HACK#16 การใช้ดิกชันนารี่ออนไลน์

นอกเหนือจากอินเด็กซ์คำที่มักมีการสะกดผิดแล้ว Google ยังเชื่อมโยงคุณไปที่เว็บไซต์ Dictionary.com อีกด้วย
ระบบการตรวจสอบคำผิดของ Google (Hack #15) นั้นถูกสร้างขึ้นจากฐานข้อมูลของคำและวลีที่ค่อยๆ สะสมมาทีละเล็กละน้อย ระหว่างการจัดทำอินเด็กซ์ให้กับ Web Page ต่างๆ ดังนั้นจึงช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับคำเฉพาะ วลีหรือประโยคต่างๆ รวมทั้งคำอื่นๆ ที่ไม่เป็นที่รู้จักมากนักได้ดีพอสมควร
นอกจากนี้ Google ยังบริการค้นหาคำ จากเว็บไซต์ Dictionary.com (http://www.dictionary.com) เพราะคำจำกัดความที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และการจัดทำอินเด็กซ์ให้กับคำพิเศษในรูปแบบต่างๆนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่หาได้ค่อนข้างยากพอควร
ลองสืบค้นคำอะไรก็ได้ และคุณจะสังเกตใน Web Page ที่แสดงผลลัพธ์มีคำว่า “Searched the web for [query words].” หาก คำที่คุณสืบค้นนั้นมีปรากฎอยู่ในดิกชันนารี คุณจะเห็นว่ามี Web Link เชื่อมโยงไปยังคำนิยามในดิกชันนารี หากคุณระบุเป็นวลี ก็จะเชื่อมโยงไปในฐานะวลี เช่น คำว่า “jolly roger” จะทำให้คุณเชื่อมโยงไปยังวลี “jolly roger” หรือวลี “computer legal” ก็จะเชื่อมโยงคุณไปที่คำว่า “computer” และคำว่า “legal” เป็นต้น
แต่ การค้นหาคำนิยามเช่นนี้อาจใช้ไม่ได้ผลสำหรับคำที่ต้องห้าม คำใหม่ๆ คำสแลง และคำศัพท์ทางเทคนิคต่างๆด้วย (นอกจากว่าจะเป็นคำสแลงเฉพาะ เช่น คำสแลงเกี่ยวกับศัพท์เทคนิค) หากคุณไม่ได้ผลการสืบค้นจาก Google คุณอาจจะลองใช้บริการที่เว็บไซต์ที่มี Web Link เชื่อมโยงไปยังที่ต่างๆมากมาย เช่น Onelook (http://www.onelook.com) ซึ่งมีการจัดทำอินเด็กซ์คำเอาไว้ถึง 4 ล้านคำ จากดิกชันนารี 700 เล่ม หากคุณยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ คุณอาจกลับมาที่ Google และลองใช้เทคนิคต่างๆข้างล่างนี้ดู โดยสมมติว่า queryword คือคำที่คุณต้องการค้นหา
  • หากคุณกำลังสืบค้นคำอยู่หลายคำ เพราะคุณกำลังอ่านคู่มือที่ใช้ศัพท์เทคนิคอยู่ จึงต้องการสืบค้นคำหลายๆคำในเวลาเดียวกัน ในบางครั้งคุณก็จะสามารถสืบค้นอภิธานศัพท์ (glossary) จากวิธีนี้คือ สมมติว่าคุณกำลังอ่านหนังสือเกี่ยวกับการตลาด และมีคำหลายคำที่คุณไม่รู้จัก หากคุณสืบค้นคำว่า storyboard stet SAU คุณก็จะได้ผลการค้นหาเพียงไม่กี่คำ แต่คำทั้งหมดนี้คือศัพท์เฉพาะ
  • พยายาม สืบค้นคำของคุณ โดยใช้ร่วมกับคำว่า glossary เช่น stet glossary แต่จงพยายามใช้คำที่พิเศษหรือเจาะจง (specific) สักหน่อย ไม่เช่นนั้นอาจจะได้ผลดังนี้คือ คุณอาจจะไม่รู้ว่าคำว่า “Spread” มีความหมายว่าอย่างไรในเชิงการตลาด แต่การระบุคำว่า spread glossary ซึ่งเป็นคำทั่วๆไปนั้นจะทำให้คุณได้ผลลัพธ์ถึง 300,000 รายการเลยทีเดียว โดยจะอยู่ในอภิธานศัพท์หลายๆเล่มด้วยกัน นอกจากนี้หากคุณต้องการแปลคำจากภาษาอื่น คุณก็สามารถที่จะเลือกปุ่ม “Google Interface for Translators” ได้ (Hack #19)
  • พยายามสืบค้นด้วยวลีที่ว่า queryword means หรือคำว่า What does queryword mean? ด้วยเสมอๆ
  • หาก คุณกำลังสืบค้นหาศัพท์แพทย์หรือศัพท์เทคนิค ลองพยายามสืบค้นให้แคบลงไปที่กลุ่มเว็บไซต์ประเภทสถาบันการศึกษา (.edu) เช่น หากคุณอยากจะทราบความหมายทั่วไปของคำว่า equine acupuncture และอยากรู้ว่ามันจะใช้บำบัดโรค laminitis ได้หรือไม่ ก็ให้ใช้คำว่า “equine acupuncture” laminitis ดู
  • การใช้ site:edu จะทำให้คุณได้ผลการสืบค้นที่กระชับมากขึ้น นอกจากนี้คุณยังสามารถหลีกเลี่ยงพวกรายชื่อหนังสือและร้านค้าออนไลน์ทั้ง หลายได้ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในกรณีที่คุณกำลังค้นหาข้อมูล และยังไม่ต้องการที่จะซื้อสินค้าอะไรในตอนนี้ทั้งสิ้น หากคุณค้นหาคำสแลงอยู่ พยายามจำกัดให้ลึกลงไปภายใต้เว็บไซต์นั้นๆ เช่น Geocities หรือ Tripod แล้วดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในบางครั้งวัยรุ่นบางกลุ่มก็จะนำเอาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนชอบ หรือสิ่งที่อยู่ในกระแสนิยมมาลงไว้ในสถานที่ให้เนื้อที่เว็บไซต์ฟรีๆ เช่น Geocities ดังนั้นการสืบค้นวิธีนี้จะทำให้คุณได้ตัวอย่างของคำสแลงที่มีเรื่องราว ประกอบแทนที่จะได้เฉพาะรายการคำศัพท์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และใน Geocities เองก็ยังมีอภิธานศัพท์ให้คุณได้ค้นหาอีกมาก คุณจะลองระบุคำสั่งว่า glossary site:geocities.com และพิสูจน์ด้วยตัวคุณเองดูก็ได้
การ เชื่อมโยงจาก Google ไปยังเว็บไซต์ Dictionary.com นั้นมีความหมายเท่ากับว่า คุณสามารถที่จะค้นหาคำนิยามของคำพื้นๆนั้นได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และหากคุณจะรู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์อีกสักเล็กน้อย คุณก็อาจจะสืบค้นได้แม้กระทั่งคำที่ไม่คุ้นเคยมาก่อนเลยก็เป็นได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘