช้ภาษาที่ต้องการได้ (เช่น ภาษาฝรั่งเศส อาจเป็นภาษาที่ต้องการซึ่งมีที่ใช้ในประเทศแคนาดา ฝรั่งเศส หรือสวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น)
เครื่องมือที่สามดังที่แสดงในภาพ 1-16 จะช่วยสืบค้นความหลากหลายของคำย่อต่างๆที่อยู่ใน Title หรือ URL ของผลการสืบค้น
เครื่อง มือสำหรับการสืบค้นนี้เหล่านี้จะทำไว้หลากหลายภาษาและสามารถช่วยงานแปลได้ หลายอย่าง จะว่าไปแล้วมันสามารถช่วยสืบค้นข้อมูลออกมามากมายเสียจนกระทั่งคุณอาจจะคิด ว่าคงต้องใช้ Google API เข้ามาช่วย แต่จริงๆแล้วก็ไม่ต้องใช้ถึงขนาดนั้น เพราะคำสั่งจะถูกสร้างขึ้นจากเครื่องของผู้ใช้และส่งผ่านมายัง Google อีกที่หนึ่ง
ภาพที่ 1-15 หน้า WWW Search Interface สำหรับสืบค้น Web Page หน้าที่เป็นเรื่องเดียวกันในหลากหลายภาษา
ภาพที่ 1-16 หน้า WWW Search Interface สำหรับการสืบค้นคำย่อ
การ ทำงานในส่วนนี้เป็นไปอย่างราบรื่น ขอให้ดูที่ซอร์สโค้ดที่เขียนไว้สำหรับแบบฟอร์ม และดูว่าคุณสังเกตเห็นอะไรบ้าง ขอบอกใบ้ให้คุณสังเกตที่ชื่อสมาชิกของฟอร์ม (form element name) คุณจะเห็นว่าซอร์สโค้ดส่วนนี้รวมเอาการสืบค้นคำที่มีความหมายเหมือนกัน โดยที่ไม่ต้องใช้ Google API หรือ CGI เข้ามาช่วยเลย เพราะทุกอย่างจะทำงานผ่านฟอร์มนี้ทั้งหมด
ส่วนที่เป็นหัวใจให้แบบฟอร์มนี้ทำงาน คือคำสั่งสองบรรทัดต่อไปนี้

คุณจะเห็นว่าทั้งเท็กต์ฟิลต์และเมนูสำหรับอภิธานศัพท์ถูกตั้งชื่อไว้เหมือนกัน คือ name = “q” และเมื่อแบบฟอร์มนี้ถูกส่งไปให้ Google ค่า ของทั้งสองจะถูกนำมารวมกันและถือเป็นเสมือนคำสั่งเดียว ดังนั้นการระบุคำสืบค้นว่า dentistry และเลือกเมนูตัวเลือกเป็น synonyms of “glossary” in TITLE – 1 จาก Pop Up Menu จะทำให้มีการรวมคำสั่งเป็นดังนี้
dentistry intitle:dictionary OR intitle:glossary OR intitle:lexicon or intitle:definitions
คำ สั่งนี้จะใช้แบบฟอร์มซึ่งสร้างขึ้นมาตามความต้องการของผู้ใช้เป็นอินเตอร์ เฟสติดต่อกับผู้ใช้งาน แต่คุณสามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้กับอะไรก็ได้ หากคุณต้องการสืบค้นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย หรือเอกสารทางการเงิน หรือข้อมูลการตลาด หรือเรื่องราวอะไรก็ตาม ที่มีศัพท์เฉพาะที่คุณสามารถกรอกมันเข้าไปในแบบฟอร์มได้ ก็จะสามารถทำงานในลักษณะเช่นนี้ได้เช่นกัน แล้วแต่ว่าคุณจออกแบบอินเตอร์เฟสของฟอร์มในรูปแบบไหนมากกว่า

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘